หมู่เกาะโองาซาวาระ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หมู่เกาะโองาซาวาระ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ประเทศ ญี่ปุ่น
ภูมิภาค **เอเชีย-แปซิฟิก
ประเภทมรดกโลกทางธรรมชาติ
เกณฑ์พิจารณาix
อ้างอิง1362
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียนพ.ศ. 2554 (คณะกรรมการสมัยที่ 35)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก
อุทยานแห่งชาติโองาซาวาระ
小笠原国立公園
ชิจิจิมะ
ที่ตั้งหมู่เกาะโองาซาวาระ, ญี่ปุ่น
พื้นที่66.29 กม²
จัดตั้ง16 ตุลาคม ค.ศ. 1972

หมู่เกาะโองาซาวาระ (ญี่ปุ่น: 小笠原群島โรมาจิOgasawara-guntō) หรือ หมู่เกาะโบนิน[1] เป็นกลุ่มเกาะที่ประกอบด้วยเกาะในเขตร้อนและเกาะใกล้เขตร้อนกว่า 30 เกาะ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงโตเกียวราวๆ 1,000 กิโลเมตร มีสถานะเป็นกิ่งจังหวัดของมหานครโตเกียว มีประชากรอาศัยอยู่ราว 2,440 คน โดยกว่า 2,000 คน อาศัยอยู่บนเกาะชิจิจิมะ ซึ่งบนเกาะชิจิจิมะนี้ ยังมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ขนาด 25 เมตร ของหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น (NAOJ) ตั้งอยู่อีกด้วย

เนื่องจากหมู่เกาะโองาซาวาระแทบไม่ค่อยได้ติดต่อกับทวีปภายนอก พืชพันธุ์และสัตว์ในแถบนี้จึงมีลักษณะเฉพาะตัวและความแตกต่างในด้านกระบวนการวิวัฒนาการ หมู่เกาะโองาซาวาระมีฉายาว่า "กาลาปาโกสแห่งตะวันออก"[2]

การเดินทางมายังหมู่เกาะโองาซาวาระนั้นมีเส้นทางเดียว คือทางเรือ สาย โองาซาวารามารุ จากท่าเรือโตเกียว และใช้เวลาเดินทางราว 25.5 ชั่วโมง (ในสภาพอากาศปลอดโปร่ง) มีเรือออกประมาณ 4-5 เที่ยวต่อเดือน

มรดกโลก[แก้]

หมู่เกาะโองาซาวาระขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 35 เมื่อ พ.ศ. 2554 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

  • (ix) - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา

ระเบียงภาพ[แก้]

ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของชิจิจิมะ ในหมู่เกาะโองาซาวาระ (1981–2010)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 20.5
(68.9)
20.1
(68.2)
21.5
(70.7)
23.2
(73.8)
25.4
(77.7)
28.0
(82.4)
30.0
(86)
29.9
(85.8)
29.7
(85.5)
28.3
(82.9)
25.6
(78.1)
22.4
(72.3)
25.4
(77.7)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 18.4
(65.1)
17.9
(64.2)
19.2
(66.6)
21.0
(69.8)
23.2
(73.8)
25.8
(78.4)
27.5
(81.5)
27.7
(81.9)
27.5
(81.5)
26.2
(79.2)
23.5
(74.3)
20.3
(68.5)
23.2
(73.8)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 15.7
(60.3)
15.3
(59.5)
16.7
(62.1)
18.8
(65.8)
21.2
(70.2)
24.0
(75.2)
25.4
(77.7)
25.9
(78.6)
25.5
(77.9)
24.1
(75.4)
21.3
(70.3)
17.8
(64)
21.0
(69.8)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 65.3
(2.571)
58.2
(2.291)
77.0
(3.031)
118.4
(4.661)
145.4
(5.724)
134.7
(5.303)
80.9
(3.185)
112.6
(4.433)
131.1
(5.161)
132.1
(5.201)
128.2
(5.047)
108.7
(4.28)
1,292.6
(50.89)
ความชื้นร้อยละ 66 68 73 79 83 86 82 82 82 80 75 70 77.2
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm) 10.3 9.1 10.8 9.9 11.7 9.3 8.4 11.0 11.6 13.0 11.1 11.8 128
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 136.4 131.4 154.7 148.2 159.8 198.9 250.3 211.0 200.9 179.1 140.9 126.8 2,038.4
แหล่งที่มา: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [3]

อ้างอิง[แก้]

  1. Comparison of name usage in published sources, 1800-2000; retrieved 2013-4-16.
  2. Japan Times. "Ogasawara Islands Join World Heritage family". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-13. สืบค้นเมื่อ 26 June 2011.
  3. "気象庁|過去の気象データ検索". jma.go.jp.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]