ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

พิกัด: 48°49′N 2°29′E / 48.817°N 2.483°E / 48.817; 2.483
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1)
สาธารณรัฐฝรั่งเศส[1]
(ค.ศ. 1804-1809)
République Française

จักรวรรดิฝรั่งเศส
(ค.ศ. 1809–1815)
Empire Français

ค.ศ. 1804–1814, ค.ศ. 1815
คำขวัญLiberté, Ordre Public[2]
("เสรีภาพ, ความสงบเรียบร้อยของประชาชน")
เพลงชาติช็องดูว์เดปาร์
("Song of the Departure") (ทางการ)

แวยงโอซาลูว์เดอล็องปีร์
("Let's ensure the salvation of the Empire") (ไม่เป็นทางการ)
จักรวรรดิฝรั่งเศส ณ จุดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดใน เดือนกันยายน พ.ศ. 2355
  •   แผ่นดินหลัก
      รัฐบริวาร
      การยึดครองทางทหาร
      ตามนิตินัย คือดินแดนของรัฐบริวารแต่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของฝรั่งเศสหรือรัฐบริวาร

จักรวรรดิฝรั่งเศสพร้อมกับสิทธิ์ในการครอบครองอาณานิคมของตนใน พ.ศ. 2355
 จักรวรรดิฝรั่งเศสและอาณานิคมของตน
 รัฐบริวารและดินแดนที่ถูกยึดครองใน ค.ศ. 1812
เมืองหลวงปารีส
ภาษาทั่วไปฝรั่งเศส (ราชการ)
ละติน (ภาษาทางพิธีการ)
ศาสนา
โรมันคาทอลิก (ประจำชาติ)
ลูเทอแรน
คาลวิน
ยูดาห์ (ศาสนาชนกลุ่มน้อย)
การปกครองสมบูรณาญาสิทธิราชย์แบบรัฐเดี่ยวในลัทธิโบนาปาร์ต ภายใต้เผด็จการทหาร (ค.ศ. 1804–1815)
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 1804–1814/1815
จักรพรรดินโปเลียนที่ 1
• ค.ศ. 1815
จักรพรรดินโปเลียนที่ 2 (ยังอยู่ในการโต้แย้ง) [a]
สภานิติบัญญัติรัฐสภา
เซนัตกงเซวาเตอ
(จนถึง ค.ศ. 1814)
สภาขุนนาง
(ตั้งแต่ 22 เมษายน ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา)
โกร์ปเลอกิสลาติฟ
(จนถึง 4 มิถุนายน ค.ศ 1814)
สภาผู้แทนราษฎร
(ตั้งแต่ 22 เมษายน ค.ศ. 1815 เป็นต้นมา)
ยุคประวัติศาสตร์สงครามปฏิวัติฝรั่งเศส
สงครามนโปเลียน
18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804
• พิธีปราบดาภิเษกของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1
2 ธันวาคม ค.ศ. 1804
7 กรกฎาคม ค.ศ. 1807
24 มิถุนายน ค.ศ. 1812
11 เมษายน ค.ศ. 1814
20 มีนาคม – 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1815
พื้นที่
1812[4]2,100,000 ตารางกิโลเมตร (810,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• 1812
96,472,000[5]
สกุลเงินฟรังก์ฝรั่งเศส
ก่อนหน้า
ถัดไป
สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1
ราชอาณาจักรฮอลแลนด์
สาธารณรัฐลีกูเรีย
อันดอร์รา
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
ราชรัฐอธิปไตย
สหเนเธอร์แลนด์
สหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
มอเรส์เนต
ลักเซมเบิร์ก
แกรนด์ดัชชีตอสคานา
อันดอร์รา
ราชรัฐโมนาโก
ราชรัฐเอลบา

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส[b] ต่อจากนั้นเป็นจักรวรรดิฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Empire Français; ละติน: Imperium Francicum) ภายหลัง ค.ศ. 1809 และยังเป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า ฝรั่งเศสสมัยนโปเลียน เป็นจักรวรรดิที่ถูกปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ผู้ซึ่งสถาปนาอำนาจของฝรั่งเศสเหนือยุโรปภาคพื้นทวีป เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดำรงอยู่ตั้งแต่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 ถึง 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1814 และดำรงอยู่อีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ๆ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1815 ถึง 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1815[9]

ถึงแม้ว่าฝรั่งเศสจะก่อตั้งจักรวรรดิอาณานิคมโพ้นทะเลมาตั้งแต่ตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 แต่รัฐฝรั่งเศสยังคงเป็นราชอาณาจักรที่ถูกปกครองโดยราชวงศ์บูร์บง และเป็นสาธารณรัฐหลังการปฏิวัติฝรั่งเศส นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงระบอบของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ว่าเป็น จักรวรรดิที่หนึ่ง เพื่อแยกความแตกต่างออกจากจักรวรรดิที่สอง ของนักฟื้นฟู (ค.ศ. 1852-1870) ที่ถูกปกครองโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งได้ถูกมองโดยบางคนว่าเป็น "จักรวรรดิริพับลิกัน"[10]

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1804 นโปเลียนได้รับตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส(Empereur des Français, ออกเสียง: [ɑ̃.pʁœʁ de fʁɑ̃.sɛ]) โดยวุฒิสภาอนุรักษนิยม (Sénat conservateur) ของฝรั่งเศส และสวมมงกุฎ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1804[11] เป็นการแสดงให้เห็นถึงจุดสิ้นสุดของคณะกงสุลฝรั่งเศสและสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 แม้ว่าจะมีการทำพิธีปราบดาภิเษก แต่รัฐยังคงถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า "สาธารณรัฐฝรั่งเศส" จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1808 จักรวรรดิได้มีอำนาจสูงสุดทางทหารในยุโรปแผ่นดินใหญ่ด้วยชัยชนะที่โด่งดังในสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สาม กับออสเตรีย ปรัสเซีย รัสเซีย อังกฤษ และรัฐพันธมิตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ ใน ค.ศ. 1805[12] การครอบงำของฝรั่งเศสได้ถูกยืนยันอีกครั้งในช่วงสงครามสหสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ ในยุทธการที่เยนา–เอาเออร์ชเต็ท ใน ค.ศ. 1806 และยุทธการที่ฟรีทลันท์ ใน ค.ศ. 1807 ก่อนที่ความปราชัยครั้งสุดท้ายของนโปเลียนในยุทธการที่วอเตอร์ลู ใน ค.ศ. 1815

สงครามหลายครั้ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยรวมว่า สงครามนโปเลียน ได้ขยายอิทธิพลของฝรั่งเศสจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกและไปยังโปแลนด์ เมื่อถึงจุดสูงสุดใน ค.ศ. 1812 จักรวรรดิฝรั่งเศสได้มี 130 จังหวัด ประชากรมากกว่า 44 ล้านคน ปกครองพลเมืองมากกว่า 90 ล้านคน ทั่วทั้งยุโรปและอาณานิคมโพ้นทะเล การคงไว้ซึ่งการมีอยู่ทางทหารอย่างกว้างขวางในเยอรมนี อิตาลี สเปน และโปแลนด์ และนับออสเตรียและปรัสเซียเป็นพันธมิตรในนาม ชัยชนะของฝรั่งเศสในช่วงแรกได้ส่งลักษณะทางอุดมการณ์ของการปฏิวัติหลายประการไปทั่วทั้งยุโรป การนำประมวลกฎหมายนโปเลียนมาใช้ทั่วทั้งทวีป ได้เพิ่มความเท่าเทียมทางกฎหมาย ระบบลูกขุนที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้นและการหย่าร้างที่ถูกกฎหมาย และค่าธรรมเนียมที่ดินศักดินาและระบบความยุติธรรมของขุนนางศักดินาได้ถูกยกเลิก เช่นเดียวกับอภิสิทธิ์ของชนชั้นสูงในทุกที่ยกเว้นโปแลนด์ ความปราชัยของฝรั่งเศสใน ค.ศ. 1814 (และอีกครั้งใน ค.ศ. 1815) ถือเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง และจุดเริ่มต้นของยุคการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ในปี ค.ศ. 1804 นโปเลียน โบนาปาร์ต หนึ่งในสามผู้นำของคณะกงสุลฝรั่งเศส ได้ปราบดาภิเษกตนเองเป็นจักรพรรดิและเริ่มต้นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง จักรพรรดินโปเลียนทรงปรับปรุงกองทัพฝรั่งเศสเป็น "กองทัพใหญ่" (Grand Armée) ในปี ค.ศ. 1805 การประกาศฝรั่งเศสเป็นจักรวรรดิทำให้ชาติต่างๆ รวมตัวกันอีกครั้งเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่สาม จักรพรรดินโปเลียนที่ 1นำทัพบุกเยอรมนี และชนะกองทัพออสเตรียในการทัพอุล์ม แต่ทางทะเลต้องพ่ายแพ้อังกฤษที่แหลมทราฟัลการ์ในยุทธนาวีที่ทราฟัลการ์ ชัยชนะที่อุล์มทำให้จักรพรรดินโปเลียนทรงรุกคืบเข้าไปในออสเตรีย และชนะออสเตรียกับรัสเซียที่เอาสเทอร์ลิทซ์ เป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ทำให้สัมพันธมิตรครั้งที่สาม สลายตัวด้วยสนธิสัญญาเพร็สบวร์ค (Treaty of Pressburg) ผลของสนธิสัญญาคือจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องล่มสลายไป พระเจ้านโปเลียนตั้งสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ (Confederation of the Rhine) ขึ้นมาแทนที่ ยังผลให้จักรพรรดิแห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องเปลี่ยนพระอิสริยยศเป็นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ซึ่งในช่วงต้นของสงครามกับนานาประเทศ ฝรั่งเศสบุกชนะในหลายประเทศอาทิเช่น ออสเตรีย ปรัสเซีย โปรตุเกส และชาติพันธมิตรชาติอื่น ๆ อีกทั้งยังยึดครองดินแดนในทวีปยุโรปไว้ได้มากมาย

ความสำเร็จของนโปเลียนในเยอรมนี ทำให้ปรัสเซียร่วมกับอังกฤษและรัสเซียตั้งสัมพันธมิตรครั้งที่สี่ แต่คราวนี้ฝรั่งเศสมีรัฐบริวารมากมายให้การสนับสนุน จักรพรรดินโปเลียนจึงนำทัพบุกปรัสเซียชนะที่เยนา-เอาเออร์ชเตดท์ และชนะรัสเซียที่ฟรีดแลนด์ ทำให้เกิดสนธิสัญญาทิลซิท (Treaty of Tilsit) ที่ยุติสองปีแห่งการนองเลือดของทวีปยุโรปลงในปี ค.ศ. 1807 จากสนธิสัญญานี้ทำให้ปรัสเซียสูญเสียดินแดนขนาดใหญ่ กลายเป็นแกรนด์ดัชชีวอร์ซอ (Grand Duchy of Warsaw) และซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 ร่วมเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศสและเข้าระบบภาคพื้นทวีป (Continental system) เพื่อตัดขาดอังกฤษทางการค้าจากผืนทวีปยุโรป แต่สองประเทศ คือสวีเดนและโปรตุเกส เป็นกลางและไม่ยอมเข้าร่วมระบบภาคพื้นทวีป จักรพรรดินโปเลียนบุกโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1807 และก็ทรงฉวยโอกาสยึดสเปนมาจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 4 (ราชวงศ์บูร์บง) มาให้พระอนุชาคือ โฌแซ็ฟ โบนาปาร์ต เป็นกษัตริย์แห่งสเปน โปรตุเกสตกเป็นอาณัติของฝรั่งเศส แต่ชาวสเปนและชาวโปรตุเกสไม่ยินยอม จึงทำสงครามคาบสมุทร ต่อต้านจักรพรรดินโปเลียน โดยใช้การสงครามกองโจร ทางสหราชอาณาจักรส่งดยุกแห่งเวลลิงตัน มาช่วยสเปนและโปรตุเกส ในปี ค.ศ. 1809 ออสเตรียก็ตัดสินใจทำสงครามอีกครั้ง เป็นสัมพันธมิตรครั้งที่ห้า นโปเลียนนำทัพบุกทันที ชนะออสเตรียที่แอสเปิร์น-เอสลิง และวากราม จนทำเกิดสนธิสัญญาเชินบรุนน์ (Treaty of Schönbrunn) ทำให้ออสเตรียเสียดินแดนเพิ่มเติมให้แก่ฝรั่งเศส และจักรพรรดินโปเลียนอภิเษกกับอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย

ต่อมาจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงทำสงครามกับจักรพรรดินโปเลียนอีกครั้ง ในปี ค.ศ. 1812 นโปเลียนจึงได้นำกองทัพฝรั่งเศสเข้าทำสงครามอีกครั้งโดยครั้งนี้พระองค์ต้องการจะบุกไปรุกรานจักรวรรดิรัสเซีย ที่หลอกล่อให้กองทัพฝรั่งเศสเข้าไปอดอาหารและหนาวตายในรัสเซีย ซึ่งมีระยะทางยาวไกลจากกรุงปารีสมาก โดยใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะบุกตีหัวเมืองต่าง ๆ ของรัสเซียไปจนถึงกรุงมอสโก แต่เมื่อไปถึงยังกรุงมอสโกก็ต้องพบกลับความว่างเปล่าของเมืองที่ชาวเมืองพร้อมใจกันเผาเมืองเพื่อมิให้เสบียงตกถึงมือกองทัพฝรั่งเศสและอพยพถอยร่นไปทางตะวันออก ทำให้การบุกรัสเซียเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจักรพรรดินโปเลียน ชัยชนะของรัสเซียปลุกระดมชาติต่างๆให้รวมตัวกันเป็นสัมพันธมิตรครั้งที่หก เอาชนะนโปเลียนในยุทธการที่ไลพ์ซิก (Battle of Leipzig) ทำให้ในปี ค.ศ. 1813 นโปเลียนจำใจต้องยกทัพกลับฝรั่งเศสแม้เสบียงจะเหลือไม่มากแล้ว กองทัพเองก็เหนื่อยล้าจากการเดินทางอันยาวไกล นอกจากนี้ฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียก็คืบคลานเข้ามาทุกขณะ โดยในระหว่างทางถอยทัพกลับฝรั่งเศสก็ยังถูกกองทัพของรัสเซียและชาติสัมพันธมิตรซุ่มโจมตีในลักษณะกองโจร ซึ่งเมื่อถอยทัพกลับถึงกรุงปารีสก็เหลือพลทหารไม่กี่พันคนจากที่ยกทัพไปมากกว่า 600,000 คน ทั้งนี้เป็นผลมากจากฤดูหนาวที่โหดร้ายทารุณทำให้ทหารแข็งตาย การขาดแคลนอาหาร การที่เหนื่อยล้าจากการเดินทัพและการซุ่มโจมตีของรัสเซีย ฝรั่งเศสจึงพ่ายแพ้ยับเยิน ทำให้นโปเลียนต้องสละราชสมบัติเพราะได้รับการต่อต้านจากชาวฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1814 และสัมพันธมิตรเข้าบุกยึดกรุงปารีส ทำสนธิสัญญาฟองแตงโบล (Treaty of Fontainebleau) ทำให้จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งสิ้นสุดลง ต่อมาจักรพรรดินโปเลียนทรงหวนคืนสู่ราชบัลลังก์และปกครองอยู่นานหนึ่งร้อยวัน แต่ในท้ายที่สุดก็ต้องสละราชสมบัติอีกครั้งจากการที่พ่ายแพ้ในยุทธภูมิวอร์เตอร์ลู (Battle of Waterloo) และทรงถูกเนรเทศออกนอกฝรั่งเศสไปยังเกาะเอลบาในอิตาลี ต่อมาจึงมีการฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บงและเข้าสู่ยุคราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. According to his father's will only. Between 23 June and 7 July France was held by a Commission of Government of five members, which never summoned Napoleon II as emperor in any official act, and no regent was ever appointed while waiting the return of the king.[3]
  2. ภายในจักรวรรดิเอง ชื่อของจักรวรรดิถูกขนานนามว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส จนถึง ค.ศ. 1808: เมื่อเปรียบเทียบกับเงินฟรังก์ฝรั่งเศสที่ถูกผลิตขึ้นใน ค.ศ. 1808[6] และใน ค.ศ. 1809[7] เช่นเดียวกับในมาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญแห่งปีที่ 12[8] ซึ่งสามารถอ่านเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า รัฐบาลของสาธารณรัฐ ได้ตกเป็นของจักรพรรดิ ผู้ซึ่งได้รับฐานันดรศักดิ์จักรพรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Decree upon the Term, French Republic".
  2. "National Motto of France". French Moments. 7 May 2015.
  3. texte, France Auteur du (23 April 1815). "Bulletin des lois de la République française". Gallica.
  4. Rein Taagepera (September 1997). "Expansion and Contraction Patterns of Large Polities: Context for Russia". International Studies Quarterly. 41 (3): 501. doi:10.1111/0020-8833.00053. JSTOR 2600793. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
  5. "Western colonialism – European expansion since 1763". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2021-08-20.
  6. http://www.lesfrancs.com/francais/1f1808rh.jpg แม่แบบ:Bare URL image
  7. http://www.lesfrancs.com/francais/1f1809rh.jpg แม่แบบ:Bare URL image
  8. "Constitution de l'An XII – Empire – 28 floréal An XII". Conseil constitutionnel.
  9. texte, France Auteur du (23 January 1804). "Bulletin des lois de la République française". Gallica.
  10. "The proclamation of Empire by the Sénat Conservateur". napoleon.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
  11. Thierry, Lentz. "The Proclamation of Empire by the Sénat Conservateur". napoleon.org. Fondation Napoléon. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.
  12. "Battle of Austerlitz". Britannica.com. Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 15 August 2014.

ดูเพิ่ม

[แก้]

ข้อมูลปฐมภูมิ

[แก้]

การสำรวจ

[แก้]

นโปเลียน

[แก้]

การทหาร

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

48°49′N 2°29′E / 48.817°N 2.483°E / 48.817; 2.483