รัฐเดี่ยว


ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบอบการปกครอง พื้นฐาน |
---|
รายการระบอบการปกครอง |
![]() |
รัฐเดี่ยว (อังกฤษ: unitary state) เป็นรัฐซึ่งปกครองเป็นหน่วยเดี่ยว โดยมีรัฐบาลกลางมีอำนาจสูงสุด รัฐบาลกลางอาจสร้าง (หรือยุบ) เขตบริหาร (หน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ) ได้[1] หน่วยงานระดับย่อยสามารถใช้อำนาจได้เฉพาะตามที่รัฐบาลกลางเลือกจะมอบหมายให้ทำการแทนเท่านั้น
รัฐเดี่ยวตรงข้ามกับรัฐสหพันธ์ (หรือสหพันธรัฐ) รัฐจำนวนมากในโลก (รัฐสมาชิกสหประชาชาติ 166 จาก 193 ประเทศ) มีรูปแบบรัฐเป็นรัฐเดี่ยว[2]
คำอธิบาย[แก้]
ในรัฐเดี่ยว รัฐบาลกลางอาจจัดตั้งหรือยุบหน่วยงานบริหารระดับย่อยของรัฐ และอำนาจของหน่วยงานเหล่านี้อาจถูกขยายเพิ่มเติมหรือย่อลงได้ แม้อำนาจทางการเมืองในรัฐเดี่ยวอาจมีการมอบหมายให้ทำการแทนผ่านการมอบอำนาจปกครองสู่รัฐบาลท้องถิ่นโดยบทกฎหมาย หากรัฐบาลกลางยังอยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งอาจยกเลิกนิติกรรมของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจหรือตัดทอนอำนาจของรัฐบาลท้องถิ่นก็ได้
สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่ง ร่วมกับแคว้นอังกฤษ เป็นสี่ประเทศอันประกอบขึ้นเป็นสหราชอาณาจักร มีอำนาจที่ได้รับมอบซึ่งปกครองตนเองระดับหนึ่ง โดยทั้งสกอตแลนด์ เวลส์และไอร์แลนด์เหนือ ต่างมีฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติของตนเอง แต่อำนาจที่ได้รับมอบทั้งหมดล้วนแต่เป็นที่รัฐบาลกลางของอังกฤษมอบหมายให้ทำการแทนทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจไม่อาจคัดค้านการเห็นชอบตามรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติที่รัฐสภาออก และอำนาจของรัฐบาลที่ได้รับมอบอำนาจนั้น รัฐบาลกลาง (หมายถึง รัฐสภาพร้อมด้วยรัฐบาลอันประกอบด้วยคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า) สามารถเพิกถอนหรือลดย่อลงได้ ตัวอย่างเช่น รัฐสภาไอร์แลนด์เหนือเคยถูกพักไว้สี่ครั้ง โดยอำนาจได้ถ่ายโอนไปยังสำนักไอร์แลนด์เหนือของรัฐบาลกลาง
ยูเครนเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐไครเมียในประเทศมีระดับการปกครองตนเองและมีคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติปกครอง ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 สาธารณรัฐดังกล่าวยังได้มีตำแหน่งประธานาธิบดีซึ่งถูกยุบไปเพราะการโน้มเอียงแบ่งแยกซึ่งเจตนาจะโอนไครเมียให้แก่รัสเซีย
รายชื่อรัฐเดี่ยว[แก้]
ตัวเอียง: รัฐที่รัฐเอกราชหรือองค์การระหว่างรัฐบาลยอมรับเพียงบางส่วน
สาธารณรัฐเดี่ยว[แก้]
แอลเบเนีย
แอลจีเรีย[1]
แองโกลา
อาร์มีเนีย
อาเซอร์ไบจาน
บังกลาเทศ[1]
บาร์เบโดส[3]
เบนิน
โบลิเวีย
บอตสวานา
บัลแกเรีย
บูร์กินาฟาโซ
บุรุนดี
แคเมอรูน
กาบูเวร์ดี
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
ชาด
ชิลี
จีน[4][1]
สาธารณรัฐจีน (ยอมรับบางส่วน)
โคลอมเบีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก[1]
สาธารณรัฐคองโก
คอสตาริกา
โครเอเชีย
คิวบา
ไซปรัส
เช็กเกีย
จิบูตี
ดอมินีกา
สาธารณรัฐโดมินิกัน
ติมอร์-เลสเต
เอกวาดอร์
อียิปต์
เอลซัลวาดอร์
อิเควทอเรียลกินี
เอริเทรีย
เอสโตเนีย
ฟีจี
ฟินแลนด์
ฝรั่งเศส
กาบอง
แกมเบีย
จอร์เจีย
กานา
กรีซ
กัวเตมาลา[1]
กินี
กินี-บิสเซา
กายอานา
เฮติ[1]
ฮอนดูรัส
ฮังการี
ไอซ์แลนด์[1]
อินโดนีเซีย[1]
อิหร่าน
ไอร์แลนด์
อิสราเอล
อิตาลี[1]
โกตดิวัวร์
คาซัคสถาน[1]
เคนยา[1]
คิริบาส
เกาหลีเหนือ
เกาหลีใต้
คอซอวอ
คีร์กีซสถาน
ลาว
ลัตเวีย
เลบานอน
ไลบีเรีย
ลิเบีย
ลิทัวเนีย
มาดากัสการ์
มาลาวี
มัลดีฟส์
มาลี
มอลตา
หมู่เกาะมาร์แชลล์
มอริเตเนีย
มอริเชียส
มอลโดวา
มองโกเลีย
มอนเตเนโกร
โมซัมบิก
พม่า
นามิเบีย
นาอูรู
นิการากัว
ไนเจอร์
มาซิโดเนียเหนือ
ปาเลา
ปาเลสไตน์ (ยอมรับบางส่วน)
ปานามา
ปารากวัย
เปรู
ฟิลิปปินส์[1]
โปแลนด์
โปรตุเกส
โรมาเนีย
รวันดา
ซามัว
ซานมารีโน
เซาตูแมอีปริงซีป
เซเนกัล
เซอร์เบีย
เซเชลส์
เซียร์ราลีโอน
สิงคโปร์
สโลวาเกีย
สโลวีเนีย
โซมาลีแลนด์ (ไม่ได้รับการยอมรับ)
แอฟริกาใต้
ศรีลังกา
ซูรินาม
ซีเรีย
ทาจิกิสถาน
แทนซาเนีย
โตโก
ทรานส์นีสเตรีย
ตรินิแดดและโตเบโก
ตูนิเซีย
ตุรกี
เติร์กเมนิสถาน
ยูกันดา[1]
ยูเครน
อุรุกวัย
อุซเบกิสถาน
วานูวาตู
เวียดนาม
เยเมน
แซมเบีย
ซิมบับเว
ราชาธิปไตยเดี่ยว[แก้]
ตอลิบาน (เอมิเรตเทวาธิปไตย, ไม่ได้รับการยอมรับ)
อันดอร์รา
แอนทีกาและบาร์บิวดา
บาห์เรน
บาฮามาส
เบลีซ
ภูฏาน
บรูไน
กัมพูชา
เดนมาร์ก[1]
เอสวาตินี
กรีเนดา
จาเมกา
ญี่ปุ่น[1]
จอร์แดน
คูเวต
เลโซโท
ลีชเทินชไตน์
ลักเซมเบิร์ก
โมนาโก
โมร็อกโก[1]
เนเธอร์แลนด์
นิวซีแลนด์[5]
นอร์เวย์
โอมาน
ปาปัวนิวกินี[6]
กาตาร์
เซนต์ลูเชีย[ต้องการอ้างอิง]
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
ซาอุดีอาระเบีย
หมู่เกาะโซโลมอน
สเปน
สวีเดน
ไทย
ตองงา
ตูวาลู
สหราชอาณาจักร[7][1]
นครรัฐวาติกัน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 "What is a Unitary State?". WorldAtlas. August 2017. สืบค้นเมื่อ 2019-02-22.
- ↑ "Democracy". www.un.org. 2015-11-20. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-02-13. สืบค้นเมื่อ 2019-02-22.
- ↑ Faulconbridge, Guy; Ellsworth, Brian (2021-11-30). "Barbados ditches Britain's Queen Elizabeth to become a republic". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.
- ↑ Roy Bin Wong. China Transformed: Historical Change and the Limits of European Experience. Cornell University Press.
- ↑ "Story: Nation and government – From colony to nation". The Encyclopedia of New Zealand. Manatū Taonga Ministry for Culture and Heritage. 29 August 2013. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.
- ↑ Ghai, Yash; Regan, Anthony J. (September 2006). "Unitary state, devolution, autonomy, secession: State building and nation building in Bougainville, Papua New Guinea". The Round Table. 95 (386): 589–608. doi:10.1080/00358530600931178. ISSN 0035-8533. S2CID 153980559.
- ↑ "Social policy in the UK". An introduction to Social Policy. Robert Gordon University – Aberdeen Business School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2014. สืบค้นเมื่อ 19 April 2014.