รัฐตรังกานู
รัฐตรังกานู Negeri Terengganu | |
---|---|
เนอเกอรีเตอเริงกานูดารุลอีมัน Negeri Terengganu Darul Iman | |
การถอดเสียงต่าง ๆ | |
• มลายู | Terengganu (รูมี) ترڠڬانو (ยาวี) |
คำขวัญ: มาจู เบอร์กัตดันเซอจะฮ์เตอรา | |
เพลง: เซอลามัตซุลตัน | |
พิกัด: 4°45′N 103°0′E / 4.750°N 103.000°E | |
เมืองหลวง | กัวลาเตอเริงกานู |
เมืองเจ้าผู้ครอง | กัวลาเตอเริงกานู |
การปกครอง | |
• ประเภท | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา |
• สุลต่าน | สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดิน |
• มุขมนตรี | อะฮ์มัด ซัมซูรี มคตาร์ (พรรคอิสลามมาเลเซีย) |
พื้นที่[2] | |
• ทั้งหมด | 13,035 ตร.กม. (5,033 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2017)[3] | |
• ทั้งหมด | 1,210,500[1] (ที่ 10) คน |
ดัชนีรัฐ | |
• ดัชนีการพัฒนามนุษย์ (2017) | 0.807 (สูงมาก) (อันดับที่ 3)[4] |
เขตเวลา | UTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย) |
รหัสไปรษณีย์ | 20xxx ถึง 24xxx |
รหัสโทรศัพท์ | 09 |
ทะเบียนพาหนะ | T |
สหราชอาณาจักรปกครอง | ค.ศ.1909 |
ญี่ปุ่นยึดครอง | ค.ศ. 1942 |
เข้าร่วมสหพันธรัฐมาลายา | ค.ศ. 1948 |
รับเอกราชเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐมาลายา | 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 |
เว็บไซต์ | www |
ตรังกานู[5] หรือ เตอเริงกานู[5] (มลายู: Terengganu, ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา")
รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร
องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2538 ได้แก่ ชาวมลายู (859,402 คน หรือร้อยละ 94) ชาวจีน (42,970 คน หรือร้อยละ 5) ชาวอินเดีย (4,355 คน) และอื่น ๆ (3,238 คน)
เมืองชายฝั่งกัวลาเตอเริงกานูตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตรังกานู เป็นทั้งเมืองหลวงของรัฐและเมืองของสุลต่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐ
ศาสนา
[แก้]รายนามเจ้าเมืองตรังกานู
[แก้]พระนาม | พระนามตามเอกสารฝ่ายไทย | ปีที่ดำรงตำแหน่ง (ค.ศ.) |
---|---|---|
Zainal Abidin I | สุลต่านมะหมัด | 1725–1733 |
Mansur Shah I | พระยาตรังกานู (ตวนมาโซ) | 1733–1793 |
Zainal Abidin II | พระยาตรังกานู (ตนกูแยนา) | 1793–1808 |
Ahmad Shah I | พระยาตรังกานู (ตนกูอามัด) | 1808–1830 |
Abdul Rahman | พระยาตรังกานู (ตนกูอับดุลมาน) | 1830–1831 |
Omar Riayat Shah Mansur Shah II |
ตนกูอุมา ตนกูมังโซ[7] |
1831 (ครองตำแหน่งร่วมกัน) |
Mansur Shah II | พระยาตรังกานู (ตนกูมังโซ) | 1831–1837 |
Muhammad Shah I | พระยาตรังกานู (ตนกูมะหมัด) | 1837–1839 |
Omar Riayat Shah | พระยาตรังกานู (ตนกูอุมา) | 1839–1876 |
Mahmud Mustafa Shah | พระยาตรังกานู (ตนกูปะสา) | 1876-1877 |
Ahmad Muadzam Shah II | 1876–1881 | |
Zainal Abidin III สุลต่านไซนัล อาบิดีนที่ 3 |
พระยาพิไชยภูเบนทร์ พระยาตรังกานู (ตวนกูไชนาลรบีดิน) |
1881–1918 (อังกฤษปกครอง 1909) |
Muhammad Shah II สุลต่านมูฮัมหมัด ชาห์ที่ 2 |
1918–1920 | |
Sulaiman Badrul Alam Shah สุลต่านสุไลมาน บาดรุล อลัม ชาห์ |
1920–1942 | |
Ali Shah สุลต่านอาลี ชาห์ |
1942–1945 | |
Ismail Nasiruddin Shah สุลต่าน อิสมาอิล นาซีรุดดีน ชาห์ |
1945–1979 | |
Mahmud al-Muktafi Billah Shah สุลต่านมะห์มุด อัล-มักตาฟี บิลลาห์ ชาห์ |
1979–1998 | |
Mizan Zainal Abidin สุลต่านมีซาน ไซนัล อาบีดิน |
1998–ปัจจุบัน |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ https://www.dosm.gov.my/v1/index.php?r=column/cone&menu_id=QVNTL3R3cTdLTEg4dENzT3lCdTVBQT09
- ↑ "Laporan Kiraan Permulaan 2010". Jabatan Perangkaan Malaysia. p. 27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 December 2010. สืบค้นเมื่อ 24 January 2011.
- ↑ "Population by States and Ethnic Group". Department of Information, Ministry of Communications and Multimedia, Malaysia. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 February 2016. สืบค้นเมื่อ 12 February 2015.
- ↑ http://hdr.undp.org/en/countries/profiles/MYS
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "2010 Population and Housing Census of Malaysia" (PDF) (ภาษามาเลย์ และ อังกฤษ). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 17 June 2012. p. 13
- ↑ พงศาวดารตรังกานูฉบับศาลาลูกขุนบันทึกไว้ว่า ตนกูเดาโหดรักษาราชการแทน ได้ 1 เดือนก็ถึงแก่กรรม ตนกูอุมากับตนกูมังโซจึงก่อสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งยิงราชบัลลังก์