ระบอบสหพันธรัฐ
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบอบการปกครอง พื้นฐาน |
---|
รายชื่อระบอบการปกครอง รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง |
สถานีย่อยการเมือง |
ระบอบสหพันธรัฐ (อังกฤษ: Federalism) เป็นแนวคิดการเมืองซึ่งกลุ่มสมาชิกผูกมัดเข้าด้วยกันโดยข้อตกลงร่วมกัน โดยมีหัวหน้าที่เป็นตัวแทนซึ่งมีสิทธิปกครอง คำว่า "ระบอบสหพันธรัฐ" ยังใช้อธิบายระบบของรัฐบาลซึ่งรัฐธรรมนูญได้แบ่งแยกอำนาจอธิปไตยระหว่างฝ่ายปกครองส่วนกลางกับหน่วยการเมืองที่เป็นองค์ประกอบ (เช่น รัฐหรือมณฑล) ระบอบสหพันธรัฐเป็นระบบซึ่งตั้งอยู่บนการปกครองแบบประชาธิปไตยและสถาบันซึ่งอำนาจในการปกครองนั้นแบ่งออกเป็นของรัฐบาลแห่งชาติและรัฐบาลระดับมณฑลหรือรัฐ ก่อให้เกิดเป็นสิ่งที่มักเรียกว่า สหพันธรัฐ ผู้เสนอมักถูกเรียกว่า ผู้สนับสนุนสหพันธ์ (federalist)
ในยุโรป "ผู้สนับสนุนสหพันธ์" บ้างใช้อธิบายผู้ที่นิยมรัฐบาลสหพันธ์ร่วม โดยมีอำนาจกระจายสู่ระดับภูมิภาค ชาติและเหนือชาติ ผู้สนับสนุนสหพันธ์ยุโรปส่วนมากต้องการพัฒนาการนี้ให้ดำเนินต่อไปภายในสหภาพยุโรป ระบอบสหพันธรัฐยุโรปถือกำเนิดขึ้นในยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หนึ่งในการริเริ่มที่สำคัญกว่า คือ สุนทรพจน์ของวินสตัน เชอร์ชิลล์ในซูริค เมื่อ ค.ศ. 1946[1]
ระบอบสหพันธรัฐอาจรวมหน่วยงานบริหารภายในน้อยเพียงสองหรือสามหน่วยเท่านั้น ดังเช่นในกรณีของเบลเยียมหรือบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โดยทั่วไป ระบอบสหพันธรัฐสามารถจำแนกได้เป็นสองขั้วที่สุดโต่ง ขั้วหนึ่ง รัฐสหพันธ์นั้นแทบจะเป็นรัฐเดี่ยวอย่างสมบูรณ์ ขณะที่อีกขั้วหนึ่ง รัฐสหพันธ์นั้นแต่เพียงในนาม แต่เป็นสหภาพสมาพันธ์ในทางปฏิบัติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.churchill-society-london.org.uk/astonish.html เก็บถาวร 2012-04-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Winston Churchill's speech in Zurich in 1946]