ประเทศบอตสวานา
สาธารณรัฐบอตสวานา | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
Lefatshe la Botswana (เซตสวานา)
Republic of Botswana (อังกฤษ) |
||||||
|
||||||
คำขวัญ: Pula (Rain) (ฝน) |
||||||
เพลงชาติ: Fatshe leno la rona แผ่นดินของเรา |
||||||
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) |
กาโบโรเน 24°40′S 25°55′E / 24.667°S 25.917°E |
|||||
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษและภาษาเซตสวานา | |||||
การปกครอง | สาธารณรัฐ | |||||
• | ประธานาธิบดี | เอียน คามา | ||||
เอกราช | จาก สหราชอาณาจักร | |||||
• | ประกาศ | 30 กันยายน พ.ศ. 2509 | ||||
พื้นที่ | ||||||
• | รวม | 600,370 ตร.กม. (47) 224,606 ตร.ไมล์ |
||||
• | แหล่งน้ำ (%) | 2.5 | ||||
ประชากร | ||||||
• | 2549 (ประเมิน) | 1,639,833 (147) | ||||
• | ความหนาแน่น | 3.0 คน/ตร.กม. (220) 7.8 คน/ตร.ไมล์ |
||||
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) | |||||
• | รวม | $ 39.550 พันล้าน | ||||
• | ต่อหัว | $ 18,146 | ||||
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) | |||||
• | รวม | $ 16.725 พันล้าน | ||||
• | ต่อหัว | $ 7,673 | ||||
จีนี (2552) | 60.5[1] | |||||
HDI (2559) | ![]() |
|||||
สกุลเงิน | ปูลา (BWP ) |
|||||
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ | |||||
โดเมนบนสุด | .bw | |||||
รหัสโทรศัพท์ | 267 |
บอตสวานา (อังกฤษและเซตสวานา: Botswana) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐบอตสวานา (อังกฤษ: Republic of Botswana; เซตสวานา: Lefatshe la Botswana) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคแอฟริกาใต้ และเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีอาณาเขตดังนี้ ทิศใต้ติดกับประเทศแอฟริกาใต้ ทิศตะวันตกติดกับประเทศนามิเบีย ทิศเหนือติดกับประเทศแซมเบีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศซิมบับเว
เนื้อหา
ภูมิศาสตร์[แก้]
บอตสวานามีพื้นที่ 600,370 ตารางกิโลเมตรและใหญ่เป็นอันดับที่ 45 ของโลก (มีขนาดใกล้เคียงกับประเทศมาดากัสการ์) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และพื้นดินกว่าร้อยละ 70 ถูกครอบคลุมโดยทะเลทรายกาลาฮารี บอตสวานามีโอคาวันโกเดลตาซึ่งเป็นพื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ทางตะวันตก และมัคกาดิคกาดี ซึ่งเป็นทะเลสาบเกลือที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ทางตอนเหนือ ด้านตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำลิมโปโป ซึ่งเป็นภูมิลักษณ์ของพื้นที่ส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้ แม่น้ำโชบีอยู่ทางเหนือของประเทศและเป็นเขตพรมแดนกั้นระหว่างบอตสวานาและนามิเบีย
ประวัติศาสตร์[แก้]
ดินแดนนี้เป็นที่อยู่ของชาวบุชแมนมาก่อนที่ชาวบันตูจะเคลื่อนย้ายเข้ามา ในช่วงทศวรรษที่ 19 เกิดสงครามระหว่างชนพื้นเมือง โชนา ที่อาศัยอยู่ใน บัตสวานากับชนเผ่าเดเบเล่ที่อพยพมาจาก อาณานิคมในทะเลทรายกาลาฮารี ความตึงเครียดจากพวกบัวร์ในทรานสวาล พ.ศ. 2429 บอตสวานากลายเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษเพื่อป้องกันการโจมตีของพวกบัวร์และเยอรมัน ได้รับเอกราช เมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2509
การเมืองการปกครอง[แก้]
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ประเทศบอตสวานาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 เขต (district) ได้แก่
- เขตเซนทรัล
- เขตกาฮันซี
- เขตคกาลากาดี
- เขตคกาตเลง
- เขตคเวเนง
- เขตนอร์ทอีสต์
- เขตนอร์ทเวสต์
- เขตเซาท์อีสต์
- เขตเซาเทิร์น
- เขตโชเบ
เศรษฐกิจ[แก้]
โครงสร้าง[แก้]
ตั้งแต่ได้รับเอกราช บอตสวานาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเจริญเติบโตของรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงที่สุดในโลก[2] และสามารถพัฒนาตัวเองขึ้นจากหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกมาเป็นประเทศรายได้ระดับกลางซึ่งมีจีดีพีเฉลี่ย (PPP) 16,516 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 [3] มีการประเมินว่าบอตสวานามีรายได้มวลรวมประชาชาติโดยวัดจากความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อสูงเป็นอันดับ 4 ในทวีปแอฟริกา ทำให้มีมาตรฐานการครองชีพใกล้เคียงกับเม็กซิโกและตุรกี[4]
จากสถิติของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ บอตสวานามีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 9 ตั้งแต่ปี 2509 ถึง 2542 บอตสวานามีเสรีภาพทางเศรษฐกิจที่สูงเมื่อเทียบกับประเทศแอฟริกาอื่น ๆ[5] เป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูงที่สุดในแอฟริกา และมีเงินสำรองแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมากกว่า 7 พันล้านดอลลาร์ในปี 2548-2549 (ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 2 ปีครึ่ง) สภาพเศรษฐกิจที่มั่นคงของบอตสวานามีรากฐานมาจากการนำรายได้จากการทำเหมืองเพชรในประเทศมาพัฒนาประเทศผ่านนโยบายทางการเงินและนโยบายต่างประเทศที่รอบคอบ[6] อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประเทศที่มีพื้นฐานจากอุตสาหกรรมเพชรนี้ทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจผิดเพี้ยนในหลายรูปแบบ เช่นรัฐบาลมีอำนาจมากจนทำให้ภาคเอกชนไม่พัฒนา อัตราว่างงานสูง[7]
รัฐบาลถือหุ้นร้อยละ 50 ของเดบสวานา ซึ่งเป็นบริษัทเหมืองเพชรที่ใหญ่ที่สุดในบอตสวานา.[8] อุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่สร้างรายได้ให้รัฐบาลถึงร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด[9] ในต้นพุทธทศวรรษที่ 2550 มีการค้นพบแร่ยูเรเนียมในบอตสวานา[10]และโครงการเหมืองแร่ยูเรเนียมมีกำหนดจะเริ่มในปี พ.ศ. 2553 บริษัทเหมืองแร่ข้ามชาติหลายแห่งที่ตั้งสำนักงานใหญ่ประจำพื้นที่ในบอตสวานาโดยหวังที่จะมีโอกาสทำเหมืองเพชร ทอง ยูเรเนียม ทองแดง หรือแม้แต่น้ำมัน รัฐบาลบอตสวานาประกาศเมื่อต้นปี 2552 ว่าจะพยายามลดการพึ่งพาอุตสาหกรรมเพชรให้น้อยลง เนื่องจากความกังวลจากการพยากรณ์ว่าเพชรจะหมดไปจากบอตสวานาในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า
เกษตรกรรม[แก้]
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
การท่องเที่ยว[แก้]
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
ประชากรศาสตร์[แก้]
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
วัฒนธรรม[แก้]
![]() |
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
|
ดูเพิ่ม[แก้]
เชิงอรรถ[แก้]
แม่แบบ:Free-content attribution
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Botswana". World Bank.
- ↑ US Department of State website Botswana (01/08) Background Note: Botswana Economy
- ↑ IMF Database
- ↑ Klaus Kästle (2009-07-24). "GNI PPP table". Nationsonline.org. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
- ↑ "Botswana ranked Africa's leader in economic freedom".
- ↑ "The African exception". The Economist. 2002-03-28.
- ↑ John D. Holm. "Diamonds and Distorted Development in Botswana". Center for Strategic and International Studies. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
- ↑ Joe Nocera (August 8, 2008). "Diamonds are Forever in Botswana". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2010-03-15.
- ↑ "Botswana Country Brief". World Bank.
- ↑ "Impact says large uranium area identified at Botswana prospect". Mining Weekly. 2009-11-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-08.
หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]
- Acemoglu, Daron, Simon Johnson, and James A. Robinson. "An african success story: Botswana." (2002). online
- Cohen, Dennis L. "The Botswana Political Elite: Evidence from the 1974 General Election," Journal of Southern African Affairs, (1979) 4, 347–370.
- Colclough, Christopher and Stephen McCarthy. The Political Economy of Botswana: A Study of Growth and Income Distribution (Oxford University Press, 1980)
- Denbow, James & Thebe, Phenyo C. (2006). Culture and Customs of Botswana. Westport, CT: Greenwood Press. ISBN 0-313-33178-2.
- Edge, Wayne A. and Mogopodi H. Lekorwe eds. Botswana: Politics and Society (Pretoria: J.L. van Schaik, 1998)
- Good, Kenneth. "Interpreting the Exceptionality of Botswana," Journal of Modern African Studies (1992) 30, 69–95.
- Good, Kenneth. "Corruption and Mismanagement in Botswana: A Best-Case Example?" Journal of Modern African Studies, (1994) 32, 499–521.
- Tlou, Thomas, and Alec C. Campbell. History of Botswana (Macmillan Botswana, 1984)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ค้นหาเกี่ยวกับ ประเทศบอตสวานา เพิ่มที่โครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย | |
![]() |
บทนิยาม จากวิกิพจนานุกรม |
![]() |
สื่อ จากคอมมอนส์ |
![]() |
ทรัพยากรการเรียน จากวิกิวิทยาลัย |
![]() |
อัญพจน์ จากวิกิคำคม |
![]() |
ข้อความต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ |
![]() |
ตำรา จากวิกิตำรา |
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- Botswana entry at The World Factbook
- Botswana from UCB Libraries GovPubs
- ประเทศบอตสวานา ที่ดีมอซ
- Botswana from the BBC News
Wikimedia Atlas of Botswana
- Key Development Forecasts for Botswana from International Futures
- Government Directory for Botswana from African Directory Services
พิกัดภูมิศาสตร์: 24°39.5′S 25°54.5′E / 24.6583°S 25.9083°E