ข้ามไปเนื้อหา

จักรวรรดิปาละ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิปาละ

ค.ศ. 750[1]–ค.ศ. 1161[2]
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวง
รายการ
ภาษาทั่วไปสันสกฤต,[6] เบงกอลดั้งเดิม, ไมถิลี[7]
ศาสนา
พุทธนิกายมหายาน, พุทธนิกายตันตรยาน, ฮินดู[8]
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 750[1]
โคปาละ
• คริสต์ศตวรรษที่ 12
Madanapala
ยุคประวัติศาสตร์หลังสมัยคลาสสิก
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 750[1]
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1161[2]
ก่อนหน้า
ถัดไป
Gurjara-Pratihara dynasty
Gauda Kingdom
Chero dynasty
ราชวงศ์เสนะ
Karnat Dynasty
Pithipatis of Bodh Gaya

จักรวรรดิปาละ (อังกฤษ: Pala Empire; ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 750-1161)[1][2] เป็นจักรวรรดิในสมัยปลายสมัยคลาสสิกในอนุทวีปอินเดีย[9] ซึ่งมีต้นกำเนิดในภูมิภาคเบงกอล ปาละมักจะได้รับการบรรยายโดยศัตรูว่าเป็น “ประมุขแห่งกวาดา” (Gaur, West Bengal) คำว่า “ปาละ” ในภาษาเบงกอล (เบงกอล: পাল pal) แปลว่า “ผู้พิทักษ์” และใช้เป็นสร้อยพระนามของกษัตริย์ทุกพระองค์ ปาละเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและลัทธิตันตระ พระเจ้าโคปาละทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ผู้ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 750[1] กวาดาโดยการรับเลือกตั้งอย่างประชาธิปไตย เหตุการณ์ครั้งนี้ถือกันว่าเป็นการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยเป็นครั้งแรกของเอเชียใต้ตั้งแต่สมัย 16 มหาชนบท พระเจ้าโคปาละครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 750 จนถึง ค.ศ. 770 ระหว่างรัชสมัยของพระองค์ พระองค์ก็ทรงขยายอำนาจควบคุมเบงกอลได้ทั้งหมด ปาละมีความรุ่งเรืองอยู่ราวสี่ร้อยปีระหว่าง ค.ศ. 750 จนถึง ค.ศ. 1120 ที่เป็นสมัยของความมั่นคงและความสงบสุข ในช่วงนี้ก็มีการสร้างวัดและงานศิลปะต่าง ๆ รวมทั้งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่นาลันทา และวิกรมศิลา วัดโสมาปุระมหาวิหาร (Somapura Mahavihara) สร้างโดยพระเจ้าธรรมปาละในพหารปุระ (Paharpur) ในบังกลาเทศถือกันว่าเป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในอินเดียใต้

จักรวรรดิปาละรุ่งเรืองที่สุดในสมัยของพระเจ้าธรรมปาละและพระเจ้าเทวปาละ พระเจ้าเทวปาละทรงขยายดินแดนจนครอบคลุมบริเวณอินเดียใต้และไกลออกไปจากนั้น จักรวรรดิของพระองค์ครอบคลุมตั้งแต่อัสสัม ไปจนถึง อุตคาละ ทางตะวันออก, กัมโพชะ (อัฟกานิสถานปัจจุบัน) ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และ เด็คคานทางตอนใต้ หลักฐานที่บันทึกไว้บนแผ่นทองแดงของปาละกล่าวว่าปาละสามารถพิชิต อุตคาละ, อัสสัม, ฮูนา, ประติหาระ (Pratihara), คุชราต (Gurjara) และ ทราวิฑ (Dravida) ได้

การเสด็จสวรรคตของพระเจ้าเทวปาละเป็นการสิ้นสุดยุคแห่งความรุ่งเรืองของจักรวรรดิปาละ หลังจากนั้นอาณาบริเวณนั้นก็แบ่งแยกออกไปเป็นอาณาจักรย่อย ๆ ที่ปกครองโดยราชวงศ์ต่าง ๆ หลายราชวงศ์ แต่เมื่อมาถึงรัชสมัยของพระเจ้ามหิปาละ พระองค์ก็ทรงสามารถนำความรุ่งเรืองมาสู่จักรวรรดิได้อีกครั้งหนึ่งและทรงขยายดินแดนของจักรวรรดิออกไปอีก นอกจากนั้นก็ยังทรงสามารถต่อต้านการรุกรานของ ราเชนทระ โจฬะ (Rajendra Chola) และ ราชวงศ์จาลุกยะได้ หลังจากสมัยของพระเจ้ามหิปาละแล้วจักรวรรดิปาละก็เสื่อมโทรมลงอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งมาถึงสมัยของพระเจ้ารามปาละผู้เป็นพระจักรพรรดิผู้มีอำนาจองค์สุดท้ายของราชวงศ์ พระองค์ทรงสามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนมาได้บ้าง ทรงปราบปรามกลุ่มปฏิวัติวเรนทระ และขยายจักรวรรดิต่อไปยัง Kamarupa, โอริสสา และอินเดียเหนือ

จักรวรรดิปาละถือว่าเป็นยุคทองของเบงกอลที่เป็นความรุ่งเรืองอันไม่เคยเห็นกันมาก่อน ราชวงศ์ปาละมีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายมหายานไปยังทิเบต, ภูฏาน และ พม่า นอกจากนั้นก็ยังทำการค้าขายไปยังดินแดนต่างๆ รวมทั้งการมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่จะเห็นได้จากลักษณะประติมากรรมและสถาปัตยกรรมของจักรวรรดิราชวงศ์ไศเลนทร (คาบสมุทรมลายู, ชวา และ สุมาตราปัจจุบัน) จักรวรรดิปาละสลายตัวลงในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อถูกโจมตีโดยราชวงศ์เสนะ

ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 R. C. Majumdar (1977). Ancient India. Motilal Banarsidass. pp. 268–. ISBN 978-81-208-0436-4.
  2. 2.0 2.1 Sengupta 2011, pp. 39–49.
  3. Schwartzberg, Joseph E. (1978). A Historical atlas of South Asia. Chicago: University of Chicago Press. p. 146, map XIV.2 (g). ISBN 0226742210.
  4. Michael C. Howard (2012). Transnationalism in Ancient and Medieval Societies: The Role of Cross-Border Trade and Travel. McFarland. p. 72. ISBN 978-0-7864-9033-2.
  5. Huntington 1984, p. 56.
  6. Sengupta 2011, p. 102.
  7. Bajpai, Lopamudra Maitra (2020). India, Sri Lanka and the SAARC Region: History, Popular Culture and Heritage. Abingdon: Taylor & Francis. p. 141. ISBN 978-1-00-020581-7.
  8. The Śaiva Age: The Rise and Dominance of Śaivism during the Early Medieval Period. In: Genesis and Development of Tantrism, edited by Shingo Einoo. Tokyo: Institute of Oriental Culture, University of Tokyo, 2009. Institute of Oriental Culture Special Series, 23, pp. 41–350.
  9. Sailendra Nath Sen (1999). Ancient Indian History and Civilization. New Age International. pp. 280–. ISBN 978-81-224-1198-0.

บรรณานุกรม

[แก้]