ประเทศติมอร์-เลสเต
สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต Repúblika Demokrátika Timór-Leste (เตตุม) República Democrática de Timor-Leste (โปรตุเกส) | |
---|---|
![]() | |
เมืองหลวง และ ใหญ่สุด | ดิลี |
ภาษาราชการ | ภาษาเตตุมและภาษาโปรตุเกส1 |
การปกครอง | สาธารณรัฐ |
ฟรังซิชกู กูแตรึช | |
ตาอูร์ มาตัน รูอัก | |
เอกราช จาก โปรตุเกส2 และอินโดนีเซีย | |
• ประกาศ | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 |
• เป็นที่ยอมรับ | 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 |
พื้นที่ | |
• รวม | 15,007 ตารางกิโลเมตร (5,794 ตารางไมล์) (155) |
น้อยมาก | |
ประชากร | |
• ก.ค. 2554 ประมาณ | 1,177,834 (155) |
76 ต่อตารางกิโลเมตร (196.8 ต่อตารางไมล์) (118) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 6.211 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 5,007 |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2560 (ประมาณ) |
• รวม | $ 2.716 พันล้าน |
• ต่อหัว | $ 2,189 |
จีนี (2550) | 30.3[1] ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง |
HDI (2559) | ![]() ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 133rd |
สกุลเงิน | ดอลลาร์สหรัฐ3 (USD) |
เขตเวลา | UTC+9 |
ขับรถด้าน | ซ้ายมือ |
รหัสโทรศัพท์ | 670 |
โดเมนบนสุด | .tl |
1 รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ภาษาอังกฤษและภาษาอินโดนีเซีย เป็น ภาษาปฏิบัติการ 2 อินโดนีเซียยึดครองติมอร์-เลสเตในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2518 และถอนไปในปี พ.ศ. 2542 |
ติมอร์-เลสเต (โปรตุเกส: Timor-Leste, ออกเสียง: [tiˈmoɾ ˈlɛʃtɨ], ตีโมร์แลชตือ) หรือ ติมอร์ตะวันออก (เตตุม: Timór Lorosa'e) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต (โปรตุเกส: República Democrática de Timor-Leste; เตตุม: Repúblika Demokrátika Timór-Leste) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยเกาะติมอร์ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และเทศบาลโอเอกูซี (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของประเทศอินโดนีเซีย
แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดยประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) และในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วมองค์การสหประชาชาติในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า "ติมอร์-เลสเต" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาโปรตุเกส มีดอกไม้ประจำชาติคือดอกกุหลาบ
ภูมิศาสตร์[แก้]
ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตา ของประเทศอินโดนีเซียไปทางตะวันออกประมาณ 2,100 กิโลเมตร ประเทศติมอร์ตะวันออกประกอบไปด้วยดินแดนส่วนปลายด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ และมีดินแดนส่วนแยกเทศบาลโอเอกูซีที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของติมอร์ตะวันตกซึ่งอยู่ในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย
ภูมิอากาศ[แก้]
ประเทศติมอร์-เลสเตมีเพียงสองฤดูเช่นเดียวกับทางภาคใต้ของประเทศไทย คือมีฤดูฝนและฤดูร้อน ภูมิอากาศบางแห่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา ด้วยเหตุที่ได้รับลมแล้งจากทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทรัพยากรทางธรรมชาติของติมอร์ตะวันออกคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีมากไม่แพ้ประเทศบรูไนที่อยู่ในทะเลลึกที่เรียกว่า Timor Gap ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด และปศุสัตว์ที่สำคัญได้แก่ โค กระบือ แกะ ม้า และทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย
ประวัติศาสตร์[แก้]
อาณานิคมโปรตุเกส[แก้]
ดินแดนติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520)
การอ้างสิทธิ์เรียกร้องเอกราช[แก้]
ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมตาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 ริมทะเลกรุงดิลี โดยผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปยังสุสานซานตาครูซจำนวนผู้ร่วมชุมนุมจึงมีมากขึ้น และการชุมนุมก็เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องเอกราช โดยมีนายชานานา กุฌเมา เป็นผู้นำที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย
อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย (militia) ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545
วิกฤตการเมือง พ.ศ. 2548[แก้]
ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์-เลสเตเมื่อเดือนเมษายน พ. หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์-เลสเต 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง
การต่อสู้อันรุนแรงทหารที่สนับสนุนรัฐบาลกับทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549[2] แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์-เลสเต ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิมและกบฏติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ[3][4] ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารมายังติมอร์-เลสเตเพื่อปราบปรามความไม่สงบ[5][6]
เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรตีลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือน[7] เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดี[8] ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[9]
การปกครอง[แก้]
ปัจจุบันประเทศติมอร์-เลสเตมีการปกครองในระบอบของประชาธิปไตย แต่ด้วยความที่เป็นประเทศใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับเหตุการณ์สงครามกลางเมือง และการรุกรานจากประเทศอื่น เพื่อให้การดำเนินการในติมอร์ตะวันออกเป็นไปโดยสงบ องค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการเพื่อสนับสนุนภารกิจของในติมอร์ตะวันออก (United Nation Mission of Support in East Timor: UNMISET) เป็นหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ในติมอร์-เลสเตให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
ติมอร์-เลสเตแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 เทศบาล (เตตุม: munisípiu; โปรตุเกส: município) ดังนี้
- กอวาลีมา
- ดิลี
- เบาเกา
- โบโบนารู
- มานาตูตู
- มานูฟาฮี
- ลีกีซา
- เลาเต็ง
- วีเกเก
- เอร์เมรา
- โอเอกูซี
- ไอนารู
- ไอเลอู
ต่างประเทศ[แก้]
โครงสร้างเศรษฐกิจ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
- การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด
- อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
- การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า
สถานการณ์เศรษฐกิจ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์-เลสเตที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์-เลสเตยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์-เลสเตยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึงอุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุนในติมอร์-เลสเต และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์-เลสเตนำเข้าจากออสเตรเลีย เพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูตที่ปฏิบัติงานในติมอร์-เลสเต
การท่องเที่ยว[แก้]
โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]
การคมนาคม และ โทรคมนาคม[แก้]
เส้นทางคมนาคม[แก้]
ท่าอากาศยานนานาชาติดิลี (Presidente Nicolau Lobato International Airport) เป็นสนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียวในติมอร์-เลสเต และท่าเรือติมอร์และท่าเรือดิลี ท่าเรือสำคัญของประเทศ
โทรคมนาคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การศึกษาของติมอร์เลสเตเป็นไปตามโครงสร้าง 6-3-3 มีระดับการศึกษาตั้งแต่ก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษาและมหาวิทยาลัย ทั้งนี้รัฐได้จัดสวัสดิการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่เยาวชนในระดับประถมศึกษา (EDUCATION POLICY AND DATA CENTER, 2012)
สาธารณสุข[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สวัสดิการสังคม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประชากร[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เชื้อชาติ[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ประเทศติมอร์-เลสเตมีประชากรประมาณ 1,040,880 คน โดยประชากรมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์
ภาษา[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภาษาที่มีถึง 30 กลุ่ม โดยต่างคนต่างอยู่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวติมอร์เชื้อสายจีน และคนไทยในกรุงดิลี ส่วนภาษาทางการนั้นไม่เป็นที่ตกลงแน่นอนว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในติมอร์-เลสเต คือ ภาษาเตตุม ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ โดยสองภาษาหลังนี้ทางการถือเป็นภาษาปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
ศาสนา[แก้]
ศาสนา | จำนวนศาสนิก[10] | ร้อยละ |
---|---|---|
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก | 715,285 คน | 96.5 % |
ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ | 16,616 คน | 2.2 % |
นับถือผี/ไสยศาสตร์ | 5,883 คน | 0.8 % |
ศาสนาอิสลาม | 2,455 คน | 0.3 % |
ศาสนาพุทธ | 484 คน | 0.06 % |
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู | 191 คน | 0.02 % |
อื่น ๆ | 616 คน | 0.08 % |
รวม | 741,530 คน | 100.00 % |
ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศติมอร์-เลสเตนับถือศาสนาคริสต์ โดยแยกเป็นสองนิกายหลัก คือ นิกายโรมันคาทอลิก มีศาสนิกกว่าร้อยละ 96 ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์นั้นมีร้อยละ 2.2 มีส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบซุนนี นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และอื่น ๆ[10]
วัฒนธรรม[แก้]
ประชาชนชาวติมอร์-เลสเตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบท โดยส่วนมากยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและพึ่งพาตนเอง มีการศึกษาต่ำ มีการจับปลาและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนส่วนใหญ่ค้าขายไม่เป็น ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล แต่ชาวติมอร์-เลสเตนั้นมีความเคารพในระบบอาวุโส มีระบบเครือญาติที่แข็งแกร่ง รักพวกพ้อง รักขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยสตรีชาวติมอร์-เลสเตนั้นจะทำงานหนักในขณะที่บุรุษมักไม่ค่อยช่วยงานบ้าน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Timor-Leste". World Bank.
- ↑ http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/5012640.stm
- ↑ http://www.smh.com.au/news/world/australia-cant-find-timor-leaders/2006/05/25/1148524816847.html
- ↑ http://www.rte.ie/news/2006/0525/easttimor.html
- ↑ http://www.iol.co.za/index.php?set_id=1&click_id=3&art_id=qw1148547965206B254
- ↑ http://www.rte.ie/news/2006/0525/easttimor.html
- ↑ http://www.smh.com.au/news/world/timor-pm-likely-to-resign-tomorrow/2006/06/21/1150845238271.html
- ↑ http://www.heraldsun.news.com.au/common/story_page/0,5478,19591368%255E661,00.html
- ↑ http://www.abc.net.au/news/newsitems/200607/s1681879.htm
- ↑ 10.0 10.1 Statistisches Amt Timor-Leste Census 2004
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ประเทศติมอร์-เลสเต จากเว็บไซต์กระทรวงต่างประเทศ