โจราธิปไตย
โจราธิปไตย (อังกฤษ: cleptocracy, kleptarchy หรือ kleptocracy; กรีก: κλέπτης kléptēs, "โจร", κλέπτω kléptō, "ขโมย", และ -κρατία -kratía มาจาก κράτος krátos, "พลัง, บทบาท") หมายถึง รูปแบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงที่การปกครองเป็นไปเพื่อทวีทรัพย์สินส่วนตัวและอำนาจทางการเมืองของพนักงานในรัฐบาลและของชนชั้นปกครอง โดยแสร้งว่า ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริต และมักกระทำโดยยักยอกเงินหลวง[1][2]
โจราธิปไตยปรากฏมากในประเทศกำลังพัฒนา[ต้องการอ้างอิง] และมักสัมพันธ์กับการปกครองแบบนิยมอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปกครองของคณะทหารผู้ยึดอำนาจ เผด็จการ คนกลุ่มน้อยในสังคม คนคนเดียวมีอำนาจเบ็ดเสร็จ และผู้เล่นพรรคเล่นพวก การปกครองเหล่านี้มีลักษณะเหมือนกัน คือ บุคคลภายนอกไม่อาจตรวจสอบได้ เพราะผู้ปกครองควบคุมทั้งการใช้จ่ายและวิธีกำหนดการใช้จ่ายเงินหลวง ผู้ปกครองแบบโจราธิปไตยมักปฏิบัติต่อคลังหลวงเสมือนเป็นบัญชีธนาคารของตนเอง หลายคนยังลักโอนเงินหลวงเข้าบัญชีตนเองในต่างแดน เผื่อว่าเมื่อตนพ้นจากอำนาจหรือจำเป็นต้องออกจากประเทศไปแล้ว จะได้มีเงินทองใช้สอยต่อไป[ต้องการอ้างอิง]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "kleptocracy", Dictionary.com Unabridged, n.d., สืบค้นเมื่อ November 1, 2016
- ↑ "Kleptocracy". The Oxford English Dictionary. Oxford University Press. 1st ed. 1909.
อ่านเพิ่ม[แก้]
- Tibor Machan (2008). "Kleptocracy". ใน Ronald Hamowy (บ.ก.). The Encyclopedia of Libertarianism (ภาษาอังกฤษ). Thousand Oaks, CA: SAGE; Cato Institute. pp. 272–3. ISBN 978-1-4129-6580-4. LCCN 2008009151. OCLC 750831024.
![]() |
บทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |