บริติชราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินเดีย

ค.ศ. 1858–ค.ศ. 1947
แผนที่ของอินเดียใน ค.ศ. 1909 โดยสีชมพูแสดงถึงอินเดียของบริเตนในทั้งสองระดับสี และสีเหลืองแสดงถึงรัฐของเหล่ามหาราชา
แผนที่ของอินเดียใน ค.ศ. 1909 โดยสีชมพูแสดงถึงอินเดียของบริเตนในทั้งสองระดับสี และสีเหลืองแสดงถึงรัฐของเหล่ามหาราชา
สถานะโครงสร้างทางการเมืองของจักรวรรดิบริติช (ซึ่งประกอบด้วยอินเดียของบริเตน[a] และรัฐมหาราชา[b])[1]
เมืองหลวงกัลกัตตา[2][c]
(ค.ศ. 1858–1911)
นิวเดลี
(ค.ศ. 1911/1931[d]–1947)
ภาษาราชการอังกฤษและอูรดู[4][5]
การปกครองรัฐบาลอาณานิคมของบริเตน
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 1858–1901
วิกตอเรีย
• ค.ศ. 1901–1910
เอ็ดเวิร์ดที่ 7
• ค.ศ. 1910–1936
จอร์จที่ 5
• ค.ศ. 1936
เอ็ดเวิร์ดที่ 8
• ค.ศ. 1936–1947
จอร์จที่ 6
อุปราช 
• ค.ศ. 1858–1862 (คนแรก)
ชาร์ล แคนนิง
• ค.ศ. 1947 (คนสุดท้าย)
หลุยส์ เมานต์แบ็ตเทน
รัฐมนตรีว่าการอินเดีย 
• ค.ศ. 1858–1859 (คนแรก)
เอ็ดเวิร์ด สแตนเลย์
• ค.ศ. 1947 (คนสุดท้าย)
วิลเลียม แฮร์
สภานิติบัญญัติสภานิติบัญญัติจักรวรรดิ
ประวัติศาสตร์ 
10 พฤษภาคม ค.ศ. 1857
2 สิงหาคม ค.ศ. 1858
18 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
14 และ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1947
สกุลเงินรูปีอินเดีย
ก่อนหน้า
ถัดไป
ค.ศ. 1858:
จักรวรรดิโมกุล
การปกครองของบริษัทในอินเดีย
ค.ศ. 1947:
อินเดียในเครือจักรภพ
ปากีสถานในเครือจักรภพ
  1. a quasi-federation of presidencies and provinces directly governed by the British Crown through the Viceroy and Governor-General of India
  2. governed by Indian rulers, under the suzerainty of The British Crown exercised through the Viceroy of India)
  3. Note: Simla was the summer capital of the Government of British India, not of the British Raj, i.e. the British Indian Empire, which included the Princely States.[3]
  4. The proclamation for New Delhi to be the capital was made in 1911, but the city was inaugurated as the capital of the Raj in February 1931.

บริติชราช (อังกฤษ: British Raj) เป็นการปกครองของพระมหากษัตริย์อังกฤษในอนุทวีปอินเดีย[6] เรียกอีกอย่างว่า การปกครองส่วนพระองค์ในอินเดีย[7] (อังกฤษ: Crown rule in India) หรือ การปกครองโดยตรงในอินเดีย[8] (Direct rule in India) โดยดำรงอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1858 จนถึง 1947[9] ภูมิภาคที่อยู่ภายใต้การปกครองของบริเตนแห่งนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า อินเดีย ตามการใช้งานในปัจจุบัน รวมถึงพื้นที่ในปกครองของสหราชอาณาจักรโดยตรง ซึ่งเรียกแบบโดยรวมว่าบริติชอินเดีย ตลอดจนรัฐในปกครองของเจ้าพื้นเมือง แต่เนื่องจากบรรดารัฐดังกล่าวอยู่ภายใต้อธิปไตยชั้นสูงสุดโดยบริเตน จึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวเรียกว่ารัฐมหาราชา บางครั้งภูมิภาคแห่งนี้เรียกว่า บริติช-อินเดีย หรือ จักรวรรดิอินเดีย ถึงแม้ว่าจะเป็นชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการก็ตาม[10]

ก่อนหน้ายุคบริติชราช อังกฤษได้ปกครองบรรดาดินแดนในอนุทวีปอินเดียผ่านบริษัทอินเดียตะวันออกกว่าร้อยปี ซึ่งบริษัทนี้มีกองเรือและกองทหารเป็นของตนเอง การปกครองโดยบริษัทฯได้สิ้นสุดลงเมื่อมีการตราพระราชบัญญัติรัฐบาลอินเดีย ค.ศ. 1858 ในการนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียได้สถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดินีนาถแห่งอินเดีย ทรงส่งขุนนางไปปกครองอินเดียในตำแหน่งอุปราชและข้าหลวงต่างพระองค์ ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็ได้มีการแบ่งอินเดียแบ่งออกเป็นสองประเทศในเครือจักรภพคืออินเดีย (ประเทศอินเดียในปัจจุบัน) และปากีสถาน (ประเทศปากีสถานและประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน) ส่วนพม่านั้นได้แยกตัวออกจากรัฐบาลบริติชอินเดียในปี ค.ศ. 1937 และรัฐบาลสหราชอาณาจักรปกครองโดยตรงตั้งแต่บัดนั้น

บริติชราชประกอบไปด้วยดินแดนที่เป็นประเทศอินเดียและบังกลาเทศในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีเอเดน (1839-1937), พม่าตอนบน (1885-1937), และพม่าตอนล่าง (1853-1937), โซมาลิแลนด์ของบริเตน (1884-98), โอมานและมัสกัต (1892-1947), บาห์เรน (1861-1947), กาตาร์ (1916-47), คูเวต (1899-1947), รัฐทรูเชียล (1820-1947), และ สเตรตส์เซตเทิลเมนต์ (1826-67) นอกจากนี้ บริติชราชยังมีเขตอำนาจถึงดินแดนในปกครองอังกฤษในตะวันออกกลาง เงินตรารูปีอินเดียใช้กันอย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดีย อย่างไรก็ตาม ในบรรดาดินแดนในบังคับของอังกฤษเหล่านี้ บริติชซีลอน (ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน) มีฐานะเป็นคราวน์โคโลนีที่ไม่ขึ้นกับรัฐบาลอุปราชแห่งอินเดีย

ราชอาณาจักรเนปาลและภูฏาน แม้มีความขัดแย้งกับสหราชอาณาจักร แต่ก็ลงนามทำสนธิสัญญากันและได้รับการยอมรับในฐานะรัฐเอกราชและไม่ใช่ส่วนหนึ่งของบริติชราช[11][12] ราชอาณาจักรสิกขิมได้รับการตั้งให้เป็นรัฐราชวงศ์หลังการลงนามในสนธิสัญญาอังกฤษ-สิกขิมในปี 1862 อย่างไรก็ตาม ไม่เคยมีการตกลงในประเด็นว่าด้วยความมีอธิปไตย มัลดีฟส์เป็นรัฐในอารักขาของบริเตนตั้งแต่ปี 1867 ถึงปี 1965 ซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งในบริติชราช

เหรียญทองหนึ่งโมอูร์ (เท่ากับ 15 เหรียญเงินรูปี) เป็นเงินตราที่ใช้ในบริติชราชตลอดจนในเนปาลและอัฟกานิสถาน

บริติชอินเดียและรัฐมหาราชา[แก้]

อินเดียในยุคของบริติชราช ประกอบด้วยดินแดนสองประเภท คือ บริติชอินเดีย ปกครองและบริหารโดยรัฐบาลกลาง กับ รัฐพื้นเมือง (รัฐมหาราชา) ปกครองโดยเจ้าอินเดียแต่บริหารโดยรัฐบาลกลาง ทั้งนี้ในมาตรา 18 ของพระราชบัญญัติจำกัดความ ค.ศ. 1889 (Interpretation Act) บัญญัติไว้ว่า:

(4.) คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นหมายถึงดินแดนและสถานที่ทั้งปวงในแผ่นดินแว่นแคว้นในสมเด็จฯ ซึ่งขณะนี้อยู่ในปกครองโดยสมเด็จฯผ่านทางข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย
(5.) คำว่า "อินเดีย" นั้นหมายถึงบริติชอินเดียพร้อมด้วยดินแดนของบรรดาเจ้าหรือผู้นำพื้นเมืองภายใต้พระราชอำนาจในสมเด็จฯ ซึ่งทรงบริหารผ่านข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย หรือผ่านข้าหลวงหรือเจ้าพนักงานอื่นใดอันขึ้นกับข้าหลวงต่างพระองค์แห่งอินเดีย[1]

โดยทั่วไป คำว่า "บริติชอินเดีย" นั้นใช้เพื่อสื่อถึงอนุทวีปอินเดียภายใต้การปกครองของบริษัทอินเดียตะวันออกระหว่าง ค.ศ. 1600 ถึง 1858 นอกจากยังคำว่าบริติชอินเดีย ยังใช้สื่อถึงชาวอังกฤษในอินเดียด้วย ส่วนคำว่า "จักรวรรดิอินเดีย" นั้นเป็นคำที่ไม่ใช้ในสารบบกฎหมาย แต่เนื่องจากกษัตริย์อังกฤษทรงปกครองอินเดียในพระอิสริยยศ จักรพรรดิแห่งอินเดีย ดังนั้นเวลากษัตริย์อังกฤษมีพระราชดำรัสไปยังรัฐสภาจึงมักจะเรียกอินเดียว่า "จักรวรรดิอินเดีย" ทั้งนี้ หนังสือเดินทางที่ออกโดยรัฐบาลบริติชอินเดียนั้น ปรากฏคำว่า "Indian Empire" บนปก และปรากฏคำว่า "Empire of India" อยู่ด้านใน[13] นอกจากนี้ยังมีการสถาปนาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีชื่อว่า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันสูงส่งยิ่งแห่งจักรวรรดิอินเดีย ด้วย

มณฑลขนาดใหญ่[แก้]

ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 บริติชอินเดียประกอบด้วยมณฑลทั้งสิ้น 8 มณฑล ซึ่งมณฑลเหล่านั้นได้รับการปกครองโดยผู้ว่าราชการ หรือรองผู้ว่าราชการ

เขตการปกครองและประชากร (ไม่รวมรัฐพื้นเมือง) ในประมาณ ค.ศ. 1907[14]
มณฑล
(และดินแดนในปัจจุบัน)
พื้นที่รวม ประชากรปี 1901
(ล้านคน)
อัสสัม
(รัฐอัสสัม, รัฐอรุณาจัลประเทศ, รัฐเมฆาลัย, รัฐมิโซรัม, รัฐนาคาแลนด์)
130,000 ตารางกิโลเมตร
50,000 ตารางไมล์
6
เบงกอล
(ประเทศบังกลาเทศ, รัฐเบงกอลตะวันตก, รัฐพิหาร, รัฐฌารขัณฑ์ และรัฐโอฑิศา)
390,000 ตารางกิโลเมตร
150,000 ตารางไมล์
75
บอมเบย์
(แคว้นสินธ์ และบางส่วนของรัฐมหาราษฏระ, รัฐคุชราต และรัฐกรณาฏกะ)
320,000 ตารางกิโลเมตร
120,000 ตารางไมล์
19
พม่า
(ประเทศพม่า)
440,000 ตารางกิโลเมตร
170,000 ตารางไมล์
9
มณฑลกลางและเบราร์
(รัฐมัธยประเทศ และบางส่วนของรัฐมหาราษฏระ, รัฐฉัตตีสครห์ และรัฐโอฑิศา)
270,000 ตารางกิโลเมตร
100,000 ตารางไมล์
13
มัทราส
(รัฐอานธรประเทศ, รัฐทมิฬนาฑู และบางส่วนของรัฐเกรละ, รัฐกรณาฏกะ, รัฐโอฑิศา และรัฐเตลังคานา)
370,000 ตารางกิโลเมตร
140,000 ตารางไมล์
38
ปัญจาบ
(แคว้นปัญจาบ, ดินแดนนครหลวงอิสลามาบาด, รัฐปัญจาบ, รัฐหรยาณา, รัฐหิมาจัลประเทศ, รัฐฉัตติสครห์ และดินแดนนครหลวงแห่งชาติเดลี)
250,000 ตารางกิโลเมตร
97,000 ตารางไมล์
20
สหมณฑล
(รัฐอุตตรประเทศและรัฐอุตตราขัณฑ์)
280,000 ตารางกิโลเมตร
110,000 ตารางไมล์
48

ในช่วงของการแบ่งเบงกอล (ค.ศ. 1905–1913) มณฑลอัสสัมและเบงกอลตะวันออกได้รับการก่อตั้งขึ้นในฐานะเขตผู้แทนพระองค์ ใน ค.ศ. 1911 มณฑลเบงกอลตะวันออก ถูกรวมกับมณฑลเบงกอลอีกครั้ง และมณฑลใหม่ทางตะวันออกได้กลายไปเป็นมณฑลอัสสัม, เบงกอล, พิหาร และโอฑิศา[14]

ธงที่เกี่ยวข้อง[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Interpretation Act 1889 (52 & 53 Vict. c. 63), s. 18.
  2. "Calcutta (Kalikata)", The Imperial Gazetteer of India, vol. IX Bomjur to Central India, Published under the Authority of His Majesty's Secretary of State for India in Council, Oxford at the Clarendon Press, 1908, p. 260,  —Capital of the Indian Empire, situated in 22° 34' N and 88° 22' E, on the east or left bank of the Hooghly river, within the Twenty-four Parganas District, Bengal
  3. "Simla Town", The Imperial Gazetteer of India, vol. XXII Samadhiāla to Singhāna, Published under the Authority of His Majesty's Secretary of State for India in Council, Oxford at the Clarendon Press, 1908, p. 260,  —Head-quarters of Simla District, Punjab, and the summer capital of the Government of India, situated on a transverse spur of the Central Himālayan system system, in 31° 6' N and 77° 10' E, at a mean elevation above sea-level of 7,084 feet.
  4. Vejdani, Farzin (2015), Making History in Iran: Education, Nationalism, and Print Culture, Stanford, CA: Stanford University Press, pp. 24–25, ISBN 978-0-8047-9153-3,  Although the official languages of administration in India shifted from Persian to English and Urdu in 1837, Persian continued to be taught and read there through the early twentieth century.
  5. Everaert, Christine (2010), Tracing the Boundaries between Hindi and Urdu, Leiden and Boston: BRILL, pp. 253–254, ISBN 978-90-04-17731-4,  It was only in 1837 that Persian lost its position as official language of India to Urdu and to English in the higher levels of administration.
    • Hirst, Jacqueline Suthren; Zavros, John (2011), Religious Traditions in Modern South Asia, London and New York: Routledge, ISBN 978-0-415-44787-4,  As the (Mughal) empire began to decline in the mid-eighteenth century, some of these regional administrations assumed a greater degree of power. Amongst these ... was the East India Company, a British trading company established by Royal Charter of Elizabeth I of England in 1600. The Company gradually expanded its influence in South Asia, in the first instance through coastal trading posts at Surat, Madras and Calcutta. (The British) expanded their influence, winning political control of Bengal and Bihar after the Battle of Plassey in 1757. From here, the Company expanded its influence dramatically across the subcontinent. By 1857, it had direct control over much of the region. The great rebellion of that year, however, demonstrated the limitations of this commercial company's ability to administer these vast territories, and in 1858 the Company was effectively nationalized, with the British Crown assuming administrative control. Hence began the period known as the British Raj, which ended in 1947 with the partition of the subcontinent into the independent nation-states of India and Pakistan.
    • Salomone, Rosemary (2022), The Rise of English: Global Politics and the Power of Language, Oxford University Press, p. 236, ISBN 978-0-19-062561-0,  Between 1858, when the British East India Company transferred power to British Crown rule (the "British Raj"), and 1947, when India gained independence, English gradually developed into the language of government and education. It allowed the Raj to maintain control by creating an elite gentry schooled in British mores, primed to participate in public life, and loyal to the Crown.
    • Glanville, Luke (2013), Sovereignty and the Responsibility to Protect: A New History, University of Chicago Press, p. 120, ISBN 978-0-226-07708-6 Quote: "Mill, who was himself employed by the British East India company from the age of seventeen until the British government assumed direct rule over India in 1858."
    • Pykett, Lyn (2006), Wilkie Collins, Oxford World's Classics: Authors in Context, Oxford University Press, p. 160, ISBN 978-0-19-284034-9,  In part, the Mutiny was a reaction against this upheavel of traditional Indian society. The suppression of the Mutiny after a year of fighting was followed by the break-up of the East India Company, the exile of the deposed emperor and the establishment of the British Raj, and direct rule of the Indian subcontinent by the British.
    • Lowe, Lisa (2015), The Intimacies of Four Continents, Duke University Press, p. 71, ISBN 978-0-8223-7564-7,  Company rule in India lasted effectively from the Battle of Plassey in 1757 until 1858, when following the 1857 Indian Rebellion, the British Crown assumed direct colonial rule of India in the new British Raj.
    • Vanderven, Elizabeth (2019), "National Education Systems: Asia", ใน Rury, John L.; Tamura, Eileen H. (บ.ก.), The Oxford Handbook of the History of Education, Oxford University Press, p. 213-227, 222, ISBN 978-0-19-934003-3,  During the British East India Company's domination of the Indian subcontinent (1757-1858) and the subsequent British Raj (1858-1947), it was Western-style education that came to be promoted by many as the base upon which a national and uniform education system should be built.
    • Lapidus, Ira M. (2014), A History of Islamic Societies (3 ed.), Cambridge University Press, p. 393, ISBN 978-0-521-51430-9,  Table 14. Muslim India: outline chronology
      Mughal Empire ... 1526-1858
      Akbar I ... 1556-1605
      Aurengzeb ... 1658-1707
      British victory at Plassey ... 1757
      Britain becomes paramount power ... 1818
      British Raj ... 1858-1947
  6. Bowen, H. V.; Mancke, Elizabeth; Reid, John G. (2012), Britain's Oceanic Empire: Atlantic and Indian Ocean Worlds, C. 1550–1850, Cambridge University Press, p. 106, ISBN 978-1-107-02014-6 Quote: "British India, meanwhile, was itself the powerful 'metropolis' of its own colonial empire, 'the Indian empire'."
  7. British Empire - Relations with Bhutan
  8. British Empire - Relations with Nepal
  9. "British Indian Passport of Muhammad Ali Jinnah". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-10. สืบค้นเมื่อ 2016-12-23.
  10. 14.0 14.1 Imperial Gazetteer of India vol. IV 1909, p. 46

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับด้านการสำรวจ[แก้]

แหล่งอ้างอิงที่ได้รับการศึกษาเป็นพิเศษ[แก้]

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์สังคม[แก้]

แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นิพนธ์และความทรงจำ[แก้]

  • Andrews, C.F. (2017). India and the Simon Report. Routledge reprint of 1930 first edition. p. 11. ISBN 9781315444987.
  • Durant, Will (2011, reprint). The case for India. New York: Simon and Schuster.
  • Ellis, Catriona (2009). "Education for All: Reassessing the Historiography of Education in Colonial India". History Compass. 7 (2): 363–75. doi:10.1111/j.1478-0542.2008.00564.x.
  • Gilmartin, David (2015). "The Historiography of India's Partition: Between Civilization and Modernity". The Journal of Asian Studies. 74 (1): 23–41. doi:10.1017/s0021911814001685. S2CID 67841003.
  • Major, Andrea (2011). "Tall tales and true: India, historiography and British imperial imaginings". Contemporary South Asia. 19 (3): 331–32. doi:10.1080/09584935.2011.594257. S2CID 145802033.
  • Mantena, Rama Sundari. The Origins of Modern Historiography in India: Antiquarianism and Philology (2012)
  • Moor-Gilbert, Bart. Writing India, 1757–1990: The Literature of British India (1996) on fiction written in English
  • Mukherjee, Soumyen. "Origins of Indian Nationalism: Some Questions on the Historiography of Modern India." Sydney Studies in Society and Culture 13 (2014). online
  • Nawaz, Rafida, and Syed Hussain Murtaza. "Impact of Imperial Discourses on Changing Subjectivities in Core and Periphery: A Study of British India and British Nigeria." Perennial Journal of History 2.2 (2021): 114-130. online
  • Nayak, Bhabani Shankar. "Colonial world of postcolonial historians: reification, theoreticism, and the neoliberal reinvention of tribal identity in India." Journal of Asian and African Studies 56.3 (2021): 511-532 online.
  • Parkash, Jai. "Major trends of historiography of revolutionary movement in India – Phase II." (PhD dissertation, Maharshi Dayanand University, 2013). online
  • Philips, Cyril H. ed. Historians of India, Pakistan and Ceylon (1961), reviews the older scholarship
  • Stern, Philip J (2009). "History and Historiography of the English East India Company: Past, Present, and Future". History Compass. 7 (4): 1146–80. doi:10.1111/j.1478-0542.2009.00617.x.
  • Stern, Philip J. "Early Eighteenth-Century British India: Antimeridian or antemeridiem?." 'Journal of Colonialism and Colonial History 21.2 (2020) pp 1–26, focus on C.A. Bayly, Imperial Meridian online.
  • Whitehead, Clive (2005). "The historiography of British imperial education policy, Part I: India". History of Education. 34 (3): 315–329. doi:10.1080/00467600500065340. S2CID 144515505.
  • Winks, Robin, ed. Historiography (1999) vol. 5 in William Roger Louis, eds. The Oxford History of the British Empire
  • Winks, Robin W. The Historiography of the British Empire-Commonwealth: Trends, Interpretations and Resources (1966)
  • Young, Richard Fox, ed. (2009). Indian Christian Historiography from Below, from Above, and in Between India and the Indianness of Christianity: Essays on Understanding – Historical, Theological, and Bibliographical – in Honor of Robert Eric Frykenberg

หนังสืออ่านเพิ่ม[แก้]

  • Malone, David M., C. Raja Mohan, and Srinath Raghavan, eds. The Oxford handbook of Indian foreign policy (2015) excerpt pp 55–79.
  • Simon Report (1930) vol 1, wide-ranging survey of conditions
  • Editors, Charles Rivers (2016). The British Raj: The History and Legacy of Great Britain's Imperialism in India and the Indian subcontinent.
  • Keith, Arthur Berriedale (1912). Responsible government in the dominions. The Clarendon press., major primary source

หนังสือประจำรายปีและการบันทึกทางสถิติ[แก้]