จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักรวรรดิบัลแกเรีย
(อาณาจักรซาร์แห่งบัลแกเรีย)

Българско царство
Bălgarsko tsarstvo
ค.ศ. 1185–ค.ศ. 1396
Imperial Coat of Arms (under the Shishman Dynasty)ของบัลแกเรีย
Imperial Coat of Arms
(under the Shishman Dynasty)
จักรวรรดิบัลแกเรียราว ค.ศ. 1340 ภายใต้ ไอวาน อเล็กซานเดอร์
จักรวรรดิบัลแกเรียราว ค.ศ. 1340 ภายใต้
ไอวาน อเล็กซานเดอร์
สถานะจักรวรรดิ
เมืองหลวงทาร์นาโว (ค.ศ. 1185-1393)
ภาษาทั่วไปบัลแกเรีย
ศาสนา
อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์
การปกครองราชาธิปไตย
ซาร์ (จักรวรรดิ) 
• ค.ศ. 1185-1190
ปีเตอร์ที่ 4
• ค.ศ. 1396
คอนสแตนตินที่ 2
ยุคประวัติศาสตร์ยุคกลาง
• ก่อตั้ง
ค.ศ. 1185
• การก่อตั้งใหม่
ค.ศ. 1185
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1393
• สิ้นสุด
ค.ศ. 1396
พื้นที่
คริสต์ศตวรรษที่ 13350,000 ตารางกิโลเมตร (140,000 ตารางไมล์)
ก่อนหน้า
ถัดไป
จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1
จักรวรรดิไบแซนไทน์
จักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 หรือ อาณาจักรซาร์แห่งบัลแกเรีย (อังกฤษ: Second Bulgarian Empire, บัลแกเรีย: Второ българско царство, Vtorо Balgarskо Tsartsvo) เป็นจักรวรรดิในในยุคกลางของบัลแกเรียที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1185 และรุ่งเรืองมาจนถึงปี ค.ศ. 1396 (หรือ ค.ศ. 1422)[1] จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 เป็นจักรวรรดิที่สืบต่อจากจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 และมามีอำนาจรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิคาโลยัน และ สมเด็จพระจักรพรรดิไอวาน อาเซนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย ก่อนที่มาจะค่อยๆ เสื่อมโทรมลงจนในที่สุดก็ถูกพิชิตโดยจักรวรรดิออตโตมันในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ตามมาด้วยราชอาณาจักรที่ปกครองโดยเจ้าชายและต่อมาโดยพระมหากษัตริย์เป็นราชอาณาจักรบัลแกเรียในปี ค.ศ. 1878

มาจนถึงปี ค.ศ. 1256 จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 เป็นจักรวรรดิมหาอำนาจในคาบสมุทรบอลข่าน[2] ระหว่างนั้นไบแซนไทน์ก็ได้รับความพ่ายแพ้หลายครั้งในยุทธการต่างๆ และในปี ค.ศ. 1205 จักรวรรดิละตินที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นก็มาถูกทำลายอย่างย่อยยับในยุทธการอันเดรียโนเปิล โดยคาโลยันแห่งบัลแกเรีย ต่อมาพระราชนัดดาของพระองค์ไอวาน อาเซนที่ 2 ก็ทรงพิชิตอาณาจักรเดสโพเททแห่งเอพิรอส (Despotate of Epiros) ได้ ซึ่งเป็นผลทำให้จักรวรรดิบัลแกเรียกลายเป็นมหาอำนาจของยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 13 แต่ต่อมาจักรวรรดิก็มาเสื่อมโทรมลงหลังจากการรุกรานเป็นระยะๆ ของชนทาร์ทาร์, ไบแซนไทน์, ชนฮังการี และจากการขาดความมั่นคงทางการเมืองและจากการปฏิวัติที่เกิดขึ้นภายในจักรวรรดิเอง ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จักรวรรดิบัลแกเรียก็ถูกรุกรานโดยทั่วไปโดยจักรวรรดิไบแซนไทน์ผู้เข้ามาบ่อนทำลายเศรษฐกิจและโครงสร้างทางการบริหาร, ลดจำนวนประชากรของบัลแกเรีย และ เข่นฆ่าชนชั้นปกครองของบัลแกเรียไปเป็นจำนวนมาก

ทางด้านวัฒนธรรมจักรวรรดิบัลแกเรียเป็นหนึ่งในดินแดนที่ก้าวหน้าที่สุดในบรรดาประเทศต่างในยุโรปขณะนั้น[3] แม้ว่าไบแซนไทน์จะมีอิทธิพลเป็นอันมากต่อบัลแกเรียแต่ศิลปะและสถาปัตยกรรมของบัลแกเรียก็ยังสามารถดำรงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองอยู่ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลง ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 บัลแกเรียก็มีความรุ่งเรืองทั้งทางด้านศิลปะและวรรณกรรม ประชากรส่วนใหญ่ในบัลเกเรียก็เป็นผู้มีการศึกษาดี[4]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Tjutjundžiev, Ivan; Plamen Pavlov (1992). Bǎlgarskata dǎržava i osmanskata ekspanzija 1369-1422 (ภาษาบัลแกเรีย). Veliko Tǎrnovo.
  2. http://www.world66.com/europe/bulgaria/history เก็บถาวร 2009-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Bulgaria history
  3. http://www.travel-bulgaria.com/content/unesco_boyana_church.shtml The frescoes of the Boyana Church - predecessors of the European Renaissance
  4. "Нетинфо - Учени: Подписът не е на Боянския майстор". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-29.