เขตปกครองตนเองทิเบต
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
เขตปกครองตนเองทิเบต ทิเบต: བོད་རང་སྐྱོང་ལྗོངས། จีน: 西藏自治区 | |
---|---|
การถอดเสียงภาษาจีน | |
• อักษรจีน | 西藏自治区 (อักษรย่อ: XZ / 藏) |
• พินอิน | Xīzàng Zìzhìqū (อักษรย่อ: Zàng จ้าง) |
การถอดเสียงภาษาทิเบต | |
• อักษรทิเบต | བོད་རང་སྐྱོང་ལྗོངས། |
• การถอดอักษร (Wylie) | bod rang skyong ljongs |
• การถอดเสียงอย่างเป็นทางการ (PRC) | Poi Ranggyong Jong |
![]() | |
![]() แผนที่แสดงที่ตั้งของเขตปกครองตนเองทิเบต | |
เมืองหลวง (และเมืองใหญ่สุด) | ลาซา |
เขตการปกครอง | 5 นครระดับจังหวัด, 2 จังหวัด, 6 เขต, 68 เทศมณฑล, 692 ตำบล |
การปกครอง | |
• เลขาธิการพรรค | อู๋ อิงเจี๋ย (吴英杰) |
• ผู้ว่าราชการ | Che Dalha |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 1,228,400 ตร.กม. (474,300 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 2 |
ความสูงจุดสูงสุด (ยอดเขาเอเวอเรสต์) | 8,848 เมตร (29,029 ฟุต) |
ประชากร (ธันวาคม ค.ศ. 2014)[2] | |
• ทั้งหมด | 3,180,000 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 32 |
• ความหนาแน่น | 2.59 คน/ตร.กม. (6.7 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 33 |
ประชากรศาสตร์ | |
• องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ | ทิเบต - 90% ฮั่น - 8% เหมินป้า - 0.3% หุย - 0.3% อื่น ๆ - 0.2% |
• ภาษาและภาษาถิ่น | ภาษาทิเบต ภาษาจีนกลาง |
รหัสไอเอสโอ 3166 | CN-XZ |
GDP (ค.ศ. 2017) | 131 พันล้านเหรินหมินปี้ (อันดับที่ 31)[3] |
- ต่อหัว | 39,258 เหรินหมินปี้ (อันดับที่ 28) |
HDI (2018) | ![]() ปานกลาง · อันดับที่ 31 |
เว็บไซต์ | xizang.gov.cn/ |
เขตปกครองตนเองทิเบต (ทิเบต:བོད་- โบด์; จีน: 西藏 ซีจ้าง) ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa) เป็นเขตปกครองตนเองของชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบตตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และมีความกดอากาศและออกซิเจนที่ต่ำ ฉะนั้นผู้ที่จะมาในทิเบตจะต้องปรับสภาพร่างกายก่อน และด้วยเหตุนี้ประชากรที่อาศัยอยู่ในทิเบตจึงน้อย
พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนที่จีนจะผนวกทิเบตเป็นเขตปกครองตนเอง ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma)
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
เขตปกครองตนเองทิเบตมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตปกครองตนเองชินเจียงอุยกูร์และมณฑลชิงไห่ (ประเทศจีน)
- ทิศใต้ ติดต่อกับประเทศเนปาล ประเทศภูฏาน มณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) รัฐอัสสัม รัฐนาคาแลนด์ (ประเทศอินเดีย) ในปัจจุบัน บริเวณที่มีเขตติดต่อกับประเทศอินเดียนี้ ยังเป็นบริเวณพื้นที่พิพาทระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งอินเดียได้อ้างกรรมสิทธิ์เข้ามาปกครอง และเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า อรุณาจัลประเทศ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับมณฑลเสฉวน (ประเทศจีน)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐชัมมูและแคชเมียร์ (ประเทศอินเดีย) และประเทศปากีสถาน
ประวัติ[แก้]
ก่อนคริสต์ศักราช ชนชาติทิเบตอาศัยอยู่ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต มีการไปมาหาสู่กันกับชนชาติฮั่นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่จีน ผ่านระยะเวลาอันยาวนาน เผ่าชนต่าง ๆ ของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตก็ค่อย ๆ รวมกันเป็นเอกภาพ และกลายเป็นชนชาติทิเบตในปัจจุบัน
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 สภาพแบ่งแยกปั่นป่วนในภูมิภาคกลางของจีนที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน 300 กว่าปีได้สิ้นสุดลง ขณะเดียวกัน วีรบุรุษ ซงจั้นกันปู้ ของชนชาติทิเบตได้สถาปนาราชวงค์ถู่ปัวอย่างเป็นทางการขึ้น และตั้งเมืองหลวงที่นครลาซา ในช่วงปกครองประเทศ กษัตริย์ซงจั้นกันปู้ได้ศึกษาเทคโนโลยีทางการผลิตและผลงานทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ทันสมัยของราชวงค์ถัง และมีความสัมพันธ์ฉันมิตรในด้านต่าง ๆ กับราชวงค์ถังไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 หลังจากทิเบตได้รวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเป็นต้นมา แม้ว่าจีนจะมีหลายราชวงค์ที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปกครองประเทศ และเปลี่ยนอำนาจรัฐหลายครั้ง แต่ทิเบตก็อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางมาโดยตลอดไม่ว่าราชวงค์ใด
หลังจากราชวงศ์ชิงได้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกครองควบคุมทิเบตอย่างใกล้ชิด ทำให้อำนาจการบริหารปกครองของรัฐบาลกลางเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบยิ่งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2270 (ค.ศ. 1727) ราชวงค์ชิงได้ส่งเสนาบดีไปประจำทิเบต เพื่อเป็นตัวแทนของส่วนกลางกำกับดูแลกิจกรรมบริหารส่วนท้องถิ่นของทิเบต
ตั้งแต่ พ.ศ. 2455 ราชอาณาจักรทิเบตประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากจีน แต่จีนยังมีอิทธิพลต่อการเมืองภายในทิเบตและยังมีอำนาจปกครองทิเบตในคามและอัมโด จนถึง พ.ศ. 2501 จีนบุกเข้าทิเบตและก่อตั้งเขตปกครองพิเศษขึ้น
ผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบตคือ องค์ทะไลลามะ องค์ปัจจุบัน
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 西藏概况(2007年) [Overview of Tibet (2007)] (ภาษาจีน). People's Government of Tibet Autonomous Region. 11 September 2008. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
- ↑ "National Data". National Bureau of Statistics of China. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 April 2016. สืบค้นเมื่อ 18 December 2015.
- ↑ 西藏自治区2017年国民经济和社会发展统计公报 [Statistical Communiqué of Tibet Autonomous Region on the 2017 National Economic and Social Development] (ภาษาจีน). Statistical Bureau of Tibet Autonomous Region. 15 April 2018. สืบค้นเมื่อ 22 June 2018.
- ↑ "Sub-national HDI – Area Database – Global Data Lab". hdi.globaldatalab.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: เขตปกครองตนเองทิเบต |
เขตปกครองตนเองทิเบต ข้อมูลการท่องเที่ยวจาก วิกิท่องเที่ยว