ราชวงศ์นันทะ
ราชวงศ์นันทะ หรือ จักรวรรดินันทะ (อังกฤษ: Nanda Dynasty) มีรากฐานมาจากแคว้นมคธของอินเดียที่รุ่งเรืองระหว่างศตวรรษที่ 5 จนถึง ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธนนันทะจักรวรรดินันทะมีอาณาบริเวณตั้งแต่รัฐพิหารและเบงกอลทางตะวันออกไปจนถึงแคว้นสินธุและบาลูจิสถานทางตะวันตก[1] จักรวรรดินันทะต่อมาถูกพิชิตโดยพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะผู้ทรงก่อตั้งจักรวรรดิโมริยะ
การก่อตั้งราชวงศ์[แก้]
พระเจ้ามหาปัทมนันทะทรงได้รับการกล่าวขานว่าทรงเป็นผู้ทำลายระบบกษัตริย์ (Kshatriya) ทั้งหมด พระองค์ทรงพิชิตราชวงศ์ต่างๆ และทรงขยายดินแดนจนกระทั่งถึงทางใต้ของเดคคาน และสิ้นพระชนม์เมื่อมีพระชนมายุได้ 88 พรรษา
ราชวงศ์นันทะผู้โค่นราชบัลลังก์ของราชวงศ์ศิศุนาคมีชาติกำเนิดที่ต่ำต้อย บางข้อมูลกล่าวว่าปัทมานันทะเป็นลูกของแม่ที่เป็นศูทร แต่บ้างก็ว่าเป็นลูกของช่างตัดผมกับโสเภณี
ราชอาณาจักรยุคกลางของอินเดีย[แก้]
จักรวรรดิ/ราชอาณาจักร/ราชวงศ์ของยุคกลางของอินเดีย | ||||||||||||
ลำดับเวลา | จักรวรรดิทางตอนเหนือ | จักรวรรดิทางตอนใต้ | จักรวรรดิตะวันตกเฉียงใต้ | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. |
|
|
(ปกครองโดยเปอร์เซีย)
| |||||||||
ประวัติศาสตร์อินเดีย - รัฐสิ้นสภาพในประเทศอินเดีย - รัฐสิ้นสภาพในทวีปเอเชีย |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Radha Kumud Mookerji, Chandragupta Maurya and His Times, 4th ed. (Delhi: Motilal Banarsidass, 1988 [1966]), 31, 28–33.
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์ |