เกาะซาฮาลิน
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | รัสเซียตะวันออกไกล,[1] มหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ |
พิกัด | 51°N 143°E / 51°N 143°E |
พื้นที่ | 72,492 ตารางกิโลเมตร (27,989 ตารางไมล์)[2] |
อันดับพื้นที่ | ที่ 23 |
ระดับสูงสุด | 1,609 ม. (5279 ฟุต) |
จุดสูงสุด | เขาโลปาติน |
การปกครอง | |
รัสเซีย[1] | |
หน่วยองค์ประกอบ | แคว้นซาฮาลิน |
เมืองใหญ่สุด | ยุจโน-ซาฮาลินสค์ (ประชากร 174,203 คน) |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 489,638 (2019) |
ความหนาแน่น | 6/กม.2 (16/ตารางไมล์) |
กลุ่มชาติพันธุ์ | ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย บางส่วนเป็นชาวนิฟค์, ชาวโอโรก และชาวเกาหลี |
ข้อมูลอื่น ๆ | |
เขตเวลา |
ซาฮาลิน (รัสเซีย: Сахали́н) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในประเทศรัสเซีย[3] ตั้งอยู่ทางเหนือของหมู่เกาะญี่ปุ่น และอยู่ภายใต้หน่วยองค์ประกอบแคว้นซาฮาลิน เกาะซาฮาลินอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งอยู่ระหว่างทะเลโอคอตสค์ทางตะวันออก และทะเลญี่ปุ่นทางตะวันตก เกาะนี้ตั้งอยู่ใกล้ดินแดนฮาบารอฟสค์ และอยู่ทางเหนือของเกาะฮกไกโด มีประชากรเกือบ 500,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย ชนพื้นเมืองบนเกาะนี้ได้แก่ ไอนุ, โอโรก และนิฟค์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนน้อยมาก[4]
ชื่อของเกาะมีที่มาจากศัพท์ภาษาแมนจูว่า Sahaliyan (ᠰᠠᡥᠠᠯᡳᠶᠠᠨ) ซาฮาลินเคยเป็นส่วนหนึ่งของจีนในสมัยราชวงศ์ชิง แม้ว่าจะมีการผ่อนคลายต่อควบคุมของจีนในบางครั้ง[5][6] Sภายหลังทั้งรัสเซียและญี่ปุ่นอ้างสิทธิเกาะซาฮาลินในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึง 20 บางครั้งข้อพิพาทนี้นำไปสู่ความขัดแย้งทางทหารและการแบ่งแยกเกาะระหว่างสองอำนาจ ใน ค.ศ. 1875 ญี่ปุ่นยกเลิกการอ้างสิทธิเกาะนี้เพื่อแลกกับหมู่เกาะคูริลตอนเหนือ จากนั้นใน ค.ศ. 1905 หลังสงครามรัสเซีย-ญี่ปุ่น เกาะนี้ถูกแบ่งเป็นสองส่วน โดยซาฮาลินใต้ยกเป็นของญี่ปุ่น ฝ่ายรัสเซียถือครองทั้งเกาะนับตั้งแต่เข้ายึดครองพื้นที่ของญี่ปุ่นในช่วงวันสุดท้ายของสงครามโลกครั้งที่สองใน ค.ศ. 1945 และยึดหมู่เกาะคูริลทั้งหมด ทางญี่ปุ่นไม่ได้อ้างสิทธิเกาะซาฮาลิน แม้ว่าจะยังคงอ้างสิทธิหมู่เกาะคูริลตอนใต้ ชาวไอนุส่วนใหญ่ในซาฮาลินย้ายมาจากเกาะฮกไกโด ซึ่งอยู่ทางใต้ของช่องแคบลาเปรูซ 43 กิโลเมตร (27 ไมล์) หลังพลเมืองชาวญี่ปุ่นย้ายออกจากเกาะใน ค.ศ. 1949[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Sakhalin Island | island, Russia". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Islands by Land Area". Island Directory. United Nations Environment Program. February 18, 1998. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 20, 2018. สืบค้นเมื่อ June 16, 2010.
- ↑ Ros, Miquel (2019-01-02). "Russia's Far East opens up to visitors". CNN Travel (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-01-06.
- ↑ "The Sakhalin Regional Museum: The Indigenous Peoples". Sakh.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 17, 2009. สืบค้นเมื่อ June 16, 2010.
- ↑ Gan, Chunsong (2019). A Concise Reader of Chinese Culture. p. 24. ISBN 9789811388675.
- ↑ Westad, Odd (2012). Restless Empire: China and the World Since 1750. p. 11. ISBN 9780465029365.
- ↑ Reid, Anna (2003). The Shaman's Coat: A Native History of Siberia. New York: Walker & Company. pp. 148–150. ISBN 0-8027-1399-8.