ราชวงศ์ถัง
![]() | บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ถัง 唐 | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 1161–1233 พ.ศ. 1248–1450 | |||||||||||||
![]() อาณาเขตราชวงศ์ถังในปี พ.ศ. 1243 | |||||||||||||
สถานะ | จักรวรรดิ | ||||||||||||
เมืองหลวง | ฉางอัน (พ.ศ. 1161 - 1233, พ.ศ. 1248 - 1447) ลั่วหยาง (พ.ศ. 1447 - 1450) | ||||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาจีน | ||||||||||||
ศาสนา | เต๋า พุทธ ขงจื๊อ | ||||||||||||
การปกครอง | ราชาธิปไตย | ||||||||||||
จักรพรรดิ | |||||||||||||
• พ.ศ. 1161-1170 | จักรพรรดิถังเกาจู่ | ||||||||||||
• พ.ศ. 1227-1233, พ.ศ. 1253-1255 | จักรพรรดิถังรุ่ยจง | ||||||||||||
• พ.ศ. 1447-1450 | จักรพรรดิถังไอ | ||||||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||||||
• การสถาปนาฉางอัน | พ.ศ. 1161 | ||||||||||||
• ราชวงศ์อู่โจวปกครองแทน | พ.ศ. 1233 | ||||||||||||
• ปกครองอีกครั้ง | พ.ศ. 1248 | ||||||||||||
• สิ้นอำนาจ | พ.ศ. 1450 | ||||||||||||
สกุลเงิน | เหรียญจีน, เงินสดจีน | ||||||||||||
|
ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1233, พ.ศ. 1248-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต่ ค.ศ. 618 เมื่อราชวงศ์ถังสถาปนาขึ้นจนถึง ค.ศ. 907 ราชวงศ์ถังถูกจูเวินโค่นลง ราชวงศ์ถัง แบ่งได้เป็นสองช่วงจากการก่อกบฏของอันลู่ซันและสื่อซือหมิง ช่วงแรกเป็นช่วงที่เจริงรุ่งเรือง ช่วงหลังเป็นช่วงที่เสื่อมโทรมลง จักรพรรดิถัง เกาจู่สถาปนาราชวงศ์ถัง หลี่ ซื่อหมิน โอรสของจักรพรรดิถังเกาจู่ได้นำกองทัพรวบรวมจีนเป็นเอกภาพใช้เวลานานถึง 10 ปี หลังจากเหตการณ์ประตูเสียนอู่เหมิน หลี่ซื่อหมินขึ้นครองราชย์จนเป็นจักรพรรดิถังไท่จง จักรพรรดิถังไท่จงบริหารประเทศอย่างแข็งขันจนทำให้ราชวงศ์ถังเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่เคยมีมาก่อน อยู่ในฐานะนำหน้าทั่วโลกในสมัยนั้นทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและด้านอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่า ”ช่วงเจริญรุ่งเรืองรัชสมัยเจินกวน” หลังจากนั้น ในสมัยจักรพรรดิถังเสวียนจงก็เจริญรุ่งเรืองอีกครั้ง เรียกว่า ”ช่วงเจริญรุ่งเรืองรัชสมัยไคหยวน” ประเทศเข้มแข็งเกรียงไกร ประชาชนมีความมั่งคั่ง แต่หลังจากนั้นไม่นาน ในช่วงปลายรัชกาลถังเสวียนจงได้เกิดกบฏอันลู่ซันและสื่อซือหมิง จากนี้เป็นต้นมา ราชวงศ์ถังก็เริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ
ในสมัยราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถัง ระบบการเมืองมีการพัฒนาไปไม่น้อยและมีส่งอิทธิพลต่อยุคหลังมาก เช่นระบบ 3 กระทรวง 6 ฝ่าย ระบบสอบจอหงวนและระบบภาษีเป็นต้น ในด้านการต่างประเทศ ราชวงศ์สุยและราชวงศ์ถังได้ใช้มาตรการที่ค่อนข้างเปิดประเทศ การแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมระหว่างประเทศมีบ่อยครั้ง ในด้านวรรณคดี บทกวีของราชวงศ์ถังมีผลงานอันยิ่งใหญ่ แต่ละช่วงล้วนมีกวียอดเยี่ยมเกิดขึ้น เช่นช่วงต้นของราชวงศ์ถังมีเฉินจื่ออ๋างและหลูปินหวัง ช่วงเจริญรุ่งเรืองของราชวงศ์ถังมีหลี่ไป๋และตู้ฝู่ ช่วงกลางของราชวงศ์ถังมีไป๋จวีอี้และหยวนเจิ่น ช่วงปลายของราชวงศ์ถังมีหลี่ซังอิ่นและตู้มู่ ขบวนการส่งเสริมบทความสมัยโบราณที่หานอวี๋ และหลิ่วจงหยวนริเริ่มมีอิทธิพลต่อคนยุคหลังมาก ลายมือเขียนพู่กันของเอี๋ยนเจินชิง ภาพวาดของหยานลี่เปิ่น อู่เต้าจื่อ หลี่ซือซุ่น และหวางเหวย ชุดระบำที่ชื่อ ”หนีซังอวี่อีอู่” และศิลปะในถ้ำหินต่าง ๆ ได้แพร่หลายจนถึงยุคปัจจุบัน ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิธีการพิมพ์และดินปืน ซึ่งเป็นสองอย่างในสิ่งประดิษฐ์อันยิ่งใหญ่สี่อย่างของจีนก็เกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง
ราชวงศ์ถังช่วงหลังมีความวุ่นวายในด้านการเมือง เกิดการปะทะกันระหว่างพรรคหนิวและพรรคหลี่กับการกุมอำนาจของขุนนางขันที การลุกขึ้นต่อสู้ของชาวนาเกิดขึ้นไม่ขาดสาย ในที่สุด การลุกขึ้นสู้ที่มีผู้นำได้แก่หวงเฉา จูเวินที่เคยเป็นบริวารของหวงเฉา แต่กลับไปยอมจำนนต่อรัฐบาลราชวงศ์ถัง หลังจากนั้น ก็ฉวยโอกาสโค่นราชวงศ์ถังลง ประกาศตนเป็นจักรพรรดิโดยสถาปนาราชวงศ์เหลียงยุคหลังซึ่งเป็นราชวงศ์แรกของสมัยอู่ไต้หรือสมัยห้าราชวงศ์
สมัยโบราณ | |||
ยุคหินใหม่ ประมาณ 8500 – ประมาณ 2070 BCE | |||
เซี่ย ประมาณ 2070 – ประมาณ 1600 BCE | |||
ชาง ประมาณ 1600 – ประมาณ 1046 BCE | |||
โจว ประมาณ 1046 – 256 BCE | |||
โจวตะวันตก | |||
โจวตะวันออก | |||
วสันตสารท | |||
รณรัฐ | |||
สมัยจักรวรรดิ | |||
ฉิน 221–207 BCE | |||
ฮั่น 202 BCE – 220 CE | |||
ฮั่นตะวันตก | |||
ซิน | |||
ฮั่นตะวันออก | |||
ยุคสามก๊ก 220–280 | |||
เว่ย์, ฉู่ และอู๋ | |||
จิ้น 266–420 | |||
จิ้นตะวันตก | |||
จิ้นตะวันออก | สิบหกรัฐ | ||
ราชวงศ์เหนือ-ใต้ 420–589 | |||
สุย 581–618 | |||
ถัง 618–907 | |||
ห้าวงศ์สิบรัฐ 907–979 |
เหลียว 916–1125 เซี่ยตะวันตก 1038–1227 จิน 1115–1234 | ||
ซ่ง 960–1279 | |||
ซ่งเหนือ | |||
ซ่งใต้ | |||
หยวน 1271–1368 | |||
หมิง 1368–1644 | |||
ชิง 1636–1912 | |||
สมัยใหม่ | |||
สาธารณรัฐจีน บนแผ่นดินใหญ่ 1912–1949 | |||
สาธารณรัฐประชาชนจีน 1949–ปัจจุบัน | |||
สาธารณรัฐจีน ในไต้หวัน 1949–ปัจจุบัน | |||
หลี่หยวนตั้งราชวงศ์[แก้]
ในรัชกาลของจักรพรรดิสุยหยางตี้ (隋煬帝)[1][2] เป็นรัชสมัยแห่งการกดขี่ราษฎรและความพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรโคกูรยอของเกาหลีถึงสามครั้งทำให้ผู้คนพากันไม่พอใจรัฐบาลมากขึ้น ในค.ศ. 617 ผู้ว่ามณฑลไท่หยวน (太原) หลี่ยวน (李淵) ซึ่งมีบรรดาศักดิ์เป็น ถังกว๋อกง (唐國公) ได้ยกทัพเข้าบุกยึดเมืองต้าเหิง (大興城) ราชธานีของราชวงศ์สุย ปลดจักรพรรดิหยางตี้ลงจากบัลลังก์เป็นไท่ซ่างหวง (太上皇) แล้วตั้งหยางหยู (楊侑) พระราชนัดดาเป็นจักรพรรดิองค์ต่อไปแทน พระนามว่า จักรพรรดิสุยกงตี้ (隋恭帝) แต่ก็ทรงเป็นเพียงแค่จักรพรรดิหุ่นเชิดอำนาจที่แท้จริงนั้นอยู่ที่หลี่หยวน ซึ่งได้รับพระราชทานเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นถังอ๋อง(唐王) [3][4]
มารดาของหลี่ยวนนั้น เป็นพระเชษฐภคินีของพระจักรพรรดินีตูกู จักรพรรดินีของจักรพรรดิสุยเหวินตี้ ในค.ศ. 618 หลี่หยวนพระเจ้าถังได้ล้มเลิกราชวงศ์สุยและตั้งราชวงศ์ถัง ขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ถัง ภายหลังได้รับพระนามที่พระสุสานว่าจักรพรรดิถังเกาจู่ (唐高祖) คงราชธานีไว้ที่เดิมกับราชวงศ์สุยโดยเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองฉางอัน (長安) รวมทั้งตั้งพระโอรสองค์โตหลี่เจี้ยนเฉิง (李建成) เป็นองค์ชายรัชทายาท และพระโอรสองค์รองหลี่ซื่อหมิน (李世民) เป็นฉินอ๋อง (秦王) พระโอรสองค์ที่สาม หลี่หยวนจี๋ (李元吉) เป็นฉีอ๋อง (齊王) จักรพรรดิถังเกาจู พระโอรสทั้งสองพระองค์และพระธิดาองค์หญิงผิงหยาง (平陽公主) ได้ทำการสู้รบปราบชุมนุมต่าง ๆ ที่ตั้งตนเป็นใหญ่จนสามารถรวมจักรวรรดิจีนได้
พระเจ้าไท่หลี่ซื่อหมินมีพระปรีชาปราบปรามเจ้าท้องถิ่นต่าง ๆ ได้สร้างผลงานไว้มาก เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้วจึงเกิดการแย่งราชสมบัติระหว่างหลี่ซื่อหมินกับองค์ชายรัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง ในค.ศ. 626 ในเหตุการณ์ประตูเสฺวียนอู่ (玄武門) หลี่ซื่อหมินปลงพระชนม์องค์ชายรัชทายาทพระเชษฐาและพระเจ้าพระอนุชา จักรพรรดิเกาจู่พระบิดาจึงทรงไม่อาจทนได้ที่เห็นพระโอรสเข่นฆ่ากันเองจึงทรงสละราชสมบัติเป็นไท่ซ่างหว่าง ให้พระโอรสหลี่ซื่อหมิน เป็นจักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗)
การขยายอำนาจของอาณาจักรถัง[แก้]

การขยายอำนาจของจักรวรรดิถัง:
ทิศเหนือ รบชนะพวกเติร์กมีอำนาจเหนือมองโกเลีย
ทิศตะวันออก มีอำนาจเหนือคาบสมุทรเกาหลี
ทิศตะวันตก รบชนะพวกอุยกูร์(อุ้ยเก้อ)มีอำนาจเหนือซินเจียง,ทุ่งหญ้าสเตปป์,ทะเลสาบแคสเปียน
สถาปัตยกรรม[แก้]
สมัยราชวงศ์ถัง เป็นช่วงที่เศรษฐกิจและวัฒนธรรมในสังคมศักดินาพัฒนาเร็วที่สุด ลักษณะพิเศษของสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังคือมีขนาดใหญ่โต มีระบบระเบียบ ใช้สีไม่ค่อยมากแต่มีลายชัดเจน ในเมืองฉางอันเมืองหลวงสมัยราชวงศ์ถัง (เมืองซีอานในปัจจุบัน) และเมืองลั่วหยางเมืองหลวงทางตะวันออกของราชวงศ์ถังต่างก็เคยสร้างวังหลวงอุทยานและที่ทำการเป็นจำนวนมาก เมืองฉางอันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของโลกในสมัยนั้น วังต้าหมิงในเมืองฉางอันใหญ่มาก เขตซากของวังนี้กว้างกว่ายอดจำนวนพื้นที่วังต้องห้ามสมัยหมิงและชิงในกรุงปักกิ่ง 3 เท่ากว่า ๆ สถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยไม้ในสมัยราชวงศ์ถังสวยมาก วิหารประธานในวัดโฝกวางเขต อู่ไถซาน มณฑลซานซี ก็คือสถาปัตยกรรมสมัยราชวงศ์ถังที่เป็นแบบฉบับ นอกจากนี้สถาปัตยกรรมที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหินในสมัยราชวงศ์ถังก็ได้รับ การพัฒนาอีกขั้นหนึ่ง เจดีย์ห่านใหญ่ เจดีย์ห่านเล็กในเมืองซีอานและเจดีย์เชียนสุน ในเมืองต้าหลี่ต่างก็เป็นเจดีย์ที่สร้างด้วยอิฐและก้อนหิน
วัฒนธรรม[แก้]
![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
บันเทิงคดี[แก้]
- มังกรราชวงศ์ถัง
- มังกรคู่สู้สิบทิศ
- วานรเทพสะท้านฟ้า
- บันทึกปิ่น
- ลำนำรักแห่งฉางอัน
- ตำนานอู่เม่ยเนียง
- สตรีหาญฉางเกอ
- ศึกชิงบัลลังก์ราชวงศ์ถัง
- ศึกบุปผาวังมังกร1-2
- ฉางอัน12ชั่วยาม
- ลำนำรักเคียงบัลลังก์
หนังสือการ์ตูน[แก้]
- ฉางเกอสิง
วรรณกรรม[แก้]
ศาสนาและปรัชญา[แก้]
ในสมัยราชวงศ์ถัง พระเจ้าถังไท่จง ได้โปรดพระกรุณาฯ ให้สมณะเหี้ยนจาง ไปทำการอัญเชิญพระไตรปิฏกมาจากชมพูทวีป อันเป็นการเริ่มต้นของการใช้ เส้นทางสายไหม และก่อเกิดนิยายเรื่อง "ไซอิ๋ว" ในเวลาต่อมา ซึ่งหลังจากที่สมณะเหี้ยนจางรับปากไปอัญเชิญพระไตรปิฏกแล้ว ก็ได้รับการเปลี่ยนนามมาเป็น "พระถังซัมจั๋ง"
สิ่งประดิษฐ์[แก้]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Ebrey, Walthall & Palais 2006, pp. 90–91.
- ↑ Adshead 2004, pp. 40–41.
- ↑ Adshead 2004, p. 40.
- ↑ Graff 2000, p. 78.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ราชวงศ์ถัง |
- ราชวงศ์ถัง Archived 2010-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิพิธภัณฑ์ออนไลน์ที่มหาวิทยาลัยมินเนโซตาสเตท (อังกฤษ)
- ราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618–907)
ก่อนหน้า | ราชวงศ์ถัง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์สุย | ![]() |
ราชวงศ์ในประวัติศาสตร์จีน (ค.ศ. 618–907) |
![]() |
ยุคห้าวงศ์สิบรัฐ |