จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
![]() | ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ | ||||||||||||||||||||
Sacrum Imperium Romanum | ||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||
แผนที่จักรวรรดิ์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ค.ศ. 962-1806
| ||||||||||||||||||||
เมืองหลวง | ไม่มีอย่างเป็นทางการ; นครศูนย์กลางอำนาจมีหลากหลายตลอดประวัติศาสตร์ | |||||||||||||||||||
ภาษา | ละติน เยอรมัน อิตาลี เช็ก ดัตช์ ฝรั่งเศส สโลวีเนีย และอื่น ๆ | |||||||||||||||||||
ศาสนา | โรมันคาทอลิก | |||||||||||||||||||
รัฐบาล | ราชาธิปไตยโดยเลือกตั้ง | |||||||||||||||||||
จักรพรรดิ | ||||||||||||||||||||
- | ค.ศ. 962-967 | ออทโทที่ 1 | ||||||||||||||||||
- | ค.ศ. 1027-1039 | คอนราดที่ 2 | ||||||||||||||||||
- | ค.ศ. 1530-1556 | ชาลส์ที่ 5 | ||||||||||||||||||
- | ค.ศ. 1637-1657 | แฟร์ดีนันด์ที่ 3 | ||||||||||||||||||
- | ค.ศ. 1792-1806 | ฟรันซ์ที่ 2 | ||||||||||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สมัยกลาง-สมัยใหม่ตอนต้น | |||||||||||||||||||
- | จักรพรรดิออทโทที่ 1 ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอิตาลี | 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 962 | ||||||||||||||||||
- | จักรพรรดิคอนราดที่ 2 ครองแคว้นบูร์กอญ | ค.ศ. 1034 | ||||||||||||||||||
- | สนธิสัญญาสันติภาพเอาก์สบูร์ก | 25 กันยายน ค.ศ. 1555 | ||||||||||||||||||
- | สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย | 24 ตุลาคม ค.ศ. 1648 | ||||||||||||||||||
- | จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ยุบจักรวรรดิ | 6 สิงหาคม 1806 | ||||||||||||||||||
|
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, เยอรมัน: Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1806 โดย ราชอาณาจักรเยอรมนีถือเป็นดินแดนที่ใหญ่ที่สุดในบรรดา 962 ดินแดนในจักรวรรดิ รองลงมาคือ ราชอาณาจักรโบฮีเมีย, ราชอาณาจักรบูร์กอญ, ราชอาณาจักรอิตาลี
ในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 800 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกให้ชาร์เลอมาญ กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันโดยปกครองดินแดนทั้งหมดในยุโรปตะวันตก ลูกหลานของชาร์เลอมาญก็ได้สืบทอดบัลลังก์นี้ไปจนถึง ค.ศ. 899 หลังจากนั้นบัลลังก์แห่งแฟรงก์ก็ตกไปเป็นของผู้ปกครองชาวอิตาลีจนถึง ค.ศ. 924 บัลลังก์ได้ว่างลงเป็นระยะเวลากว่า 38 ปี จนเมื่อพระเจ้าออทโทแห่งเยอรมนีสามารถพิชิตอิตาลีได้ พระองค์ก็เจริญรอยตามชาร์เลอมาญ[1] โดยให้พระสันตะปาปาประกอบพิธีราชาภิเษกพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 962 เป็นจุดเริ่มต้นของจักรวรรดิซึ่งจะดำรงอยู่กว่าแปดศตวรรษจากนี้[2]
เนื่องจากจักรวรรดินี้ดำรงอยู่เป็นระยะเวลากว่าแปดร้อยปี ดินแดนของจักรวรรดิจึงแปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลาในประวัติศาสตร์ ดินแดนในจักรวรรดิมีหลายฐานะ ตั้งแต่ ราชอาณาจักร, ราชรัฐ, ดัชชี, เคาน์ตี, เสรีนคร และอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเยอรมนี, ออสเตรีย, ลิกเตนสไตน์, สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก, สาธารณรัฐเช็ก, สโลวีเนีย, บางส่วนในอิตาลี, บางส่วนในฝรั่งเศส, บางส่วนในโปแลนด์
เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ อาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะทำสงครามรุกรานขยายอาณาเขตได้อีกต่อไป การดำรงอยู่ของจักรวรรดิ์กลายเป็นเรื่องของการรักษาสันติภาพและความมั่นคงภายใน โดยตัวจักรวรรดิมีหน้าที่คอยแก้ไขปมขัดแย้งระหว่างรัฐใต้ปกครองโดยทางสันติวิธี และรัฐใต้ปกครองก็มีผลประโยชน์ร่วมกันที่จะรักษาจักรวรรดิไว้จากพฤติกรรมที่คาดเดาไม่ได้ของเหล่าผู้ปกครองด้วยกัน โดยเฉพาะรัฐเล็กๆที่มีความทะเยอทะยานแบบจักรวรรดินิยม ฯ บทบาทในการรักษาสันติของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จึงมีส่วนสำคัญในการช่วยให้สันติภาพเวสต์ฟาเลีย ปี ค.ศ. 1648 ดำเนินไปได้โดยราบรื่น
หลังพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศสในยุทธการที่เอาสเทอร์ลิทซ์ในปี ค.ศ. 1805 จักรวรรดิได้สูญเสียรัฐต่าง ๆ ไปจำนวนมากแก่ฝรั่งเศส ในการนี้ จักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศสได้เอารัฐที่ยึดมาได้จัดตั้งขึ้นเป็นสมาพันธรัฐแห่งแม่น้ำไรน์ ส่งผลให้จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตัดสินใจยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1806 และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน
เนื้อหา
ที่มาของชื่อ[แก้]
หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกในปี ค.ศ. 476 จากการสละราชสมบัติของจักรพรรดิโรมุลุส เอากุสตุส ดินแดนของชาวโรมันก็แตกออกเป็นดินแดนน้อยใหญ่มากมาย สามร้อยกว่าปีให้หลัง ชาร์เลอมาญก็สามารถรวบรวมดินแดนของโรมันกลับมาเป็นหนึ่งได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 800 โดยมีชื่อในระยะแรกนี้เพียงแค่ว่า "จักรวรรดิโรมัน" (Roman Empire) มาจนถึงราวปี ค.ศ. 1157[3] ต่อมาเมื่อจักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 สามารถปกครองอิตาลีและวาติกันได้ จักรวรรดิก็ถูกเรียกว่า "จักรวรรดิอันศักดิ์สิทธิ์" (Holy Empire)[4] ซึ่งได้พัฒนาไปเป็นคำว่า "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" ที่เริ่มปรากฏตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นต้นมา[5]
ใน ค.ศ. 1512 สภานิติบัญญัติแห่งโคโลญได้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นมา โดยได้เปลี่ยนชื่อเป็น จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชนชาติเยอรมัน (เยอรมัน: Heiliges Römisches Reich Deutscher Nation)[6][7] ซึ่งสะท้อนถึงสภาวะการเมืองของจักรวรรดิซึ่งได้สูญเสียอาณาเขตเหนืออิตาลีและเบอร์กันดีไปจนเกือบหมดในช่วงปลาย ศ. ที่ 15[8] ชื่อนี้เป็นชื่อที่ปรากฏในเอกสารบางฉบับมาตั้งแต่ ค.ศ. 1474[4] และถูกใช้งานจนถึงปลายคริตส์ศตวรรษที่ 18 ก็เป็นอันเลิกใช้
สภาพของจักรวรรดิ[แก้]
จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์นั้นตั้งอยู่ในความไม่สงบของเหล่าขุนนางในแต่ละท้องที่ ที่พยายามจะแยกออกจากจักรวรรดิ เพื่อที่จะไปตั้งอำนาจของรัฐปกครองตนเองแบบฝรั่งเศสและอังกฤษ จักรพรรดิไม่มีอำนาจที่จะควบคุมท้องที่ ที่มีเหล่าขุนนางปกครอง จักรพรรดิจึงอนุญาตให้เหล่าขุนนางและเหล่าบิชอปปกครองอย่างอิสระได้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11
ดินแดนของจักรวรรดิ[แก้]
หลังการปฏิรูปจักรวรรดิ ดินแดนที่อยู่ภายใต้พระบรมเดชานุภาพของจักรพรรดิแบ่งอย่างกว้างได้เป็นสามกลุ่ม:
- ราชรัฐ เป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การปกครองของเจ้าสืบตระกูล เช่น แกรนด์ดยุก, ดยุก, มาร์เกรฟ หรือ เคานต์
- สังฆารัฐ เป็นดินแดนที่ปกครองโดยนักบวชของคริสตจักรโรมันคาทอลิก นักบวชเหล่านี้อาจมีตำแหน่งเป็น มุขนายก, อัครมุขนายก หรือ เจ้าชายมุขนายก
- เสรีนคร เป็นเมืองที่ได้รับอิมพีเรียลอิมมีเดียซี เจ้าผู้ครองเมืองจะขึ้นตรงต่อจักรพรรดิ ไม่ต้องขึ้นต่อเจ้าอื่นๆ เจ้าผู้ครองเสรีนครอาจมีตำแหน่งเป็น เจ้าชาย หรือ ดยุก
ดินแดนทั้งหมดมีจำนวนมากถึง 300 รัฐ บางรัฐมีพื้นที่ไม่กี่ตารางไมล์เท่านั้น
สภาจักรวรรดิ[แก้]
ราชสภา (เยอรมัน: Reichstag หรือ Reichsversammlung) เป็นองค์กรนิติบัญญัติ มีหน้าที่ออกกฎหมาย และจัดการเลือกตั้ง แบ่งได้เป็น 3 สภาคือ:
- สภาเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก ประกอบด้วยเจ้าผู้ปกครองรัฐทั้ง 7 มีหน้าที่ลงมติรับรองจักรพรรดิองค์ใหม่
- สภาเครือราชรัฐ ประกอบด้วยผู้ปกครองรัฐที่มิได้มีตำแหน่งตามข้อ 1.
- สภาของเครือเสรีนคร ประกอบด้วยผู้ปกครองเมืองที่มีสถานะเป็นเสรีนคร
ศาล[แก้]
ศาลยุติธรรมมี 2 ประเภทได้แก่ ศาลหลวง (Reichshofrat) กับ ศาลคดีแห่งจักรวรรดิ (Reichskammergericht) ซึ่งก่อตั้งพร้อมกับการปฏิรูปจักรวรรดิเมื่อปี ค.ศ. 1495
เครือราชรัฐ[แก้]
เครือราชรัฐ (Reichskreise)เกิดขึ้นหลังจากการปฏิรูปจักรวรรดิ ซึ่งเริ่มโดยการก่อตั้งเป็นหกเครือ ในปี ค.ศ. 1500 และต่อมาขยายเป็น 10 เครือในปี ค.ศ. 1512 แต่ละเครือมีหน้าที่ดูแลเฉพาะแคว้นที่อยู่ของแต่ละเครือ มีหน้าที่คล้ายรัฐบาลท้องถิ่น
ประวัติศาสตร์[แก้]

เมื่ออำนาจของจักรวรรดิโรมันในดินแดนกอลเสื่อมลงในราวคริสศตวรรษ ที่ 5 ชนเผ่าพื้นเยอรมันเมืองจึงเข้าครองอำนาจ[9] พระเจ้าโคลวิสที่ 1 และผู้สืบทอดของราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง เข้ารวบรวมชนเผ่าชาวแฟรงค์และขยายเขตอำนาจครอบคลุมพื้นที่ดินแดนกอลตอนเหนือ และตอนกลางของลุ่มแม่น้ำไรน์[10] อย่างไรก็ดีราชวงศ์เมโรแว็งเฌียงเสื่อมอำนาจลงราวช่วงกลางศตวรรษ ที่ 8 และอำนาจปกครองตกเป็นของตระกูลกาโรแล็งเฌียง ซึ่งนำโดยชาร์ล มาร์แตล[11] ต่อมา เปแปง บุตรของมาร์แตล ได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ของชนชาวแฟรงค์และต่อมาได้รับการสถาปนาโดยพระสันตปาปา[12] ราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงจึงเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับศาสนจักรมานับแต่นั้น[13]
พระเจ้าชาร์เลอมาญ (หรือ พระเจ้าคาร์ลมหาราช) ได้ครองราชต่อจากพระราชบิดา (เปแปง) ในปี ค.ศ. 768 และเริ่มทำสงครามขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวาง ราชอาณาจักรแฟรงก์ภายใต้ชาร์เลอมาญมีดินแดนครอบคลุมพื้นที่ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี และทางตอนเหนือของอิตาลี[14] ในวันคริสต์มาสปี ค.ศ. 800 สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงครอบมงกุฏสถาปนาให้ชาร์เลอมาญเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งโรม ซึ่งเป็นการฟื้นฟูราชอิสริยยศดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรกนับแต่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลงเมื่อ 300 ปีก่อนหน้า[15]
ต้นกำเนิด[แก้]

ตามขนบธรรมเนียมของชาวแฟรงก์ เมื่อจักรพรรดิชาร์เลอมาญสิ้นพระชนม์ ได้แบ่งปันส่วนของดินแดนให้กับราชบุตรราชวงศ์แคโรลีเจี้ยนทั้ง 3 พระองค์ โดยราชบุตรของชาร์เลอมาญ หลุยส์ เดอะ ไพอัส ได้สืบทอดมงกุฏพระจักรพรรดิ ในยุคต่อมามีการตกลงกันตามสนธิสัญญาแห่งแวร์เดิงในปี ค.ศ. 843 อาณาจักรแฟรงก์จึงแยกออกไปเป็น 3 ดินแดน โดยพระเจ้าชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้านได้ครอบครองดินแดนฝั่งตะวันตกไปจนถึงแม่น้ำเมิซ ฝ่ายโลทาร์ที่ 1 ได้ครอบครองอาณาจักรส่วนกลางอันครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่ทะเลเหนือจนไปถึงที่ตั้งอันทรงเกียรติของกรุงโรม ส่วนลุดวิกชาวเยอรมันได้รับอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกไปครอง ฯ พระเจ้าคาร์ลผู้อ้วนท้วนสามารถรวบรวมอาณาจักรเข้าเป็นหนึ่งได้ใน ปี 887 แต่ก็เพียงชั่วขณะ เพราะเมื่อทรงสวรรคตใน ปี ค.ศ. 888 อาณาจักรกาโรแล็งเฌียงก็แตกออกจากกันอีกและไม่อาจรวมกันได้อีกเลย ส่วนกลางของจักรวรรดิแตกออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ รวมทั้งตอนบนและล่างของบูรกองญ กับอิตาลี ซึ่งปกครองด้วยกษัตริย์ที่มิได้มีเชื้อสายราชวงศ์กาโรแล็งเฌียง (แต่ได้รับการหนุนหลังจากชนชั้นสูงในท้องถิ่น)[16]
ทางฝ่ายอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกก็เผชิญกับปัญหาเดียวกัน และเกือบต้องแตกออกเป็นดินแดนเล็กน้อย แต่ยุติวิกฤติลงได้เมื่อเหล่าผู้ปกครองดัชชีแว่นแคว้นทั้ง 5 ของอาณาจักร ได้แก่ อาลีแมนเนีย บาวาเรีย ฟรานเซีย และแซกซอนี ได้เลือก คอนราด ดยุกแห่งฟรังโกเนีย ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกในปี ค.ศ. 911 โดยเป็นกษัตริย์พระองค์แรกที่ไม่ได้ทรงมีเชื้อสายกษัตริย์แฟรงก์ แต่รัชสมัยของพระองค์ก็เต็มไปด้วยการรบพุ่งเพื่อแย่งชิงอำนาจภายใน พระเจ้าคอนราดเองต้องสิ้นพระชนม์เพราะได้รับบาดเจ็บในสงครามปราบพวกดยุกแว่นแคว้น ก่อนสิ้นใจพระองค์มอบราชบัลลังก์ให้แก่ ดยุกแห่งแซกซอนี ผู้กลายมาเป็น พระเจ้าไฮน์ริชที่ 1 แห่งเยอรมนี (ครองราชย์ ค.ศ. 919 - 936)
และผู้สืบทอดตำแหน่งของเขาคือ เฮนรี่ที่ 1 ชาวแซ็กซอนได้ยอมรับส่วนที่เหลือของอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกในปี ค.ศ. 919 (แต่อาณาจักรตะวันตกยังถูกปกครองโดยราชวงศ์กอรอแล็งเฌียง) และสถาปนาตนเองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ตะวันออกและกำเนิดราชวงศ์ออทโทเนียน
จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 1 ต้องการให้พระราชโอรส ออทโท เป็นผู้สืบพระราชสมบัติ และทำการพระราชอภิเษกกับราชินีหม้ายแห่งอิตาลี เพื่อที่จะได้เป็นกษัตริย์ทั้ง 2 อาณาจักร (แฟรงก์ตะวันออก และอิตาลี) และต่อมา พระราชโอรสออทโทได้สถาปนาตนเองขึ้นครองราชย์เป็น "จักรพรรดิออทโทที่ 1 มหาราชแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์"
ส่วนที่เหลือในปัจจุบัน[แก้]
ในปัจจุบันนี้ยังมีรัฐที่เป็นส่วนที่เหลือของจักรวรรดิคือประเทศลิกเตนสไตน์ ซึ่งอยู่ระหว่างสวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย
ในปัจจุบันยังมีผู้ที่มีสิทธิ์ครองบัลลังก์ตามเชื้อสายของจักรวรรดิ คือคาร์ล ฟอน ฮับส์บูร์กแต่ตำแหน่งจักรพรรดินั้นได้ยกเลิกไปแล้ว
อาณาจักรที่สืบทอดอำนาจต่อ[แก้]
หลังจากการสิ้นสุดสงครามนโปเลียน ราชสภาเยอรมันได้ก่อตั้งขึ้นในปี 1815 และสิ้นสุดในปี 1866 เมื่ออาณาจักรปรัสเซียได้รวบรวมเยอรมันได้ในปี 1871
ประวัติศาสตร์[แก้]
- ประวัติศาสตร์เยอรมนี
- ประวัติศาสตร์ออสเตรีย
- ประวัติศาสตร์ลิกเตนสไตน์
- ประวัติศาสตร์เนเธอร์แลนด์
- ประวัติศาสตร์สวิตเซอร์แลนด์
- ประวัติศาสตร์อิตาลี
- ประวัติศาสตร์โปแลนด์
- ประวัติศาสตร์สโลวิเนีย
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Norman F. Cantor (1993), Civilization of the Middle Ages, pp. 212–215
- ↑ Bamber Gascoigne. "History of the Holy Roman Empire". HistoryWorld.
- ↑ Peter Hamish Wilson, The Holy Roman Empire, 1495–1806, MacMillan Press 1999, London, p. 2.
- ↑ 4.0 4.1 Whaley 2011, p. 17
- ↑ Peter Moraw, Heiliges Reich, in: Lexikon des Mittelalters, Munich & Zürich: Artemis 1977–1999, vol. 4, col. 2025–2028.
- ↑ Peter Hamish Wilson, The Holy Roman Empire, 1495–1806, MacMillan Press 1999, London, page 2; The Holy Roman Empire of the German Nation at the Embassy of the Federal Republic of Germany in London website Archived 29 February 2012 at the Wayback Machine.
- ↑ "History of The Holy Roman Empire". historyworld. สืบค้นเมื่อ 28 June 2013.
- ↑ Whaley 2011, pp. 19-20.
- ↑ Matthew Innes, State and Society in the Early Middle Ages: The Middle Rhine Valley, 400–1000 (Cambridge, 2004), pp.167-170.
- ↑ Norman Davies, A History of Europe (Oxford, 1996), pp.232, 234
- ↑ James Bryce, The Holy Roman Empire (The MacMillan Company, 1913), pp.35-36,38
- ↑ Rosamond McKitterick, The Frankish Kingdoms under the Carolingians, 751-987 (1983), pp.48-50.
- ↑ Bryce (1913), pp.38-42
- ↑ George C. Kohn, Dictionary of Wars (2007), pp.113-114.
- ↑ Bryce (1913), pp.44, 50-52
- ↑ Paul Collins, The Birth of the West: Rome, Germany, France, and the Creation of Europe in the Tenth Century (New York, 2013), p.131.
บรรณานุกรม[แก้]
- Arnold, Benjamin, Princes and Territories in Medieval Germany. (Cambridge University Press, 1991).
- Bryce, James, The Holy Roman Empire (The MacMillan Company, 1913).
- Coy, Jason Phillip et al. The Holy Roman Empire, Reconsidered, (Berghahn Books, 2010).
- Davies, Norman, A History of Europe (Oxford, 1996)
- Donaldson, George. Germany: A Complete History (Gotham Books, New York, 1985)
- Evans, R. J. W., and Peter H. Wilson, eds. The Holy Roman Empire 1495–1806 (2011); specialized topical essays by scholars
- Hahn, Hans Joachim. German thought and culture: From the Holy Roman Empire to the present day (Manchester UP, 1995).
- Heer, Friedrich. Holy Roman Empire (2002), scholarly survey
- Hoyt, Robert S. and Chodorow, Stanley, Europe in the Middle Ages (New York: Harcourt Brace Jovanovich, 1976)
- Renna, Thomas. "The Holy Roman Empire was Neither Holy, Nor Roman, Nor an Empire" Michigan Academician 42.1 (2015): 60-75 deals with Voltaire's statement
- Scribner, Bob. Germany: A New Social and Economic History, Vol. 1: 1450–1630 (1995)
- Treasure, Geoffrey. The Making of Modern Europe, 1648–1780 (3rd ed. 2003). pp 374-426.
- Whaley, Joachim. Germany and the Holy Roman Empire, Volumes 1 and 2, (Oxford UP, 2012)
- Wilson, Peter H. Heart of Europe: A History of the Holy Roman Empire (2016), long scholarly interpretive history
- Wilson, Peter H. The Holy Roman Empire 1495–1806 (2011), 156 pages; short summary by scholar
- Zophy, Jonathan W. ed., The Holy Roman Empire: A Dictionary Handbook (Greenwood Press, 1980)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: Holy Roman Empire |
- The constitutional structure of the Reich
- Das Heilige Reich (German Museum of History, Berlin)
- List of Wars of the Holy Roman Empire
- Deutschland beim Tode Kaiser Karls IV. 1378 (Germany at the death of emperor Charles IV.) taken from "Meyers Kleines Konversationslexikon in sechs Bänden. Bd. 2. Leipzig u. Wien : Bibliogr. Institut 1908", map inserted after page 342
- Books and articles on the Reich
- The Holy Roman Empire
แผนที่[แก้]
- The Holy Roman Empire, 1138-1254
- The Holy Roman Empire in 1398
- The Holy Roman Empire in 1547
- The Holy Roman Empire in 1648
- The Holy Roman Empire in 1789 (Interactive map)
|
|
|
|