การจับสลาก
หน้าตา
ส่วนหนึ่งของชุดการเมือง |
ระบอบการปกครอง พื้นฐาน |
---|
รายชื่อระบอบการปกครอง รายชื่อประเทศตามระบอบการปกครอง |
สถานีย่อยการเมือง |
ในวิธีการปกครอง การจับสลาก (อังกฤษ: sortition, demarchy, stochocracy) เป็นการเลือกข้าราชการการเมืองจากการสุ่มตัวอย่างผู้สมัคร[1] ระบบนี้ตั้งใจรับประกันว่าภาคีที่มีความสนใจและมีความสามารถทุกฝ่ายจะมีโอกาสเท่ากันในการรับตำแหน่งสาธารณะ นอกจากนี้ยังลดการแบ่งฝักแบ่งฝ่าย เพราะไม่มีประโยชน์ในการให้คำสัญญาแก่เขตเลือกตั้งสำคัญหากผู้ดำรงตำแหน่งมาจากการจับสลาก[2] ในประชาธิปไตยแบบเอเธนส์โบราณ การจับสลากเป็นวิธีการตามประเพณีและวิธีการหลักในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งการเมือง และถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของประชาธิปไตย[3]
ปัจจุบันการจับสลากใช้เพื่อเลือกคณะลูกขุนในระบบคอมมอนลอว์ และบางทีใช้ในการจัดกลุ่มพลเมืองที่มีอำนาจให้คำปรึกษาทางการเมือง เช่น ลูกขุนพลเมือง หรือสมัชชาพลเมือง[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Landemore, Hélène (January 15, 2010). Deliberation, Representation, and the Epistemic Function of Parliamentary Assemblies: a Burkean Argument in Favor of Descriptive Representation (PDF). International Conference on “Democracy as Idea and Practice,” University of Oslo, Oslo January 13–15, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-08.
- ↑ Graeber, David (2013-04-09). The Democracy Project: A History, a Crisis, a Movement. Random House Inc. pp. 957–959. ISBN 978-0-679-64600-6. สืบค้นเมื่อ 1 October 2018.
- ↑ Headlam, James Wycliffe (1891). Election by Lot at Athens. p. 12.
- ↑ Fishkin, James (2009). When the People Speak: Deliberative Democracy & Public Consultation. Oxford: Oxford University Press. ISBN 978-0199604432.