การยึดครองกรีซของฝ่ายอักษะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การยึดครองกรีซโดยนาซีเยอรมนี, อิตาลี, และบัลแกเรีย
เขตการยึดครองสามส่วน สีน้ำตาลหมายถึง อิตาลี, สีแดง เยอรมัน และสีเขียว ดินแดนที่ถูกผนวกโดย บัลแกเรีย. เขตอิตาลีได้ถูกยึดครองโดยเยอรมันในเดือนกันยายน ค.ศ. 1943.
ค.ศ. 1941. ทหารเยอรมันได้ชักธงศึกเยอรมันเหนืออัครปุระ Manolis Glezos และ Apostolos Santas ชักธงลงในช่วงแรกของการต่อต้าน
ค.ศ.1944. นายกรัฐมนตรี Georgios Papandreou และคนอื่นๆบนอัครปุระ ภายหลังได้รับการปลดปล่อยจากนาซี

การยึดครองกรีซโดยฝ่ายอักษะ(กรีก: Η Κατοχή, I Katochi, หมายถึง "การยึดครอง") เริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 ภายหลังนาซีเยอรมนีเข้ารุกรานกรีซ เพื่อช่วยเหลือพันธมิตรของตน, ฟาสซิสต์อิตาลี ซึ่งได้เคยทำสงครามกับกรีซมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 ภายหลังจากพิชิตเกาะครีตได้ แผ่นดินทั้งหมดของกรีซได้ถูกยึดครองโดยมิถุนายน ค.ศ. 1941 การยึดครองในแผ่นดินใหญ่ยังคงดำเนินต่อไปจนกระทั่งเยอรมนีและบัลแกเรียที่เป็นพันธมิตรได้ถูกบังคับให้ถอนกำลังภายใต้แรงผลักดันของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงต้นเดือนตุลาคม อย่างไรก็ตาม ทหารรักษาการณ์ของเยอรมันที่เหลือยังอยู่ควบคุมในเกาะครีตและบางส่วนอื่นๆของหมู่เกาะอีเจียนจนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองในยุโรปได้ยุติลง การยอมจำนนทั่วทั้งเกาะในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน ค.ศ. 1945

ฟาสซิสต์อิตาลีได้เริ่มประกาศสงครามและเข้ารุกรานกรีซในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1940 แต่กองทัพเฮลเลนิกได้เริ่มจัดการเพื่อผลักดันกองกำลังฝ่ายรุกรานเข้าไปยังอัลแบเนียที่อยู่ใกล้เคียง ประเทศอารักขาของอิตาลี นาซีเยอรมนีได้เข้ามาแทรกแซงพันธมิตรของตนในยุโรปตอนใต้ ในขณะที่ส่วนใหญ่ของกองทัพเฮลเลนิกถูกทำให้สับสนบนแนวรบอัลแบเนียเพื่อป้องกันการโจมตีตอบโต้กลับแบบไม่หยุดหย่อนของอิตาลี การทัพบลิทซ์ครีกอย่างรวดเร็วของเยอรมันได้เริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941 และเดือนมิถุนายน(ด้วยการพิชิตเกาะครีต) กรีซต้องประสบความปราชัยและถูกยึดครอง ด้วยผลลัพธ์ รัฐบาลกรีกได้ลี้ภัยออกนอกประเทศและจัดตั้งรัฐบาลผลัดถิ่น และรัฐบาลหุ่นเชิดที่ให้ความร่วมมือต่อฝ่ายอักษะได้ถูกจัดตั้งขึ้นในประะเทศ นอกจากนี้ ดินแดนกรีซได้ถูกแบ่งออกเป็นเขตการยึดครองที่ดำเนินการโดยฝ่ายอักษะ ด้วยการดำเนินการของเยอรมันเพื่อบริหารการปกครองภูมิภาคที่สำคัญที่สุดของประเทศ อย่างเช่น เอเธนส์ เทสซาโลนีกี และส่วนใหญ่ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ในหมู่เกาะอีเจียน ส่วนภูมิภาคอื่นๆของประเทศได้ยกให้แก่ประเทศที่ร่วมมือกับเยอรมัน อิตาลีและบัลแกเรีย

การยึดครองครั้งนี้ได้ทำลายเศรษฐกิจของกรีกและส่งผลกระทบอย่างยากลำบากสาหัสสำหรับประชาชนพลเรือนชาวกรีก[1] อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ของกรีซได้ถูกทำลายอย่างมากมายมหาศาล(เพียง 80% ที่ถูกทำลาย) โครงสร้างพื้นฐาน(เพียง 28% ที่ถูกทำลาย) ท่าเรือ ถนน รางรถไฟ และสะพาน(90%) ป่าไม้และทรัพยากรอื่นๆทางธรรมชาติ(25%)[2][3][4] และการสูญเสียของชีวิตพลเรือน(7.02% – 11.17% ของประชากร)[5][6] พลเรือนทั้งหมด 40,000 คน ได้ตายในกรุงเอเธนส์เพียงลำพังจากความอดอยาก อีกนับหมื่นคนได้เสียชีวิตลงเพราะการล้างแค้นจากพวกนาซีและผู้ที่ให้ความร่วมมือ[7]

ประชากรชาวยิวในกรีซได้ถูกกำจัดเกือบหมดสิ้น ด้วยจำนวนประชากรก่อนการยึดครองมีประมาณ 72,000 คน, เพียง 12,000 คน (16.66 %) ที่รอดชีวิต โดยแต่ละคนได้เข้าร่วมขบวนการต่อต้านหรือซ่อนตัว ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ได้ถูกเนรเทศไปยังค่ายเอาชวิตซ์ ในขณะที่พวกที่อยู่ในเทรซ ภายใต้การยึดครองของบัลแกเรีย ได้ถูกส่งไปยังค่ายเทรบลิงคา อิตาลีไม่ได้ทำการขับไล่เนรเทศชาวยิวที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ตนควบคุม แต่เมื่อเยอรมันได้เข้ายึดครอง ชาวยิวที่อาศัยอยู่นั้นต้องถูกขับไล่เนรเทศ

ในเวลาเดียวกัน ขบวนการต่อต้านกรีก หนึ่งในขบวนการต่อต้านที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในยุโรปที่ถูกยึดครอง,[ต้องการอ้างอิง]ได้ถูกจัดตั้งขึ้น กลุ่มขบวนการต่อต้านเหล่านี้ได้เปิดฉากการโจมตีเยี่ยงกองโจรเข้าปะทะกับอำนาจฝ่ายยึดครอง ต่อสู้เข้าปะทะกับกองพันทหารรักษาความปลอดภัย (Security Battalions) กองกำลังกรีกที่เป็นฝ่ายผู้ที่ให้ความร่วมมือ และจัดตั้งเครือข่ายหน่วยสืบราชการลับขนาดใหญ่ โดยช่วงปลายปี ค.ศ. 1943 กลุ่มขบวนการต่อต้านได้เริ่มต้นต่อสู้อย่างจริงจัง เมื่อแผ่นดินใหญ่ได้รับการปลดปล่อยได้เกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1944 กรีซได้ตกอยู่ในสถานะของขั้วอำนาจทางการเมืองที่รุนแรง ซึ่งเร็วๆนี้ได้นำไปสู่การแพร่ระบาดของสงครามกลางเมือง ภายหลังสงครามกลางเมืองได้เปิดโอกาสให้กับผู้ที่ให้ความร่วมมือกับนาซีที่โดดเด่นจำนวนมากไม่เพียงแต่จะหลบหนีการรับโทษ (กลายเป็นฝ่ายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์) แต่ในท้ายที่สุดแล้วได้กลายเป็นชนชั้นปกครองของกรีซหลังสงคราม ภายหลังจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้พ่ายแพ้[8][9]

รัฐบาลกรีกได้เอ่ยอ้างในปี ค.ศ. 2014 ว่าขบวนการต่อต้านกรีกได้ทำการสังหารทหารฝ่ายอักษะไป 21,087 นาย (ทหารเยอรมัน 17,536 นาย, ทหารอิตาลี 2,739 นาย และทหารบัลแกเรีย 1,532 นาย) และจับกุมได้ประมาณ 6,463 นาย (ทหารเยอรมัน 2,102 นาย, ทหารอิตาลี 2,109 นาย และทหารบัลแกเรีย 2,252 นาย) จากจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 20,650 คนของพลพรรคผู้ต่อต้านของกรีกและจำนวนนิรนามที่ถูกจับกุม จำนวนตัวเลขเหล่าอาจเกินความเป็นจริง[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. Martin Seckendorf; Günter Keber; u.a.; Bundesarchiv (Hrsg.): Die Okkupationspolitik des deutschen Faschismus in Jugoslawien, Griechenland, Albanien, Italien und Ungarn (1941-1945) Hüthig, Berlin 1992; Decker/ Müller, Heidelberg 2000. Reihe: Europa unterm Hakenkreuz Band 6, ISBN 3-8226-1892-6
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-21. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-09. สืบค้นเมื่อ 2018-05-26.
  4. http://www.newsbeast.gr/greece/arthro/796214/oi-megales-katastrofes-kai-to-germaniko-hreos-stin-ellada-mesa-apo-dokoumeda
  5. "Council for Reparations from Germany, Black Book of the Occupation(In Greek and German) Athens 2006 p. 1018-1019" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-21. สืบค้นเมื่อ 2011-06-15.
  6. Gregory, Frumkin. Population Changes in Europe Since 1939, Geneva 1951. pp. 89-91
  7. Mazower (2001), p. 155
  8. Giannis Katris, The Birth of Neofascism in Greece, 1971
  9. Andreas Papandreou, Democracy at Gunpoint (Η Δημοκρατία στο απόσπασμα)
  10. "Council for Reparations from Germany, Black Book of the Occupation (in Greek and German), Athens 2006, p. 125-126" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 31, 2014. สืบค้นเมื่อ March 4, 2016.