ประชา ประสพดี
ประชา ประสพดี | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | ฐานิสร์ เทียนทอง ชูชาติ หาญสวัสดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2503 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | นันทวรรณ ประสพดี |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองอาสารักษาดินแดน |
ประจำการ | พ.ศ. 2556 - ปัจจุบัน |
ยศ | นายกองเอก |
ประชา ประสพดี (เกิด 31 ตุลาคม พ.ศ. 2503) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ เขต 7 สังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]นายกองเอก ดร.ประชา ประสพดี เกิดเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายประนอม และนางสมสมัย ประสพดี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม ปริญญาโท นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ด้านประวัติครอบครัวสมรสกับนางนันทวรรณ มีบุตร 1 คน มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 3 คน ได้แก่นางนฤมล ธารดำรงค์ อดีต ส.ส. สมุทรปราการ พรรคพลังประชาชน น้องสาว และพันตำรวจเอกวัชรินทร์ ประสพดี ผกก.สภ.พระประแดง น้องชาย[1]
งานการเมือง
[แก้]เคยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาหลายครั้งแต่แต่สมัยสังกัดพรรคพลังธรรม แต่มาได้รับการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย นายกองเอก ดร.ประชาเป็นข่าวหลายครั้งจากการแถลงในหลายกรณี เช่น พ.ศ. 2546 จากการแถลงขับไล่ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร และ พ.ศ. 2548 กรณีให้ประมวล รุจนเสรี ขอโทษพรรคไทยรักไทย หลังจากประมวลซึ่งเป็น ส.ส. ออกมาวิพากษ์วิจารณ์พรรคที่สังกัดอยู่คือพรรคไทยรักไทย ก่อนการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2554 ดร.ประชาถูกคนร้ายลอบยิงจนได้รับบาดเจ็บ[2] หลังจากนั้นนายประชาได้ลงสมัครในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับเลือกตั้ง
ในปี พ.ศ. 2555 ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[3] (ครม.ยิ่งลักษณ์ 3)
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]ประชา ประสพดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคพลังประชาชน → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดพรรคเพื่อไทย
คดีความ
[แก้]ในปี พ.ศ. 2559 พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล ได้แจ้งข้อหา ใช้ ตั้ง วิทยุโทรคมนาคม โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยพบว่า มีการติดตั้งวิทยุสื่อสาร ซึ่งมีใบอนุญาตเอกชน แต่กลับใช้คลื่นความถี่ราชการทหาร ตำรวจ[4]และแจ้งข้อหามีเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต มี ใช้ ทำ ตั้ง ซึ่งเครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อสร้างอาคาร (ท่าเทียบเรือ) โดยไม่ได้รับอนุญาต[5]และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กล่าวหานายกองเอก ดร.ประชา ประสพดี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมช.มหาดไทย ว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ และปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266 มติปปช.เสนอให้ถอดถอนออกจากราชการ[6]กรณีแทรกแซงองค์การตลาดซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีมติถอดถอน 182 เสียง ไม่ถอดถอน 7 เสียง สรุปว่าสนช.มีมติถอดถอน ดร.ประชาออกจากตำแหน่ง จึงเป็นผลให้นายประชาต้องถูกตัดสิทธิ์ในการดำรงตำแหน่งใดในทางการเมืองหรือในหน่วยงานของรัฐหรือการรับราชการเป็นเวลา 5 ปี[7]นับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ถึง 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ตำแหน่งผู้บังคับบัญชา และยศกองอาสารักษาดินแดน
[แก้]เป็นรองผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดนโดยตำแหน่ง และได้รับพระราชทานยศ นายกองเอก [8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.springnewstv.tv/th/news/detail.php?gid=3&id=6569[ลิงก์เสีย]
- ↑ "มือปืนประกบรัวยิง"ประชา ประสพดี"บาดเจ็บ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-25. สืบค้นเมื่อ 2011-12-28.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 3)
- ↑ http://www.matichon.co.th/news/133076
- ↑ http://www.thairath.co.th/content/619594
- ↑ https://www.isranews.org/isranews-news/item/47500-nacc_5179dd.html
- ↑ http://www.posttoday.com/politic/449432
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2015-04-18.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายประชา ประสพดี เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายประชา ประสพดี[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายประชา ประสพดี), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- ข้อมูลบุคคล (นายประชา ประสพดี), หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากจังหวัดสมุทรปราการ
- นักการเมืองไทย
- พรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรปราการ
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- นิสิตเก่าคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน