สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี | |
---|---|
เจ้าฟ้าชั้นเอก กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา | |
เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเวียนนา | |
ดำรงตำแหน่ง | 4 กันยายน 2555 – 1 ตุลาคม 2557 |
ก่อนหน้า | สมศักดิ์ สุริยวงศ์ |
ถัดไป | อรรถยุทธ์ ศรีสมุทร |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ประสูติ | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ราชวงศ์ | จักรี |
ราชสกุล | มหิดล |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
อาชีพ | นักการทูต, อัยการสูงสุด |
พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า
|
พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา (ประสูติ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521) เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาต่างพระมารดา คือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ได้รับพระราชโองการแต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[1] และได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเสนาธิการกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[2]
พระประวัติ
พระประสูติกาล
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ[3][4] ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต[5] และเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
สถาปนาและเฉลิมพระนาม
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ราชประเพณีซึ่งมีสืบมาแต่โบราณ เมื่อสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติบรมราชาภิเษกแล้ว ย่อมโปรดให้สถาปนาพระเกียรติยศพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งเป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความวิริยะอุตสาหะ และพระกตัญญูกตเวทิตา ฉลองพระเดชพระคุณมาแต่รัชกาลก่อน สืบเนื่องมาถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้แบ่งเบาพระราชภาระเป็นอันมาก จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย สมควรจะยกย่องพระเกียรติยศตามโบราณราชประเพณี จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาและเฉลิมพระนาม พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ 1[6]
ทรงกรม
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจด้วยพระวิริยอุตสาหะ และพระกตัญญูกตเวทิตา ฉลองพระเดชพระคุณมาแต่รัชกาลก่อน สืบเนื่องมาจนถึงรัชกาลปัจจุบัน ทรงปฏิบัติพระราชกิจแทนพระองค์ในหลายวาระ และทรงรับเป็นพระธุระในการส่วนพระองค์ ให้ดำเนินลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อย แบ่งเบาพระราชภาระได้เป็นอันมาก เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย
นอกจากนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ได้ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านสาธารณกุศลมาเป็นเวลายาวนาน ผ่านมูลนิธิอาสา เพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งทรงรับเป็นประธานกรรมการ ทรงรับปฏิบัติงานที่คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทย ประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก อีกทั้งทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านกฎหมาย ซึ่งทรงพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่ง ทรงรับราชการในตำแหน่งอัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการสูงสุด ทรงก่อตั้งโครงการกำลังใจ ในพระดำริ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขัง นับว่าได้ทรงปฏิบัติงานสร้างสรรค์ประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนเป็นอเนกประการ สมควรที่จะสถาปนา พระเกียรติยศให้สูงขึ้น ตามแบบอย่างโบราณราชประเพณี
จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สถาปนา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรมฝ่ายใน มีพระนามตามที่จารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา กับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์[7]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ทรงพระประชวร
ตามที่สํานักพระราชวัง ได้มีแถลงการณ์ เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระประชวรหมดพระสติ ด้วยพระอาการทางพระหทัย และทรงเข้ารับการรักษาพระองค์ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2565 นั้น
คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาฯ ได้สรุปการวินิจฉัยว่าพระอาการประชวรหมดพระสติ เกิดจากการเต้นผิดจังหวะของพระหทัยแบบรุนแรง จากการอักเสบของพระหทัยจากเชื้อไมโคพลาสมา (Mycoplasma) ทําให้ทรงพระประชวรหมดพระสติในเวลาต่อมา[8]
การศึกษา
- ระดับอนุบาล ประถมและมัธยมต้น ณ โรงเรียนราชินี
- ระดับมัธยมปลาย ณ โรงเรียนฮีธฟิลด์ ประเทศอังกฤษ และโรงเรียนจิตรลดา
- ระดับปริญญาตรี ใน ปี พ.ศ. 2544 จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทรงได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง[9]
- ระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยทรงได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
- เนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) เนติบัณฑิตยสภา ปีการศึกษา 2547
- Master of Laws (LL.M.), มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐ
- Doctor of the Science of Law (J.S.D.) มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐ[10]
พระกรณียกิจ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสาธารณกุศลผ่านมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย และด้านกฎหมายซึ่งทรงมีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนปฏิบัติพระกรณียกิจสนองพระเดชพระคุณในการเสด็จแทนพระองค์อยู่โดยเสมอมา เมื่อครั้งที่ทรงศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทรงร่วมงานฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์ และทรงเป็นผู้เชิญธรรมจักร ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย มากไปกว่านั้น ทรงเข้าทำงานที่คณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
ด้านกฎหมาย
- พ.ศ. 2549 - อัยการผู้ช่วย สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด[11]
- พ.ศ. 2550 - อัยการประจำกอง (ข้าราชการอัยการชั้น 2) สำนักงานคดียาเสพติด[12]
- พ.ศ. 2551 - อัยการจังหวัดผู้ช่วย(ข้าราชการอัยการชั้น 2) สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี[13]
- พ.ศ. 2552 - รองอัยการจังหวัดอุดรธานี (ข้าราชการอัยการชั้น 3) สำนักงานอัยการจังหวัดอุดรธานี[14]
- พ.ศ. 2553 - รองอัยการจังหวัดพัทยา (ข้าราชการอัยการชั้น 3) สำนักงานอัยการจังหวัดพัทยา[15]
- พ.ศ. 2554 - รองอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู (ข้าราชการอัยการชั้น 3) สำนักงานอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู[16]
- พ.ศ. 2554 - อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (ข้าราชการชั้น 4) สำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชน[17]
- พ.ศ. 2555 - เอกอัครราชทูต (นักบริหารระดับสูง) ประจำคณะกรรมาธิการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย[18]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐออสเตรีย[19]
- 7 มกราคม พ.ศ. 2556 - เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสโลวาเกีย อีกตำแหน่งหนึ่ง[20]
- 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศสโลวีเนีย อีกตำแหน่งหนึ่ง[21]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด (ข้าราชการชั้น 4) สำนักงานอัยการจังหวัดหนองบัวลำภู[22]
- 3 เมษายน พ.ศ. 2560 - อัยการจังหวัดคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายและการบังคับคดีจังหวัดระยอง (ข้าราชการอัยการชั้น 4)[23]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 - อัยการผู้เชี่ยวชาญ (ข้าราชการอัยการชั้น 5) สำนักงานอัยการภาค 2 สำนักงานอัยการสูงสุด[24]
ด้านการศึกษา
เป็นอาจารย์พิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[25]
- พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จพระดำเนินแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง ณ อาคารอเนกนิทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย
มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เริ่มต้นจากการดำเนิน โครงการอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ซึ่งมีขึ้นในขณะที่มีอุทกภัยครั้งร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2538 และมีผู้ได้รับความเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก จนภาคราชการและองค์กรการกุศลที่มีอยู่มิอาจให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง จนเกิดเหตุการณ์กระทบกระทั่งกันระหว่างประชาชนอันเกิดจากความเครียดอันเนื่องมาจากการป้องกันน้ำให้ท่วมในวงจำกัด ผู้ที่เดือนร้อนจึงรู้สึกว่าขาดที่พึ่ง ขาดความเห็นอกเห็นใจ ต้องได้รับความเดือดร้อนเฉพาะชาวพื้นที่ของตนเอง ขณะที่พื้นที่ติดกันได้รับความสะดวกสบายอย่างเป็นปกติ
ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ตุลาคม เป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงออกปฏิบัติภารกิจในโครงการฯ เป็นครั้งแรก โดยเสด็จออกรับน้ำใจจากผู้ไม่ประสบอุทกภัยที่สถานีบริการน้ำมัน ต่อจากนั้นในช่วงบ่าย ได้เสด็จพระดำเนินเยี่ยมเยียนประชาชนที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 34 เขตบางกอกน้อย ซอยจรัญสนิทวงศ์ 82, 84 และ 86 เขตบางพลัด
การออกปฏิบัติพระกรณียกิจในครั้งนี้ส่งผลให้เหตุการณ์สงบลง จากนั้นมาโครงการฯ ก็ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จนได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิที่ผู้บริจาคสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 และได้พัฒนาการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา
นอกจากนี้ ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดให้ รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์พิชิต สุวรรณประกร เป็นผู้แทนพระองค์นำถุงยังชีพ 3,000 ถุง ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในโทโฮะกุ[26]
โครงการกำลังใจ ในพระดำริ
ทรงก่อตั้งเมื่อวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 เมื่อครั้งยังทรงเป็นนักศึกษากฎหมาย โดยครั้งแรก เสด็จเยี่ยมผู้ต้องขังหญิง ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ด้วยความสนพระทัยในสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้ต้องขัง
โครงการนี้ได้ขยายความช่วยเหลือไปยังเด็กที่ติดท้องแม่ก่อนเข้าจำคุก รวมทั้งผู้ต้องขังหญิงสูงอายุ และเพื่อให้การช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงได้กระจายไปทั่วโลก ทรงมีบทบาทสำคัญในการนำเสนอและยกร่างข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำต่อสหประชาชาติสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง ภายใต้ชื่อ “Enhancing Life for Female Inmates: ELFI”
มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริ
เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นด้วยพระประสงค์ของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 โดยประทานพระกรุณารับเป็นองค์ประธานมูลนิธิ เพื่อดำเนินกิจการตามพระดำริด้านสาธารณกุศลในการให้โอกาส การเป็นตัวกลางในการแสวงหาโอกาส และการพัฒนาชีวิตแก่ผู้ด้อยโอกาสในสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอดีตผู้ต้องขังและผู้ต้องขัง ตลอดจนกระตุ้นเตือนให้สาธารณชนตระหนักถึงความสำคัญของการให้โอกาส มูลนิธิ ณภาฯ จึงได้ดำเนินการตามพระดำริดังกล่าว เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ด้อยโอกาสให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข
ผลิตภัณฑ์จากมูลนิธิ ณภาฯ ในปัจจุบัน ประกอบด้วยกลุ่มผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุปโภคตรา "จัน" และ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มบริโภคตรา "ธรา" โดยมูลนิธิ ณภาฯ มีหน้าที่เป็นตัวกลางในการเผยแพร่และจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเพื่อนำมาเป็นทุนในการสนับสนุนงานของมูลนิธิต่อไป
มูลนิธิ/องค์กรในพระอุปถัมภ์
- มูลนิธิกุมาร โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- มูลนิธิ ณภาฯ ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
- เครือข่ายคนรักน้องหมา
- กองทุนกำลังใจ
- ศูนย์ควบคุมสุนัข กทม. (ประเวศ)
พระเกียรติยศ
พระอิสริยยศ
- พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา (7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 — 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี[27] (5 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 — 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562)
- สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา[28] (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 — ปัจจุบัน)
เครื่องราชอิสริยยศราชูปโภค
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชูปโภคสำหรับสมเด็จเจ้าฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีรายการดังต่อนี้
- พานพระศรี (พานใส่หมากพลู) ทองคำลงยา เครื่องพร้อม
- พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก) ทองคำลงยา
- หีบพระศรีทองคำลงยา พร้อมพานรอง
- พระคนโททองคำลงยา พร้อมพานรอง
- พานเครื่องพระสำอาง พร้อมพระสางวงเดือนกับพระสางเสนียดสอดในซองเยียรบับ และพระกรัณฑ์ทองคำลงยาสำหรับบรรจุเครื่องพระสำอาง
- ราวพระภูษาซับพระพักตร์ทองคำลงยารูปพญานาค 2 ตน ขนดหางพันเกลียวเป็นเสาราว ผินเศียรไปทางซ้ายและขวาเป็นราวพาด 2 กิ่ง พร้อมซับพระพักตร์จีบริ้วพาดบนราว 2 องค์
- พระฉายกรอบทองคำลงยาทำเป็นรูปพญานาคขนดพันกันโดยรอบบานพระฉาย ด้านบนเป็นรูปพระมหามงกุฎเปล่งรัศมี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
- พ.ศ. 2562 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)[27]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายใน)[28]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[29]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[30]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[31]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 1 ปฐมดิเรกคุณาภรณ์ (ป.ภ.)[32]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[33]
- พ.ศ. 2527 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[34]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๑ (ว.ป.ร.๑)[27]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2557 - เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นมหาอิสริยาภรณ์ทอง
พระยศทางทหาร
พลเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา | |
---|---|
รับใช้ | กองทัพบกไทย |
ประจำการ |
|
ชั้นยศ |
- 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543: ว่าที่ร้อยตรีหญิง , ร้อยตรีหญิง[35] และ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์[36]
- 23 ตุลาคม พ.ศ. 2545: ร้อยโทหญิง[37]
- 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545: นายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์[38]
- 10 กันยายน พ.ศ. 2547: ร้อยเอกหญิง[39]
- 4 มีนาคม พ.ศ. 2561: พลตรีหญิง[40] และ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ กองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ [41]
- 27 กันยายน พ.ศ. 2562: พลโทหญิง[42]
- 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564: พลเอกหญิง และทรงดำรงตำแหน่งเสนาธิการกองบัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์[2]
พระเกียรติคุณ
- รางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี 2544
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 คณะกรรมการรางวัลสัญญาธรรมศักดิ์ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถวายรางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี 2544 เป็นกรณีพิเศษแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ด้วยทรงเป็นตัวอย่างในด้านการศึกษาและด้านกิจกรรมนักศึกษา โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น พระองค์ทรงปฏิบัติเช่นนักศึกษาทั่วไปทั้งในด้านการศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ
- รางวัล Medal of Recognition
หน่วยงาน UNODC (ยูเอ็นโอดีซี) สหประชาชาติ จากทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติหลายอย่างเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนพัชรกิติยาภา เพื่อการศึกษากฎหมาย การรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โครงการกำลังใจ ในพระดำริฯ โครงการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง หรือ ELFI (เอลฟี)การทรงงานด้านกระบวนการยุติธรรมเหล่านี้ จึงพิจารณาทูลเกล้าถวายรางวัลกียรติยศสูงสุดจากสหประชาชาติ
- ทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador)
ดร.จีน เดอคูน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจ ในพระดำริ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา พระองค์ประทานความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ต้องขังสตรีและเด็กติดผู้ต้องขัง และทรงประทานความช่วยเหลือให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งหน่วยงาน UNIFEM รู้สึกสำนึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ในพระกรณียกิจที่ทรงช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย โดยหน่วยงาน UNIFEM ขอพระราชทานกราบทูลเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นองค์ “ทูตสันถวไมตรี” (Goodwill Ambassador) ในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง[43]
ปริญญากิตติมศักดิ์
- พ.ศ. 2549 ปริญญากิตติมศักดิ์ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2551 ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- พ.ศ. 2552 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
- พ.ศ. 2553 ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- พ.ศ. 2553 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2553 ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พ.ศ. 2553 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
- พ.ศ. 2553 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2554 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ 8 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
- พ.ศ. 2554 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2554 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2562 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
- พ.ศ. 2563 ปริญญาพยาบาลศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สิ่งอันเนื่องด้วยพระนาม
การแพทย์และสาธารณสุข
- อาคารพัชรกิติยาภา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สถาบันการศึกษา
- อาคารกิติยาคาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- อาคารพัชรกิติยาภา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
- อาคารพัชรปัญญา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
- โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 1 นครพนม
- โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 2 กำแพงเพชร
- โรงเรียนมัธยมพัชรกิติยาภา 3 สุราษฎร์ธานี
ศาสนสถาน
- วัดพัชรกิติยาภาราม ตำบลหนองหว้า อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
- พระวิหารกรรมฐานพัชรกิติยาภา วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
- อาคารปริยัติพัชรกิติยาภา ๒๕๕๘ วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
- เรือนประทับพัชรธรรม วัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
ศาสนวัตถุ
- พระพุทธรัตนเอกโกเมนทร์ วัดพัชรกิติยาภาราม ตำบลหนองหว้า อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู
อื่นๆ
- อาคารเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ศูนย์วัฒนธรรมไทย-จีน อุดรธานี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
- อาคารเฉลิมพระเกียรติพัชรกิติยาภา สำนักงานเทศบาลนครอุดรธานี ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
พงศาวลี
อ้างอิง
- ↑ ได้รับพระราชโองการแต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
- ↑ 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศ เรื่อง ให้รับโอนข้าราชการฝ่ายอัยการเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหาร และพระราชทานพระยศทหาร หน้า ๑ เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๒๕ ง, ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔
- ↑ "มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก - ประวัติมูลนิธิฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2006-08-25.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเฉลิมพระนาม (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๔๐ก ฉบับพิเศษ, ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
- ↑ หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ 5 ทศวรรษ(2539) โดย : มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๑๕ ข หน้า ๘, ๕ พฤษภาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๑ ข หน้า๑, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖
- ↑ https://www.pptvhd36.com (2023-01-08). "แถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 3 "พระองค์ภา" พระอาการโดยรวมในขณะนี้ยังไม่ทรงรู้พระองค์". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ ":: มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ::". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-11. สืบค้นเมื่อ 2006-08-25.
- ↑ "Commencement 2005: Cell phones, cameras, congratulations, challenges and a princess". Cornell Univesity News Service. May 29, 2005. สืบค้นเมื่อ 2011-10-21.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๓, ตอนพิเศษ ๙๕ ง, ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙, หน้า ๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๔, ตอน ๑๑๒ ง, ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๕, ตอนพิเศษ ๗๔ ง, ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๖, ตอนพิเศษ ๓๙ ง, ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒, หน้า ๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๗, ตอนพิเศษ ๔๔ ง, ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓, หน้า ๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๘, ตอนพิเศษ ๓๗ ง, ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๔, หน้า ๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ, เล่ม ๑๒๙, ตอนพิเศษ ๑๑ ง, ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการอัยการพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๙, ตอนพิเศษ ๒๔ ง, ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๙, ตอนพิเศษ ๑๔๖ ง, ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐสโลวัก, เล่ม ๑๓๐, ตอนพิเศษ ๑๐ ง, ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสาธารณรัฐสโลวีเนีย, เล่ม ๑๓๐, ตอนพิเศษ ๓๓ ง, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖, หน้า ๕
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ข้าราชการพลเรือนพ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งข้าราชการอัยการ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการอัยการ,เล่ม ๑๓๔, ตอนพิเศษ ๖๙ ง, ๖ มีนาคม ๒๕๖๐, หน้า ๑
- ↑ อัยการผู้เชี่ยวชาญ (ข้าราชการอัยการชั้น 5)
- ↑ รายชื่ออาจารย์พิเศษ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ" มอบถุงยังชีพ 3 พันชุดช่วยผู้ประสบภัยสึนามิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-16. สืบค้นเมื่อ 2011-03-18.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 "ประกาศสถาปนา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (15ข): 8. 2019-05-05.
- ↑ 28.0 28.1 "ประกาศประกาศ เรื่อง สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 136 (41ข): 1. 2019-07-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-07-28.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (จุลจอมเกล้า ฝ่ายใน (เพิ่มเติม) ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล ๕ พฤษภาคม ๒๕๓๔) เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๘, ตอน ๘๑ ง ฉบับพิเศษ, ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา, พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์) เก็บถาวร 2005-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒, ตอน ๒๐ ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘, หน้า ๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๕๒๔ ราย) เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม ๑๑๓ ตอน ๒๒ ข ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ปฐมดิเรกคุณภรณ์ จำนวน ๘ พระองค์) เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๗ ข เล่มที่ ๐๐๓, ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๓๙, ตอน ๒๘ ข, ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๑, ตอน ๑๖๒ ง ฉบับพิเศษ, ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗, หน้า ๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ขอพระราชทานพระยศทหาร เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒, ตอน ๑๙ ข, ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ, เล่ม ๑๑๘, ตอน ๒ ง, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๔, หน้า ๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร, เล่ม ๑๑๙, ตอน ๒๔ ข, ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ เก็บถาวร 2011-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙, ตอน ๑๑๘ ง, ๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕, หน้า ๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระยศทหาร, เล่ม ๑๒๑, ตอน ๒๖ ข, ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗, หน้า ๑
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ พระราชทานพระยศ, เล่ม ๑๓๕, ตอน ๘ ข หน้า ๑ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง แต่งตั้งนายทหารพิเศษ[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๓๕ ตอน ๔๘ ง พิเศษ หน้า ๒ ๕ มีนาคม ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานพระยศ, เล่ม ๑๓๖, ตอน ๕๓ ข, ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๑
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-26. สืบค้นเมื่อ 2010-01-28.
แหล่งข้อมูลอื่น
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2521
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ราชวงศ์จักรี
- เจ้าฟ้าหญิง
- ราชสกุลมหิดล
- รัชกาลที่ 10
- พระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ไทย
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนราชินี
- บุคคลจากโรงเรียนจิตรลดา
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- นักกฎหมายชาวไทย
- นักการทูตชาวไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- ข้าราชการฝ่ายอัยการชาวไทย
- ทหารบกชาวไทย
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1 (ร.10)
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหิดล
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- กรมหลวง
- บุคคลจากเขตดุสิต