อัยการสูงสุด (ประเทศไทย)
![]() | บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย
|
อัยการสูงสุด (อังกฤษ: Attorney General) คือ ตำแหน่งผู้บังคับบัญชาสูงสุดของพนักงานอัยการในสำนักงานอัยการสูงสุด พนักงานอัยการนั้นมีหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินหรือนักกฎหมายให้แก่รัฐ เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินคดีอาญาในนามของรัฐ และสามารถมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่พนักงานอัยการผู้ใต้บังคับบัญชาได้ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ใช้อำนาจกึ่งตุลาการ ดังนั้นสำนักอัยการสูงสุดจึงมีฐานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐตามรัฐธรรมนูญ [1] รับพิจารณาสั่งคดีขึ้นสู่ศาลและว่าความ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนและรัฐตามหลักนิติรัฐ
ในประเทศไทยแต่เดิมคือตำแหน่ง “อธิบดีกรมอัยการ” เมื่อครั้งสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานระดับกรม สังกัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งกรมอัยการก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2436 จนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) จึงได้มีประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 47 และฉบับที่ 49 แยกกรมอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นหน่วยงานราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงใด แต่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของนายกรัฐมนตรีโดยตรง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ยิ่งขึ้น และเพื่อมิให้อิทธิพลทางการเมืองก้าวก่ายการดำเนินคดี ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนโดยส่วนรวมยิ่งขึ้น มี ศ.ดร.โกเมน ภัทรภิรมย์ อธิบดีกรมอัยการขณะนั้นเป็นอัยการสูงสุดคนแรก และ นายโอภาส อรุณินท์ เป็นอัยการสูงสุดคนต่อมา
เดิมพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2521 ระบุให้ตำแหน่งอัยการสูงสุดเป็น "ประธาน" คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) โดยตำแหน่ง แต่ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ได้กำหนดให้ประธาน ก.อ. มาจากการเลือกตั้งโดยข้าราชการอัยการเว้นแต่ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้ช่วยโดยตรง ก็เพื่อให้การบริหารงานบุคคลข้าราชการอัยการเป็นอิสระและปลอดจากการเมืองอย่างแท้จริง โดยต้องมีคุณสมบัติเป็นผู้รับบำเหน็จหรือบำนาญตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการหรือกฎหมายว่าด้วยกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และเคยรับราชการเป็นข้าราชการอัยการมาแล้วในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีอัยการหรืออธิบดีอัยการภาคหรือเคยรับราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการที่เทียบเท่า ทั้งนี้ ต้องไม่เคยเป็นสมาชิกหรือเจ้าหน้าที่พรรคการเมืองในระยะสิบปีก่อนได้รับเลือก ซึ่งประธาน ก.อ. คนปัจจุบันคือ นายสิงห์ชัย ทนินซ้อน
สำนักงานอัยการสูงสุดของไทย[แก้]
รายนามอัยการสูงสุดของไทย[แก้]
รายนามอัยการสูงสุดของไทย[2]
- ศาสตราจารย์ ดร.โกเมน ภัทรภิรมย์ (1 มี.ค. 2534 - 1 ต.ค. 2536)
- นายโอภาส อรุณินท์ (1 ต.ค. 2536 - 30 ก.ย. 2537)
- ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.คณิต ณ นคร (1 ต.ค. 2537 - 30 ก.ย. 2540)
- ศาสตราจารย์ สุชาติ ไตรประสิทธิ์ (1 ต.ค. 2540 - 30 ก.ย. 2544)
- นายวิเชียร วิริยะประสิทธิ์ ( 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546)
- ศาสตราจารย์พิเศษ เรวัต ฉ่ำเฉลิม (1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547)
- ศาสตราจารย์พิเศษ คัมภีร์ แก้วเจริญ (1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548)
- นายพชร ยุติธรรมดำรง (1 ต.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2550)[3]
- ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ (1 ต.ค. 2550 - 2552)
- ศาสตราจารย์พิเศษ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ (1 ต.ค. 2552 - 30 ก.ย. 2556)
- นายอรรถพล ใหญ่สว่าง[4] (1 ต.ค. 2556 - 26 มิ.ย. 2557)
- นายตระกูล วินิจนัยภาค (27 มิ.ย.2557 - 30 ก.ย. 2558)
- ร้อยตำรวจตรี พงษ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร[5] (1 ต.ค. 2558 - 30 ก.ย. 2560)
- ศาสตราจารย์พิเศษ เข็มชัย ชุติวงศ์ (1 ต.ค. 2560 - 30 ก.ย. 2562)
- นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ (1 ต.ค. 2562 - 30 ก.ย. 2564)
- นายสิงห์ชัย ทนินซ้อน (1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565)
- นางสาว นารี ตัณฑเสถียร (1 ตุลาคม 2565 - ปัจจุบัน)[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[ลิงก์เสีย]อายุธ สมานเดชา. อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด : ศึกษาเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น 2534
- ↑ "พิพิธภัณฑ์อัยการไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-22. สืบค้นเมื่อ 2009-05-17.
- ↑ ประกาศสำนักงานอัยการสูงสุด เรื่อง ข้าราชการอัยการพ้นจากราชการ (นายพชร ยุติธรรมดำรง)
- ↑ ประวัติ อรรถพล ใหญ่สว่าง
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/D/111/69.PDF
- ↑ "มติ ก.อ.เอกฉันท์เห็นชอบ "นารี ตัณฑเสถียร" นั่ง อสส.หญิง คนแรกของไทย". bangkokbiznews. 2022-06-08.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
- เว็บไซต์สำนักงานอัยการสูงสุด เก็บถาวร 2020-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
![]() |
บทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครองนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |