สุชนา ชวนิชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศาสตราจารย์

สุชนา ชวนิชย์
สุชนาในปี 2558
เกิดนิวฮาเวน รัฐคอนเนกทิคัต สหรัฐ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยนิวแฮมป์เชอร์ (ปร.ด.)
อาชีพอาจารย์
มีชื่อเสียงจากนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่เดินทางไปทวีปแอนตาร์กติก

ศาสตราจารย์ สุชนา ชวนิชย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงชาวไทย ผู้ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ไปศึกษาวิจัยยังทวีปแอนตาร์กติก[1][2][3] ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งยังเป็นหนึ่งในทีมของนักวิทยาศาสตร์ไทยที่ทำการเพาะขยายพันธุ์ปะการังแบบอาศัยเพศสำเร็จเป็นครั้งแรกของประเทศไทย[4]

ประวัติ[แก้]

สุชนา ชวนิชย์ จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วจึงเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่ Central Connecticut State University และปริญญาเอกที่ University of New Hampshire ประเทศสหรัฐอเมริกา[5] ในปี 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งศาสตราจารย์(ศ.) จำนวน 61 ราย ซึ่งหนึ่งในรายชื่อนั้น คือ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ สังกัดภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในสาขาวิชาสมุทรศาสตร์ [6]

ผลงานที่โดดเด่นของ สุชนา ชวนิชย์ คือการที่เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมสำรวจทวีปแอนตาร์กติกร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกจากประเทศญี่ปุ่น รุ่นที่ 51 (JARE-51)[7] เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ. 2552 นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2557 รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ยังได้รับโอกาสเป็นครั้งที่สองในการเดินทางไปคาบสมุทรแอนตาร์กติกร่วมกับคณะสำรวจทวีปแอนตาร์กติกของสาธารณรัฐประชาชนจีน รุ่นที่ 30 (CHINARE 30; 30th Chinese National Antarctic Research Expedition) ภายใต้โครงการศึกษาวิจัยขั้วโลกตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อร่วมศึกษาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม[8] และในครั้งนี้ รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ได้มีโอกาสดำน้ำแบบลึก (SCUBA diving) ที่ทะเลแอนตาร์กติก จึงถือได้ว่า รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกที่ลงดำน้ำที่ทะเลแอนตาร์กติกอีกด้วย

สุชนา ชวนิชย์ ไม่เพียงแต่เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลเท่านั้น แต่ยังเป็นครูสอนดำน้ำ อาจารย์พิเศษ วิทยากรพิเศษ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการ ผู้เขียนบทความ และผู้แปลบทความ[9] ด้านการดำน้ำ การอนุรักษ์ทางทะเล และการท่องเที่ยวทางทะเล ให้กับให้นิตยสารทั้งในและต่างประเทศ มหาวิทยาลัยต่างๆ และหน่วยราชการอื่นๆ[10]

จากการทำงานวิจัยในด้านระบบนิเวศทางทะเลรวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลทั้งบริเวณขั้วโลกและเขตร้อนจนถึงปัจจุบัน รศ.ดร.สุชนา ชวนิชย์ ได้รับรางวัลและการยกย่องต่างๆ อาทิ เช่น

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. แอนตาร์กติก...ดินแดนแห่งน้ำแข็ง สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2554. 213 หน้า
  2. Polar Harmony องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2556. 84 หน้า
  3. National Geographic ฉบับภาษาไทย เดือน กุมภาพันธ์ 2558. หน้า 38 – 41
  4. "จุฬาฯ เพาะ "ปะการัง" แบบอาศัยเพศ ได้เป็นครั้งแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-09. สืบค้นเมื่อ 2015-10-27.
  5. "คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 2015-09-30.
  6. "ร.ศ. ดร.สุชนา ชวนิชย์ ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นศาสตรจารย์ [15 มิ.ย.64] – Marine Science Department, Chulalongkorn University" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  7. "First Thai female scientist to join Antarctic research team for climate change study". 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-14. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "นักวิจัยไทยในโครงการวิจัยขั้วโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-09. สืบค้นเมื่อ 2015-11-03.
  9. "คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-11-06.
  10. นักวิทยาศาสตร์หญิงไทยคนแรกในแอนตาร์กติกา[ลิงก์เสีย]
  11. นิตยสาร Her World มีนาคม พ.ศ. 2558.
  12. จุลมงกุฎ : เกียรติภูมิวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2557 พิมพ์ เดือน มีนาคม 2558
  13. "Five Marine Scientists Awarded WESTPAC Outstanding Scientists 2014". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-15. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. In Residence 100 Most Wanted Directory 2013 ISBN 978-616-306-067-9
  15. "4 นักวิจัยหญิงรับทุนลอรีอัล-ยูเนสโก "เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์"". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 24 เมษายน 2551. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๔, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]