สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชื่อย่อPMCU
ประเภทแผนกมหาวิทยาลัย
องค์กรปกครอง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บไซต์pmcu.co.th

สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อังกฤษ: Property Management of Chulalongkorn University; อักษรย่อ: PMCU) เป็นแผนกธุรการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรับผิดชอบในการบริหารพอร์ตอสังหาริมทรัพย์ โดยรวมถึงพื้นที่ในใจกลางกรุงเทพฯ ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวผู้ก่อตั้ง ทรงจัดสรรพระราชทาน ทั้งนี้ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริหารจัดการย่านชุมชนและพื้นที่การค้า เช่น สยามสแควร์ ย่านสามย่าน และสวนหลวง (ถนนบรรทัดทอง) ตลอดจนที่ดินให้เช่าแก่ห้างสรรพสินค้าและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่น เอ็มบีเคเซ็นเตอร์, จัตุรัสจามจุรี และสามย่านมิตรทาวน์

ประวัติ[แก้]

มหาวิทยาลัยเริ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ใน พ.ศ. 2506 โดยมีสวนหลวงและย่านสามย่านรายรอบมหาวิทยาลัย ส่วนการพัฒนาสยามสแควร์เป็นพื้นที่ค้าปลีกเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2507 ต้นเค้าของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการก่อตั้งในฐานะที่ทำการเมื่อ พ.ศ. 2511 และได้รับการจัดโครงสร้างใหม่เป็นหน่วยงานอิสระในการบริหารเมื่อ พ.ศ. 2516[1]

ในคริสต์ทศวรรษ 2010 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่สวนหลวงและสามย่านใหม่อย่างกว้างขวาง ทำให้เกิดการวิจารณ์เรื่องการแบ่งพื้นที่ โดยทำให้ย่านเก่าแก่และแหล่งวัฒนธรรมต้องเสียไป[2][3]

โครงการในความดูแลของสำนักงานฯ[แก้]

ส่วนกลาง[แก้]

ส่วนภูมิภาค[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "PMCU History". pmcu.co.th. Property Management of Chulalongkorn University. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  2. Katharangsiporn, Kanana (12 March 2013). "University plans B4.6bn project". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  3. Marukatat, Saritdet (31 August 2020). "Chulalongkorn students struggle to save old shrine". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 October 2020.
  4. ""เซ็นทรัลพัฒนา" รับมอบพื้นที่สยามสแควร์-สกาล่าจากจุฬาฯ". thansettakij. 2021-09-06.
  5. "สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาฯสร้าง"Block 28"ย่านธุรกิจใหม่ใจกลางเมือง". posttoday.com. 2019-11-01.
  6. matichon (2022-02-05). "ทุนใหญ่ 'อสังหาฯ-โรงพยาบาล' ชิงดำที่ดินจุฬาฯ ปั้นสวนหลวง-สามย่าน 'ศูนย์การแพทย์คอมเพล็กซ์'". มติชนออนไลน์.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]