วีรชัย พลาศรัย
วีรชัย พลาศรัย | |
---|---|
เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม 2561 – 16 มีนาคม 2562 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2503 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 (58 ปี) โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ บัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา |
ศาสนา | พุทธ |
ลายมือชื่อ | |
วีรชัย พลาศรัย (9 มิถุนายน พ.ศ. 2503 – 16 มีนาคม พ.ศ. 2562) อดีตเอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำสหรัฐอเมริกา[1] อดีตเอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทย ประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐ[2] อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ อดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ อดีตเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (เจ้าหน้าที่การทูต ๑๐) สำนักงานปลัดกระทรวง[3] มีชื่อเสียงในฐานะเป็นหัวหน้าคณะทนายกฎหมายระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร
เขาได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลิม-อเล็กซานเดอร์แห่งเนเธอร์แลนด์[4]เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ประวัติ
[แก้]วีรชัย พลาศรัย เกิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2503 เป็นที่รู้จักในฐานะหัวหน้าคณะต่อสู้คดีในการชี้แจงต่อศาลโลกกรณีคดีปราสาทพระวิหาร สมรสกับนางอลิซเบธ พลาศรัย
การศึกษา
[แก้]- ระดับมัธยมต้น โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่น12)[5]
- ระดับมัธยมปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา (รุ่น38)
- เคยเข้าศึกษาที่ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน ก่อนที่จะไปศึกษาต่อ
- ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท มหาวิทยาลัยปารีส (นองแตร์)
- ระดับปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ ฝรั่งเศส
- ระดับประกาศนียบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน
การทำงาน
[แก้]พ.ศ. 2530 - เจ้าหน้าที่การทูต 4 กองแอฟริกาและประเทศกลุ่มอาหรับ กรมการเมือง |
พ.ศ. 2531 - เจ้าหน้าที่การทูต 4 กองกฎหมาย กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย |
พ.ศ. 2532 - เจ้าหน้าที่การทูต 5 กองกฎหมาย กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย |
พ.ศ. 2533 - เลขานุการโท (เจ้าหน้าที่การทูต 5) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน |
พ.ศ. 2534 - เลขานุการเอก (เจ้าหน้าที่การทูต 6) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน |
พ.ศ. 2537 - นิติกร 6 กองกฎหมาย กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย, เจ้าหน้าที่การทูต 7 กองสนธิสัญญา กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย |
พ.ศ. 2541 - โอนไปรับราชการที่กระทรวงพาณิชย์ในตำแหน่งนักวิชาการพาณิชย์ 8, คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ณ นครเจนีวา |
พ.ศ. 2544 - โอนมารับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศในตำแหน่งผู้อำนวยการกอง, (เจ้าหน้าที่การทูต 8) กองสนธิสัญญา กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย |
พ.ศ. 2547 - รองอธิบดี (นักบริหาร 9) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ |
พ.ศ. 2549 - อธิบดี (นักบริหาร 10) กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ |
พ.ศ. 2550 - อธิบดี (นักบริหาร 10) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย |
พ.ศ. 2551 - เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (เจ้าหน้าที่การทูต 10) สำนักงานปลัดกระทรวง, อธิบดี (นักบริหาร 10) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย |
11 ธ.ค. 2551 - อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย |
พ.ศ. 2552 - เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ |
พ.ศ. 2558 - เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
พ.ศ. 2561-2562 - เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสหรัฐอเมริกา |
การเป็นคณะกรรมการ
[แก้]- 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการประสานงานและกระชับความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
- พ.ศ. 2553 – 13 กันยายน พ.ศ. 2554 ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทยกัมพูชา (เจบีซี)
รางวัล
[แก้]การเสียชีวิต
[แก้]เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลาท้องถิ่น 00.43 น. ดร.วีรชัย ได้ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งไขกระดูก ณ โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา สิริอายุ 58 ปี[6] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2562 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]วีรชัย พลาศรัย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2553 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2555 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2557 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นอัศวินมหากางเขน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๓๕ ตอนพิเศษ ๗๗ ง หน้า ๑, ๒ เมษายน ๒๕๖๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๓๒ ตอนพิเศษ ๓๕ ง หน้า ๔, ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน, เล่ม ๑๒๕ ตอนพิเศษ ๑๑๓ ง หน้า ๔, ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑
- ↑ 4.0 4.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๓๒ ข หน้า ๑, ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ "Alumni Lists". สมาคมนักเรียนเก่าสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2016.
- ↑ "ทูต "วีรชัย" ถึงแก่อนิจกรรม". โพสต์ทูเดย์. 16 มีนาคม 2019.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๒๐, ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๕๖
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เปิดประวัติ-วีรชัย-พลาศรัย เก็บถาวร 26 เมษายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Thai PBS
- "เปิดประวัติ "วีรชัย พลาศรัย"", ข่าวไทยพีบีเอส, 19 เมษายน 2013
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2503
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2562
- นักการทูตชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- เสียชีวิตจากมะเร็งไขกระดูกมัยอิโลมา
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยปารีส
- ชาวไทยที่เสียชีวิตในสหรัฐ
- บุคคลในประวัติศาสตร์ไทย หลัง พ.ศ. 2544
- บุคคลผู้ได้รับรางวัลครุฑทองคำ