ปัณฑพล ประสารราชกิจ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ปัณฑพล ประสารราชกิจ | |
---|---|
ปัณฑพลในปี 2562 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
เกิด | 23 กันยายน พ.ศ. 2528 |
ที่เกิด | กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
แนวเพลง | ร็อค/ป๊อบ |
อาชีพ | นักร้อง , นักแต่งเพลง , โปรดิวเซอร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2545–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | จีนี่เรคอร์ดส , จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ,gene lab |
ปัณฑพล ประสารราชกิจ ชื่อเล่น โอม เป็นนักร้องนำของวงดนตรีค็อกเทล ผู้ประพันธ์และโปรดิวเซอร์เพลงให้กับหลากหลายศิลปิน และอาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ ในระดับอุดมศึกษา และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งค่ายเพลงยีนแลป ในเครือจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ประวัติ[แก้]
ปัณฑพล ประสารราชกิจ เกิดเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2528 เป็นบุตรชายของ พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กับ รศ.ปิยานันท์ ประสารราชกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรมภายใน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีน้องสาว 1 คน คือ มณฑกรณ์ ประสารราชกิจ ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับนันท์นภัส ประสารราชกิจ (สกุลเดิม - ลีลาภิรมย์) มีบุตรสาวชื่อ วลัลนา ประสารราชกิจ และบุตรชายชื่อ ปัณณ์นภัส ประสารราชกิจ[1]
นอกจากนี้ ปัณฑพล มีศักดิ์เป็นหลานของ อนันต์ กรุแก้ว[2] อดีตอธิการบดีวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา และเป็นเหลนของพระยาผดุงวิทยาเสริม
การศึกษา[แก้]
- อนุบาล : โรงเรียนอนุบาลจุไรรัตน์
- ประถมศึกษา-มัธยมศึกษาตอนต้น : โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- มัธยมศึกษาตอนปลาย : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- ปริญญาตรี :
- รัฐศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง
- นิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขากฎหมายมหาชน (เกียรตินิยมอันดับ 1)
- ปริญญาโท : นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
การทำงาน[แก้]
ด้านดนตรี[แก้]
ปัณฑพล เริ่มงานด้านดนตรีจากการรวมกลุ่มวงดนตรีหลาย ๆ กลุ่มในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา มาออกอัลบั้มที่ใช้ชื่อว่า Cocktail นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของวงดนตรีค็อกเทล ที่เขาเป็นนักร้องนำมาตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2545 ปัจจุบันค็อกเทล มีผลงานมาแล้วทั้งสิ้น 6 อัลบั้ม 3 อีพี และเพลงเดี่ยวอีกมากมาย รวมแล้วมากกว่า 80 เพลง ซึ่งมีเพลงที่ได้รับความนิยมจากหมู่สังคมไทยหลากหลายเพลง เช่น เธอทำให้ฉันเสียใจ, คุกเข่า, โปรดเถิดรัก, เธอ, คู่ชีวิต, ช่างมัน รวมถึงยังเป็นนักร้องเดี่ยวในบางโอกาส อีกทั้ง ปัณฑพล ยังเป็นนักแต่งเนื้อรอง ทำนอง หรือเป็นโปรดิวเซอร์ ให้กับหลากหลายศิลปิน และยังเป็นผู้บริหารค่ายเพลง ยีนแลป (Gene Lab) ซึ่งเป็นต้นสังกัดของค็อกเทล อีกด้วย[3]
ปัณฑพล ยังเคยเข้าร่วมแข่งขันรายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ในซีซั่นที่ 2 โดยเขาสวมใส่หน้ากากหอยนางรม เนื่องจากตัวเขาชอบรับประทานหอยนางรม โดยในรอบ Semi-Final (รอบ 16 คนสุดท้าย) เขาได้ร้องเพลง ตราบธุรีดิน ต้นฉบับโดย ปู่จ๋าน ลองไมค์ ซึ่งได้กระแสตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม และวิดิโอการร้องเพลงของเขาบนยูทูบ ได้เป็นคลิปวิดีโอที่มาแรงเป็นที่นิยมอันดับที่ 1 ของโลกประจำปี ค.ศ. 2017[4][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้] อย่างไรก็ดีเขาแพ้ให้กับหน้ากากเต่า (ปนัดดา เรืองวุฒิ) ในรอบ Group Final หรือรอบ 8 คนสุดท้าย
อาจารย์[แก้]
เป็นอดีตอาจารย์ผู้ช่วย คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[5]
เป็นอาจารย์พิเศษประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง รายวิชา เอกเทศสัญญาสอง ในปี 2560[6]
เป็นอาจารย์พิเศษประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ประจำวิชา ประวัติศาสตร์กฎหมาย โดยบรรยายในหัวข้อ การสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนกฎหมาย กฎหมายโรมันและกฎหมายอังกฤษ ในปี 2561[7]
อื่น ๆ[แก้]
นอกจากปัณฑพล จะทำงานทั้งสองอย่างที่กล่าวไปนั้น ตัวเขายังทำหน้าที่เป็นทนายความ โดยเขาได้เปิดบริษัทกฎหมายเล็ก ๆ ที่เปิดกับเพื่อนเพื่อรับทำคดีให้กับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยเขากล่าวอีกด้วยว่าเรื่องราวบางส่วนของเพลงของค็อกเทล ยังมาจากคนที่มีปัญหาเหล่านี้ อีกด้วย
ปัณฑพล กล่าวผ่านเว็บไซต์ A Day Bulletin [8]
รวมถึงเขายังเปิดธุรกิจสตาร์ทอัพเล็กๆ ด้านการพัฒนาแอปพลิเคชัน และร้านกาแฟที่เปิดบริการรับล้างฟิล์มควบคู่ไปด้วย ภายใต้ชื่อ "แอนะล็อก ฟิล์ม คาเฟ่" ("Analox Flim Cafe") [9]บนถนนนราธิวาสราชนครินทร์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ที่เปิดร่วมกับ พณิช ฉ่ำวิเศษ ทีมงานของวงค็อกเทล [10]
ผลงานเพลง[แก้]
ค็อกเทล[แก้]
สตูดิโออัลบั้ม[แก้]
- ค็อกเทล (Cocktail) : พ.ศ. 2545 (อิสระ)
- 36,000 ไมลส์อะเวย์ฟรอมเฮียร์ (36,000 miles away from here) : พ.ศ. 2547 (อิสระ)
- อินเดอะเมโมรีออฟซัมเมอร์โรมานซ์ (In the Memory of Summer Romance) : พ.ศ. 2551 (อิสระ)
- เท็นเทาซันด์เทียส์ (Ten Thousand Tears) : พ.ศ. 2554 (จีนี่ เรคคอร์ด, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
- เดอะลอดส์ออฟมิสเซอรี (The Lords of Misery) : พ.ศ. 2557 (จีนี่ เรคคอร์ด, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
- ค็อกเทล (Cocktail) : พ.ศ. 2562 (จีนี่ เรคคอร์ด, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
- เฟต (Fate) : พ.ศ. 2565 (จีนี่ เรคคอร์ด และยีนแลป, จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
อีพี[แก้]
- Inside : พ.ศ. 2546 (อิสระ)
- Final Light : พ.ศ. 2550 (อิสระ)
- วัย : พ.ศ. 2553 (อิสระ)
ซิงเกิลอื่น ๆ[แก้]
- "งานเต้นรำในคืนพระจันทร์เต็มดวง" เพลงประกอบละครเวทีเรื่อง "The Castle ความตาย ความรัก ความทรงจำ" คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
- "ก่อนจะชนะ" (อัลบั้มไทยเชียร์กีฬาไทย ของกระทรวงท่วงเที่ยวและกีฬา)
- "ข้าน้อยสมควรตาย" (เพลงประกอบภาพยนตร์ ตีสาม คืนสาม 3D) ต้นฉบับโดย บิ๊กแอส
- "หนังสือรุ่น" (เพลงประกอบละครซี่รี่ย์ เพื่อนเฮี้ยน..โรงเรียนหลอน) ต้นฉบับโดย นครินทร์ กิ่งศักดิ์
- "โลกแห่งความฝัน" (เพลงประกอบละคร จุดนัดฝัน) ต้นฉบับโดย ใหม่ เจริญปุระ [11]
- "แต่ปางก่อน" ร่วมกับ พรชนก เลี่ยนกัตวา (เพลงประกอบละคร แต่ปางก่อน) ต้นฉบับโดย จาตุรงค์ จัยสิทธิ์, สุกานดา บุณยะธรรมิก [12]
- "แค่นี้ก็สุขใจ" ("ยิ่งส่งยิ่งสุข ฉลองครบรอบ 30 ปีบาร์บีคิวพลาซ่า)
- "เธอทำให้ลมเปลี่ยนทิศ" ร่วมกับ เดชา โคนาโล (เจ๋ง บิ๊กแอส) และ อธิศ อมรเวช (จ๊ะ เดอะมูสส์)
- "สวัสดีเจ้า" (เพลงจากโปรเจกต์ Play 2)
- "งานเต้นรำในคืนพระจันทร์เต็มดวง" (เพลงประกอบละคร ลูกไม้ลายสนธยา)
- "ใกล้ใจ" (เพลงสนับสนุนการอยู่บ้าน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส โควิด-19)
- "ดึงดัน" ร่วมกับ ศิริพร อยู่ยอด
เดี่ยว[แก้]
- "ทางที่เลือก" ร่วมกับ พงศกร ลิ่มสกุล และ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา
- "เสียงในใจ" ร่วมกับ พัฒน์ชัย ภักดีสู่สุข
- "อย่าหยุดความคิด" (สร้างโดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์)
- "ฟัง" ร่วมกับ ทศพร อาชวานันทกุล
- "สัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิ (Icon Of Dreams) ร่วมกับ วิชญาณี เปียกลิ่น เพลงโดยศูนย์การค้าไอคอนสยาม
- "FHERO" ร่วมกับ ฟักกลิ้งฮีโร่ [13]
- "How are you" ร่วมกับ หนึ่งธิดา โสภณ
ประพันธ์เพลง - โปรดิวเซอร์[แก้]
- โปรดิวเซอร์ "จับฉ่าย" (รวมผลงานนักเรียน นักศึกษา) พ.ศ. 2546
- โปรดิวเซอร์ Survival kits (รวมผลงานนักเรียน นักศึกษา) พ.ศ. 2548
- ทำนอง เพลง "ครั้งสุดท้าย" ศิลปิน Supersub พ.ศ. 2551
- ร่วมแต่งเนื้อร้องเพลง "ดีกว่านี้" ศิลปิน มัสเกตเทียส์ พ.ศ. 2552
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง "จะเป็นจะตาย" ศิลปิน สวีตมัลเล็ต พ.ศ. 2556
- ร่วมแต่งเนื้อร้อง เพลง "ทางที่เลือก" ศิลปิน ปัณฑพล และ พงศกร ลิ่มสกุล และ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา พ.ศ. 2556
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง ความจริง ศิลปิน The Mousses พ.ศ. 2557
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง "เจ็บที่ต้องรู้" ศิลปิน The Mousses พ.ศ. 2558
- เนื้อร้องและทำนอง เพลง "รอย" ศิลปิน โปเตโต้ พ.ศ. 2558
- โปรดิวเซอร์ร่วม เพลง "น้ำตาที่หาย" (พ.ศ. 2558) และเพลง "หลอกให้รัก" (พ.ศ. 2559) ศิลปิน The Mousses
- เนื้อร้องและทำนอง เพลง "หล่อเลย" ศิลปิน พลพล พ.ศ. 2559
- เนื้อร้องและทำนอง เพลง "ฉันไม่รู้" ศิลปิน เบล สุพล พ.ศ. 2560
- ร่วมแต่งเนื้อร้องเพลง "ทรมานตัวเอง" ศิลปิน เบล สุพล พ.ศ. 2561
- เนื้อร้อง - ร่วมแต่งทำนอง - โปรดิวเซอร์ร่วม เพลง "เห็นใจกันพอประมาณ" ศิลปิน กรกันต์ สุทธิโกเศศ พ.ศ. 2561
- เนื้อร้องท่อนปกติ - ทำนอง - โปรดิวเซอร์ เพลง "ไม่มีเธอ ไม่ตาย" ศิลปิน วิชญาณี เปียกลิ่น ร่วมกับ Twopee พ.ศ. 2561
- เนื้อร้อง - ทำนอง - โปรดิวเซอร์ร่วม เพลง "เพราะเธอ" ศิลปิน เบล สุพล ร่วมกับ ปนัดดา เรืองวุฒิ (พ.ศ. 2561)
- เนื้อร้อง - ทำนอง เพลง "รักไปทำไม" ศิลปิน วิชญาณี เปียกลิ่น (พ.ศ. 2562)
- ควบคุมการผลิต ให้กับเพลงในโครงการ Secret 7 Room พ.ศ. 2563 ซึ่งประกอบไปด้วย
- เพลง "จุดพักใจ" ศิลปิน นิว จิ๋ว และ มิกค์ ทองระย้า
- เพลง "เธอทำให้ฉันไม่มีแฟน" ศิลปิน สุพล พัวศิริรักษ์ และ พีชญา วัฒนามนตรี
- เพลง "จัดสรร" ศิลปิน เจ็ตเซ็ตเตอร์ และ ทัศนียา การสมนุช
- เพลง ""ครั้งหนึ่งในชีวิต" ศิลปิน มารี เออเจนี เลอเลย์ และ ศุกลวัฒน์ คณารศ
- เพลง "มองเห็นแต่ไม่ได้ยิน ศิลปิน ศิริศิลป์ โชติวิจิตร และ อรรคพันธ์ นะมาตร์
- โปรดิวเซอร์ ให้กับศิลปินในค่าย ยีนแลป
- เพลง "Hello mama" ศิลปิน ไททศมิตร (ร่วม)
- เพลง "ความโดดเดี่ยว" ศิลปิน เดอะ ดาร์คเคสท์ โรมานซ์ (พิเศษ)
- เพลง "ความเยาว์" ศิลปิน เดอะ ดาร์คเคสท์ โรมานซ์ (พิเศษ)
- เพลง "ฝนตกไหม" ศิลปิน ทรีแมนดาวน์ (พิเศษ)
- เพลง "Amazing Thailand" ศิลปิน ไททศมิตร (พิเศษ)
- เพลง "ไปเถอะเธอ" ศิลปิน ทรีแมนดาวน์ (พิเศษ)
- เนื้อร้อง - ทำนอง ให้กับศิลปินในค่าย ยีนแลป
- เพลง "หมาขี้แพ้" โดย "สำราญรื่น"
- เนื้อร้อง - ทำนอง - โปรดิวเซอร์ เพลง "กีดกัน (Skyline)" ศิลปิน พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล ประกอบละคร แปลรักฉันด้วยใจเธอ (พ.ศ. 2563) [14]
- โปรดิวเซอร์ เพลง "TASTE ME" ศิลปิน ลาซวัน
- เนื้อร้อง - ทำนอง - ร่วมเรียบเรียงเสียงประสาน – โปรดิวเซอร์ เพลง "ถ้าเธอรักใครคนหนึ่ง" ศิลปิน วรันธร เปานิล เพลงนำภาพยนตร์ บุพเพสันนิวาส 2[15]
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง "ใต้หล้า" ศิลปิน ไททศมิตร พ.ศ. 2565
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง "เท่าไหร่ก็ไม่พอ" ศิลปิน เบล สุพล พ.ศ. 2565
- ร่วมแต่งเนื้อร้องและทำนอง เพลง “ถ้าจูบได้เพียงหนึ่งครั้ง” ศิลปิน ลาซวัน พ.ศ. 2565
รางวัล[แก้]
ปี | รางวัล | สาขา | เสนอชื่อเข้าชิง | ผล | จากผลงาน |
---|---|---|---|---|---|
2565 | The Guitar Mag Awards 2021[16] | Best Songwriter Of The Year | ปัณฑพล ประสารราชกิจ | ชนะ | ดึงดัน (ค็อกเทล ร่วมกับ ตั๊ก ศิริพร) |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ดีกรีปริญญาด้านกฎหมาย 2 ใบ "โอม ปัณฑพล หรือ โอม Cocktail"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-16. สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.
- ↑ เปิดประวัติ “โอม COCKTAIL”
- ↑ "โอม Cocktail พร้อมสร้างศิลปินสายพันธุ์ใหม่จากห้องทดลองทางดนตรีที่ชื่อ Gene Lab".
- ↑ "อันดับ1ในโลก !!! นอกจากเพลง 'ตราบธุลีดิน ของ หน้ากากหอยนางรม ขึ้น 'อันดับ 1 บน YouTube 2017 แล้ววว".
- ↑ ประวัติโอม Cocktail หน้ากากหอยนางรม ขวัญใจคนใหม่ The Mask Singer 2
- ↑ อาจารย์ ปัณฑพล ประสารราชกิจ พี่โอม
- ↑ จัดโครงการหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
- ↑ – ปัณฑพล ประสารราชกิจ เคล็ดลับความสำเร็จของนักร้อง นักกฎหมาย และอีกหลากหลายบทบาทที่คุณคาดไม่ถึง[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Analox Film Cafe".
- ↑ "Analox Film Cafe: คาเฟ่คอนเซ็ปต์เท่ที่เชื่อมโลกของฟิล์มกับกาแฟไว้ด้วยกัน".
- ↑ ‘ค็อกเทล’ สุดปลื้ม!! ถ่ายทอดบทเพลง ‘โลกแห่งความฝัน’
- ↑ 'โอม-ปิ่น' ร้องเพลง 'แต่ปางก่อน'
- ↑ "โอม Cocktail" เล่าที่มาเพลง "FHERO" เผยขอให้ "ฟักกลิ้ง ฮีโร่" เปลี่ยนเนื้อหา
- ↑ ""บิวกิ้น"เจอโจทย์ใหม่สุดท้าท้ายในเพลง"กีดกัน (Skyline)"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 2020-11-20.
- ↑ ถ้าเธอรักใครคนหนึ่ง - INK WARUNTORN | Ost. บุพเพสันนิวาส ๒ [Official MV], สืบค้นเมื่อ 2022-07-15
- ↑ "เผยโฉมศิลปินวงการดนตรี คว้ารางวัล The Guitar Mag Awards 2021". TNN ONLINE. 2022-05-11. สืบค้นเมื่อ 2022-05-11.