พรวุฒิ สารสิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พรวุฒิ สารสิน
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด23 เมษายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์สุภาณี ดิศกุล (หย่า)
อาชีพนักธุรกิจ, นักการเมือง, นักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2550-ปัจจุบัน
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

พรวุฒิ สารสิน เป็นนักธุรกิจ นักการเมือง และนักแสดงชาวไทย ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด ซึ่งในประวัติการทำงานส่วนนี้ทำให้ได้รับฉายาว่า "เจ้าพ่อน้ำดำ"

ประวัติ[แก้]

พรวุฒิ สารสิน (ชื่อเล่น: ใหญ่) นักธุรกิจและนักแสดงชาวไทย เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2502 เป็นบุตรคนสุดท้องและบุตรชายเพียงคนเดียว ในจำนวนบุตรทั้ง 3 คน ของนายพงส์ และคุณหญิงมาลินี สารสิน (สกุลเดิม วรรณพฤกษ์) จบการศึกษาจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนจีลอง ประเทศออสเตรเลียและไฮสกูลคอนเน็กติกัน สหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยบอสตัน และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเปปเปอร์ไดน์

การทำงาน เป็นผู้จัดการโฆษณาของบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้จัดจำหน่ายและถือลิขสิทธิ์น้ำอัดลมยี่ห้อ "โค้ก" ในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นบุคคลแรกที่ได้ใช้ศิลปินเพลงที่กำลังมีชื่อเสียงในขณะนั้น คือ คาราบาว , ธงไชย แมคอินไตย์ และ อัสนี - วสันต์ เผยแพร่ภาพลักษณ์องค์กรในงานสาธารณกุศลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 จนถึงปัจจุบัน, เป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานการตลาดและโรงงานในปี พ.ศ. 2538, ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ และปัจจุบันเป็นรองประธานกรรมการ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด ซึ่งในประวัติการทำงานส่วนนี้ทำให้ได้รับฉายาว่า "เจ้าพ่อน้ำดำ"

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ หม่อมราชวงศ์สุภาณี ดิศกุล (ปัจจุบันได้หย่ากันแล้ว) ธิดาหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล และหม่อมอรพินทร์ ดิศกุล ณ อยุธยา (สกุลเดิม อินทรทูต) มีบุตร 2 คน คือ น.ส.แพร และ นายภูมิ สารสิน หลังการหย่าแล้วมีข่าวว่าสนใจ นัท มีเรีย นักแสดงสาวซึ่งหย่าขาดจากอดีตสามี เต๋า-สมชาย เข็มกลัด เช่นกัน โดยติดตามอยู่หลายปี แต่ทางฝ่ายนัท มีเรีย ได้ปฏิเสธ[1]

ผลงาน[แก้]

การเมือง[แก้]

ในส่วนงานการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในระบบบัญชีรายชื่อของพรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งทั่วไป ในปี พ.ศ. 2544[2] และได้รับเลือกเป็นกรรมการบริหารพรรคเมื่อ วันที่ 20 เมษายน 2546[3] และต่อมาเป็นที่ปรึกษาของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

การแสดง[แก้]

มีผลงานการแสดงครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2550 ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง พลอย จากการกำกับของ เป็นเอก รัตนเรือง ด้วยการรับบทเป็น "วิทย์" สามีที่มีปัญหาครอบครัวกับภรรยาในเรื่อง คือ "แดง" (แสดงโดย ลลิตา ปัญโญภาส) และในปี พ.ศ. 2553 จากเรื่อง อินทรีแดง ด้วยการรับบท "ดิเรก" นายกรัฐมนตรีที่ทะเยอทะยานทำได้ทุกอย่างเพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมือง จากการกำกับของ วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. “นัท” ไม่สนทั้ง “อั้ม” และ “พรวุฒิ สารสิน” บอกตอนนี้ขอเป็นโสดเพราะยังไม่เจอคนที่ดี[ลิงก์เสีย]
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[ลิงก์เสีย]
  3. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓๗, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]