สุธาวัลย์ เสถียรไทย
สุธาวัลย์ เสถียรไทย | |
---|---|
เกิด | สุธาวัลย์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา 24 กันยายน พ.ศ. 2501 |
ศิษย์เก่า | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทัฟส์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Ph.D.) |
อาชีพ | นักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย |
คู่สมรส | สุรเกียรติ์ เสถียรไทย |
บุตร | สันติธาร เสถียรไทย |
บิดามารดา | หม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ หม่อมราชวงศ์บุษบา สธนพงศ์ |
ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย (ราชสกุลเดิม ลดาวัลย์ ณ อยุธยา; เกิด 24 กันยายน พ.ศ. 2501) ชื่อเล่น หนู เป็นธิดาของหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ อดีตองคมนตรี กับท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ เป็นพระภาคิไนย[1]ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นพระภคินี (ลูกพี่ลูกน้อง) ฝ่ายพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นภรรยาของ ศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลของดร.ทักษิณ ชินวัตร[2]
ประวัติ
[แก้]ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ เสถียรไทย เกิดเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2501 เป็นธิดาเพียงคนเดียวของหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์[3] อดีตองคมนตรี กับท่านผู้หญิงบุษบา สธนพงศ์ (ราชสกุลเดิม กิติยากร) พระขนิษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง[4]
ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์เริ่มศึกษาที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แล้วจึงย้ายมาเรียนที่โรงเรียนจิตรลดา จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศึกษาระดับปริญญาตรีที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยทัฟทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านผู้หญิงได้มาเป็นนักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และได้รับทุนจากบริติช เคาน์ซิลไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้าน Land Economy ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ
ต่อมากลับมารับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐศาสตร์นิเวศ เป็นหัวหน้าโครงการศึกษา มีผลงานวิจัยเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกรณีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
ปัจจุบันลาออกจากราชการมาเป็นนักวิชาการอิสระ และก่อตั้งมูลนิธิสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนด้านวิชาการที่มุ่งดำเนินการศึกษาและวิจัยโดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อนำไปสู่การจัดการที่ดีและมีความเป็นธรรมต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ดร.ท่านผู้หญิงสุธาวัลย์ สมรสกับ ศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2523 มีบุตรเพียงคนเดียว คือ ดร.สันติธาร เสถียรไทย กรรมการอิสระ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด (มหาชน)
ผลงานหนังสือ
[แก้]- พ.ศ. 2554 ธรรมาภิบาลและกระบวนการนโยบายสาธารณะในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[8]
ลำดับสาแหรก
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://th.wiktionary.org/wiki/พระภาคิไนย
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค. คุณเนื่อง ลดาวัลย์ เก็บถาวร 2012-10-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เรียกดูเมื่อ 1 กันยายน 2555
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-11. สืบค้นเมื่อ 2018-08-07.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๑, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
- ↑ ลำดับราชินิกูลบางช้าง. พระนคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2501. p. 24.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2501
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ท่านผู้หญิง
- ราชสกุลกิติยากร
- ราชสกุลลดาวัลย์
- ณ อยุธยา
- อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์
- บุคคลจากโรงเรียนจิตรลดา
- นิสิตเก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากมหาวิทยาลัยทัฟส์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์