คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
![]() | |
ชื่ออังกฤษ | Faculty of Sport Science, Chulalongkorn University |
---|---|
ที่อยู่ | ถนนพระรามที่ 1 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 |
วันก่อตั้ง | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2541 |
คณบดี | ผศ.ดร.สิทธา พงษ์พิบูลย์ |
วารสาร | วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ |
สีประจำคณะ | สีส้ม |
สัญลักษณ์ | เกลียว |
เว็บไซต์ | www.spsc.chula.ac.th |
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เดิมชื่อว่า สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนามาจากภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศที่ให้ความสำคัญด้านการพลศึกษาและสุขศึกษา มีการผลิตบุคลากรสาขาวิชาพลศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2502 และผลิตบุคลากรสาขาพลศึกษาและสุขศึกษาในระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตมาอย่างต่อเนื่อง
ประวัติ[แก้]
- พ.ศ. 2502 เริ่มมีการผลิตบัณฑิต "สาขาวิชาพลศึกษา" ในระดับปริญญาบัณฑิตขึ้นที่ภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2535 ภาควิชาพลศึกษา มีแนวคิดที่จะพัฒนาไปสู่ระดับคณะ โดยใช้ชื่อ "คณะสุขศึกษาพลศึกษาและนันทนาการ" ทั้งนี้ เนื่องจาก พลศึกษาและสุขศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้นเป็นลำดับ แต่เนื่องจากสภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ คณะกรรมการทบวงมหาวิทยาลัย จึงได้มีมติให้ชะลอการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬาไว้ก่อน
- พ.ศ. 2541 ทบวงมหาวิทยาลัยตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการผลิตบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จึงมีมติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการในรูป "โครงการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา" รวมทั้งมีมติเห็นชอบบรรจุหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา ในระดับปริญญาตรี และสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อนุมัติให้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อให้วิชาการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาสามารถพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยจึงได้เสนอขอจัดตั้ง "สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา" เป็นหน่วยงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2541 หน่วยงานนี้มีพันธกิจเช่นเดียวกับคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย นับเป็นสำนักวิชาแห่งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2547 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาขึ้นประกอบด้วย 5 แขนงวิชา คือ แขนงวิชาสรีรวิทยาการกีฬา แขนงวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ แขนงวิชาการโค้ชกีฬา แขนงวิชาการจัดการนันทนาการการท่องเที่ยว และแขนงวิชาการจัดการกีฬา นับเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญยิ่งของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- พ.ศ. 2550 สำนักวิชาฯ ได้เปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทั้งภายในและภายนอกจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี คณะพยาบาลศาสตร์ คณะสหเวชศาสตร์ และคณะจิตวิทยาซึ่งเป็นหน่วยงานภายในจุฬา และหน่วยงานภายนอกจุฬา ฯ ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย อีกทั้งยังมีหน่วยงานในต่างประเทศร่วมมือให้การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนิสิต รวมทั้งข้อมูลทางวิชาการ หลักสูตรและการเรียนการสอน โดยแบ่งเป็น 3 แขนงวิชา คือ แขนงวิชาวิทยาการส่งเสริมสุขภาพ แขนงวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และแขนงวิชาการบริหารจัดการกีฬาและนันทนาการ
- พ.ศ. 2552 สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้เปลี่ยนเป็น คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา[1]
หลักสูตรการศึกษา[แก้]
ระดับปริญญาตรี | ระดับปริญญาโท | ระดับปริญญาเอก |
---|---|---|
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและสุขภาพ)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา)
|
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา)
|
ทำเนียบคณบดี[แก้]
รายนามคณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีดังนี้
รายนามคณบดี | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิลปชัย สุวรรณธาดา | พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2544 |
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิม ชัยวัชราภรณ์ | พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2552 |
3. รองศาสตราจารย์ ดร.วิชิต คนึงสุขเกษม | พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2555 |
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์ | พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2559 |
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันชัย บุญรอด | พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ส่วนงานของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๗, ตอนพิเศษ ๑๖ ง, ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓, หน้า ๗๐
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|