โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฝ่ายมัธยมศึกษา
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1กรกฏาคมพ.ศ. 2512
สำนักงานใหญ่181 หมู่ที่ 6 ถนนเจริญประดิษฐ์ ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ผศ.บัณฑิต ดุลยรักษ์, ผู้อำนวยการ
  • ผศ.จรีรัตน์ สาครินทร์, ที่ปรึกษาคณะผู้บริหาร
  • อ.มณฑกาน อรรถสงเคราะห์, รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ
  • อ.ต่วนยามีลา อัลอิดรุส, รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนานักเรียน
  • อ.ไกรรัตน์ นิลฉิม, รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร
  • อ.ธเนศ สุขมาตย์, รองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและพัฒนา
  • ผศ.กมล คงทอง, รองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการพิเศษ
ต้นสังกัดหน่วยงานคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เว็บไซต์satit.psu.ac.th

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฝ่ายมัธยมศึกษา เป็นโรงเรียนสาธิตในสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เริ่มก่อตั้งในปีพ.ศ. 2512 เป็นหน่วยงานเทียบเท่าสาขาวิชา (เดิม : ภาควิชา) ปัจจุบันมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์บัณฑิต ดุลยรักษ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน (หัวหน้าสาขาวิชา)

ประวัติ[แก้]

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 เป็นหน่วยงานมีฐานะเทียบเท่าสาขาวิชา สังกัดคณะศึกษาศาสตร์

ในปีการศึกษา 2512 ได้เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2503 เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของคณะศึกษาศาสตร์ในขณะนั้น ที่จะผลิตครูเพื่อสอนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย จึงเตรียมการให้โรงเรียนเป็นที่ฝึกทดลองสอนของ นักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ และมุ่งให้นักเรียนศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

ต่อมาปีการศึกษา 2518 คณะศึกษาศาสตร์จัดทำโครงการพิเศษเพื่อทดลอง รับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แนวศิลปศาสตร์ เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นปีแรก ในปี พ.ศ. 2519

ในปีการศึกษา 2526 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ขยายโครงการเพื่อรับนักเรียนจากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แนววิทยาศาสตร์ และแนวศิลปศาสตร์อย่างละ 1 กลุ่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนไทยมุสลิมได้ศึกษาในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และมีโอกาสเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษามากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามปรับปรุง คุณภาพการศึกษาของตน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายปรับปรุงโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม และในปีเดียวกันนั้น ทางโรงเรียนได้รับอนุมัติจากคณะ รัฐมนตรีให้ขยายโครงการเพื่อรับนักเรียนไทยมุสลิมจากโรงเรียนมัธยมสามัญทั่วไป ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย แนววิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ อย่างละ 1 กลุ่มอีกด้วย

ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนจัดทำโครงการเยาวชนช้างเผือก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) เพื่อรับนักเรียนที่มีความ สามารถพิเศษและความประพฤติดี จากโรงเรียนประถมศึกษา ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม 10 คน เข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โครงการ นี้มีระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537-2539 ขณะนี้โครงการ ได้สิ้นสุดแล้ว

นโยบายหลักที่สำคัญของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประการหนึ่ง คือการสนองนโยบายของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในด้านการผลิตครูระดับปริญญาตรี ซึ่งจะต้องใช้โรงเรียน และนักเรียนเป็น ที่ทดลองวิธีสอนแบบต่าง ๆ ทดลองการจัดการหลักสูตร การวิจัยทางการศึกษา และพฤติกรรมการเรียนการสอน

ปัจจุบันโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ฝ่ายมัธยมศึกษา) ได้จัดการสอนและ ประเมินผลตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดให้มี 3 แผนการเรียน คือ - แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ - แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์(มุสลิม) - ภาษาอังกฤษ -คณิตศาสตร์ - ภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน - ภาษาอังกฤษ - ภาษาญี่ปุ่น - ภาษาอังกฤษ - ภาษามลายู

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน[แก้]

  • ตราโรงเรียน ใช้ตราประจำมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ ตรามหาพิชัยมงกุฎ มีอักษรย่อ มอ. ซึ่งเป็นอักษรย่อ พระนามเดิมสมเด็จพระบรมราชชนก เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช
  • ดอกศรีตรัง ดอกไม้และสีประจำโรงเรียนดอกศรีตรัง เป็นไม้ในสกุลBignoniaceae ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Jacaranda ดอกศรีตรัง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศบราซิล เมื่อพระยารัษฎานุประดิษฐ์ (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เจ้าเมืองตรัง นำมาปลูก ครั้งแรกที่เมืองตรัง ท่านก็ให้ชื่อว่า "ศรีตรัง"
  • สีแสด เป็นสีประจำคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ใช้สีแสดเป็นสีประจำโรงเรียนด้วย

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง[แก้]

  • ภาณุ อุทัยรัตน์ สมาชิก วุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้อดีตเลขานุการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรรมการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อดีตเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) และอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทยอดีตที่ปรึกษาด้านความมั่นคง(เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน10 ชช) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย และเป็นเลขาธิการคนแรกของ ศอ.บต. ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • นาวาอากาศโท ปรัชญา ทิพยรัตน์ (ศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะศึกษาศาสตร์) ตำแหน่ง เสนาธิการ กองบิน 7 กองทัพอากาศ อดีตนักบินเครื่องบินขับไล่ F-16 กองบิน 1 และปัจจุบันเป็นนักบินเครื่องบินขับไล่ Gripen กองบิน 7 กองทัพอากาศ ได้รับประกาศเกียรติคุณจากโรงเรียนนายเรืออากาศสหรัฐอเมริกาว่า เป็นนักเรียนนายเรืออากาศชั้นเยี่ยม นับเป็นคนไทยคนแรกและเป็นคนต่างชาติคนที่ 2 ในรอบ 41 ปี ที่ได้รับตำแหน่งนักเรียนบังคับบัญชาขณะกำลังศึกษาที่ United Air Force Academy U.S.A กองทัพอากาศ
  • พุทธชาด พงศ์สุชาติ
  • ปาจรีย์ ณ นคร (พุดเดิล)
  • รอมฎอน ปันจอร์ ว่าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 20 พรรคก้าวไกล อดีตนักวิจัยอิสระ (2558-ปัจจุบัน) อดีตคิวเรเตอร์/บรรณาธิการ/เจ้าหน้าที่, ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ (DSW) (2549-ปัจจุบัน) อดีตคณะทำงานวิชาการ, โครงการความร่วมมือ Projek Sama Sama (2561-2565) อดีตอนุกรรมาธิการแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ฯ ภายใต้ กมธ.งบประมาณฯ สภาผู้แทนราษฎร (2562) อดีตผู้ช่วยนักวิจัย, คณะทำงานยุทธศาสตร์สันติวิธี (คยส.), สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) (2554-2564) อดีตกรรมการ, สภาประชาสังคมชายแดนใต้ (2559-2564) อดีตคณะทำงานพื้นที่กลางสร้างสันติภาพจากคนใน (Insider Peacebuilder Platform, IPP) (2554-2560) อดีตผู้ปฏิบัติงานประจำสมาชิกวุฒิสภา (จังหวัดสตูล) (2554-2551) อดีตผู้สื่อข่าวศูนย์ข่าวอิศรา สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย (2548-2549) อดีตผู้สื่อข่าวโต๊ะข่าวพิเศษ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน (2547-2551) อดีตผู้ประสานงานคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 16 สถาบัน (คอทส.) (2544-2545)