สันติ ทักราล
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
สันติ ทักราล | |
---|---|
![]() | |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 29 เมษายน พ.ศ. 2554 | |
ประธานศาลฎีกา คนที่ 33 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545 | |
ก่อนหน้า | ธวัชชัย พิทักษ์พล |
ถัดไป | อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2485 จังหวัดแพร่ |
เสียชีวิต | 29 เมษายน พ.ศ. 2554 (69 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร |
ศาสนา | ซิกข์ |
นายสันติ ทักราล (8 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 29 เมษายน พ.ศ. 2554) อดีตองคมนตรี (ถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่ง) และอดีตประธานศาลฎีกา
ประวัติ[แก้]
นายสันติ ทักราล เกิดที่จังหวัดแพร่ เป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดีย นับถือศาสนาซิกข์ บิดามารดามีอาชีพขายผ้า เป็นบุตรคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 6 คน ในสมัย รสช. ขณะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา นายสันติเป็นผู้รับผิดชอบคดี ยึดทรัพย์นักการเมือง 13 ราย
นายสันติ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2548[1]
นายสันติ ทักราล ถึงแก่อนิจกรรมจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 สิริอายุได้ 69 ปี โดยในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 15.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปยังศาลา 9 วัดเทพศิรินทราวาส ในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และวางพวงมาลาหลวง พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่หน้าโกศศพ
และในวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
การศึกษา[แก้]
- ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก
- พ.ศ. 2506 - ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2507 - เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- พ.ศ. 2516 - ประกาศนียบัตร Academy of American and International Law, S.M.U., สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2516 - ประกาศนียบัตรการอบรมผู้พิพากษา National College of State Judiciary, มหาวิทยาลัยเนวาดา สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2520 - ประกาศนียบัตร Administration of Criminal Justice, United Nations Asia and Far East Institute for the Prevention of Crime and Treatment of Offender, ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2523 - ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2546 - ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต[แก้]
- ประธานศาลฎีกา (2543-2544)
- รองประธานศาลฎีกา (2542-2543)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา (2541-2542)
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง (2539-2541)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (2536-2539)
- องคมนตรี (2548-2554)
- กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
- กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๓
- ผู้พิพากษาอาวุโสศาลภาษีอากรกลาง (2545-2548)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2550 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.)[2]
- พ.ศ. 2538 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2533 -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (นายสันติ ทักราล และ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐ จำนวน ๑๒๒ ราย), เล่ม ๑๒๔, ตอน ๖ ข, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐, หน้า ๑
- ↑ [1]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ก่อนหน้า | สันติ ทักราล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายธวัชชัย พิทักษ์พล | ![]() |
40x40px ประธานศาลฎีกา (คนที่ 33) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545) |
![]() |
นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2554
- องคมนตรี
- นักกฎหมายชาวไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- ผู้พิพากษาไทย
- สามัญสมาชิกเนติบัณฑิตยสภา
- ประธานศาลฎีกาไทย
- ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย
- บุคคลจากจังหวัดแพร่
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ชาวไทยที่นับถือศาสนาซิกข์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์