ศักดา โมกขมรรคกุล
ศักดา โมกขมรรคกุล | |
---|---|
![]() | |
ประธานศาลฎีกา คนที่ 29 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 30 กันยายน พ.ศ. 2541 | |
ก่อนหน้า | นายประมาณ ชันซื่อ |
ถัดไป | นายปิ่นทิพย์ สุจริตกุล |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2542 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ถึงแก่อสัญกรรมขณะดำรงตำแหน่ง | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 ธันวาคม พ.ศ. 2480 |
เสียชีวิต | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 (69 ปี) |
คู่สมรส | คุณหญิงสำรวย โมกขมรรคกุล |
ศาสนา | พุทธ |
นายศักดา โมกขมรรคกุล (8 ธันวาคม พ.ศ. 2480 - 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550) อดีตองคมนตรี และอดีตประธานศาลฎีกา สมรสกับแพทย์หญิง คุณหญิงสำรวย โมกขมรรคกุล
การศึกษา[แก้]
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- เนติบัณฑิตไทย
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 27
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสยาม (2539)
- นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (2540)
หน้าที่การงาน[แก้]
- ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2517
- ผู้พิพากษาศาลแพ่ง พ.ศ. 2522
- รองปลัดกระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2526
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา พ.ศ. 2532
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลาง พ.ศ. 2533
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง พ.ศ. 2534
- รองประธานศาลฎีกา พ.ศ. 2536
- ประธานศาลฎีกา 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 - 30 กันยายน พ.ศ. 2541
- กรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
- รองประธานกรรมการมูลนิธิปกเกล้าตุลาการ
นายศักดา โมกขมรรคกุล ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2542[1] ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ที่โรงพยาบาลเจ้าพระยา รวมอายุ 69 ปี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2546 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[2]
- พ.ศ. 2531 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2527 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2520 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[5]
- พ.ศ. 2531 –
เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (นายศักดา โมกขมรรคกุล)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๑๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๑
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |
หมวดหมู่:
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2480
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2550
- องคมนตรี
- นักกฎหมายชาวไทย
- ประธานศาลฎีกาไทย
- ข้าราชการฝ่ายตุลาการชาวไทย
- บุคคลจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ผู้ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสยาม
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์