ข้ามไปเนื้อหา

เมทินี ชโลธร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมทินี ชโลธร
ประธานศาลฎีกา คนที่ 46
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2564
ก่อนหน้าไสลเกษ วัฒนพันธุ์
ถัดไปปิยกุล บุญเพิ่ม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 ธันวาคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสพิริยะ ชโลธร
บุตรปณตพร ชโลธร ชลทัต ชโลธร

เมทินี ชโลธร (3 ธันวาคม พ.ศ. 2498) อดีตประธานศาลฎีกา คนที่ 46 โดยเป็นประธานศาลฏีกาหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ศาลยุติธรรมของประเทศไทย[1] ซึ่งมีชื่อเสียงจากการเข้าร่วมการชุมนุม กปปส. และเป็นประเด็นถกเถียงในเรื่องความเป็นกลางของข้าราชการตุลาการ[2]

ประวัติ

[แก้]

เมทินีสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย[3] ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารงานยุติธรรม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์​ ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์​ มหาวิทยาลัยรามคำแหง​ และ เนติบัณฑิต สำนักอบรม ศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา[4] สมรสกับนายพิริยะ ชโลธร และมีบุตรร่วมกันสองคนคือนางสาวปณตพร ชโลธร จบการศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง) ปริญญาโททางกฎหมายจาก Columbia University (New York City, NY) และ University of Chicago (Chicago, IL) ด้วนทุนของศาลยุติธรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและนายชลทัต ชโลธร ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวด้านดนตรีและการจัดงานต่างๆ[5]

ข้อวิจารณ์

[แก้]

เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563 มีผู้ใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์จำนวนหนึ่งเผยแพร่ภาพ ตั้งข้อสังเกตเป็นบุคคลหน้าคล้ายจนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็น 'เมทินี ชโลธร' ว่าในอดีตเคยร่วมชุมนุมกับกลุ่ม กปปส. โดยผู้ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คยังได้หยิบยกประมวลจริยธรรมข้าราชการศาลยุติธรรม ข้อ 4 ที่ระบุว่า ข้าราชการศาลยุติธรรมจักต้องวางตัวเป็นกลางและปราศจากอคติ ผู้สื่อข่าวจึงพยายามติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผ่านเบอร์โทรที่ให้ไว้ทางเว็บไซต์หน่วยงานเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพจริงหรือไม่ และทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการอย่างไร กลุ่มงานโฆษกและเผยแพร่ข่าว สำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวว่าไม่สามารถยืนยันรูปได้ พร้อมเสนอให้สอบถามไปยัง สำนักประธานศาลฎีกา ซึ่งผู้สื่อข่าวโทรศัพท์ไปสอบถามตามเบอร์โทรที่ให้ไว้บนเว็บไซต์ ได้รับคำตอบว่า ทางสำนักดูเพียงส่วนนโยบาย ไม่มีอำนาจที่จะตอบประเด็นนี้ได้ ต้องส่งเรื่องมาถาม และแนะนำให้โทรสอบถาม สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม หรือ กต. เมื่อผู้สื่อข่าวโทรติดต่อไปยัง ส่วนงานวินัยและส่งเสริมจริยธรรม สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ได้รับคำตอบเช่นเดียวกันคือไม่สามารถให้คำตอบได้ ไม่มีอำนาจที่จะตอบ[6]

เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2564 รองศาสตราจารย์ สมชาย ปรีชาศิลปกุล ได้เผยแพร่บทความ 'การร่วมชุมนุมกับ กปปส. “เป็นความสง่างามของผู้พิพากษา” ?' โดยบทความนั้นมีเนื้อความโดยย่อว่า แต่เดิมตนเข้าใจว่าว่าทางคณะกรรมการตุลาการ (ก.ต.) มิได้มีการตระหนักต่อประเด็นข้อสงสัยดังกล่าว แต่ในภายหลังที่ได้อ่านรายงานการประชุมของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ก็ได้พบว่าการเข้าร่วมการชุมนุมทางการเมืองของนางเมทินี เป็นประเด็นหนึ่งที่ได้มีการพิจารณาและอภิปรายในการประชุมของ ก.ต. ก่อนที่จะได้มีการแต่งตั้งประธานศาลฎีกาคนใหม่ขึ้นในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ในการประชุมของ ก.ต. ครั้งนี้ บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ความเห็นและพิจารณาต่อการร่วมชุมนุมของว่าที่ประธานศาลฎีกา (ในขณะนั้น) มีความหมายอย่างไร เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้หรือไม่ โดยขณะนั้น นางนุจรินทร์ จันทร์พรายศรี (ผู้พิพากษาศาลฎีกา) ได้อภิปรายถึงข้อการวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อนางเมทินีว่า วางตัวไม่เป็นกลาง เพราะเข้าไปร่วมการชุมนุม กปปส. โดนมีภาพถ่ายแสดงให้เห็นว่านั่งอยู่กับเพื่อนอีกคนหนึ่งในที่ชุมนุม แต่นุจรินทร์มีความเห็นว่า ไม่ได้มีสิ่งใดแสดงให้เห็นเลยว่าเป็นการสนับสนุนฝ่ายผู้ชุมนุม ส่วนนายวรสิทธิ์ โรจนพานิช (ผู้ทรงคุณวุฒิบุคคลภายนอก) ได้ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันกับนางนุจรินทร์ รวมทั้งยังมีความเห็นเพิ่มเติมว่าการเข้าไปร่วมชุมนุมกับ กปปส. นั้นควร “เป็นความสง่างามของผู้พิพากษา” เนื่องจากกระทำด้วยความรักชาติ รักสถาบัน ในขณะที่นายณรัช อิ่มสุขศรี (ศาลชั้นต้น) ก็มีความเห็นว่าเพียงการเข้าร่วมยังไม่อาจถือว่าเป็นการฝักใฝ่ทางการเมือง สำหรับเขาแล้วต้องแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น เข้าร่วมไฮด์ปาร์ก จึงจะถือว่าสร้างปัญหาแก่การทำงานในฐานะผู้พิพากษา มีเพียงนายกิจชัย จิตธารารักษ์ (ศาลฎีกา) ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นเพียงบุคคลคนเดียวในที่ประชุมที่ได้อภิปรายและพยายามยึดโยงกับประมวลจริยธรรมของข้าราชการตุลาการ รวมทั้งมีความเห็นว่าการกระทำดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม แต่ก็ยังไม่ใช่ความผิดที่ถึงขนาดจะทำให้ไม่ได้รับตำแหน่งประธานศาลฎีกา การตักเตือนก็อาจเป็นการเพียงพอ [7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ""เมทินี" ประธานศาลฎีกา เป็นผู้หญิงคนแรก". www.thairath.co.th. 2020-07-25.
  2. sleepyhead (2020-09-26). "ชาวเน็ตแห่แชร์ภาพ เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกาคนใหม่ เคยร่วมม็อบกปปส". Bright Today.
  3. "รางวัลนักเรียนเก่าดีเด่น ปี 64 | Samsen Alumni" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-20. สืบค้นเมื่อ 2021-10-15.
  4. "๐๐๑-๑-๑_๐๔๖ ประวัติและรูปประธานศาลฎีกา นางเมทินี ชโลธร วาระดำรงตำแหน่ง ๑ ต.ค. ๖๓ - ๓๐ ก.ย. ๖๔". opsc.coj.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-16.
  5. 21 (2016-10-17). "สำนักพระราชวังแจ้งหมายกำหนดการ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  6. "ว่อนเน็ต ภาพคนหน้าคล้าย ปธ.ศาลฎีกาคนใหม่ร่วมชุมนุม กปปส. เช็คหน่วยงานเกี่ยวข้องไม่สามารถให้คำตอบได้". prachatai.com.
  7. ปรีชาศิลปกุล, สมชาย (2021-01-24). "การร่วมชุมนุมกับ กปปส. "เป็นความสง่างามของผู้พิพากษา" ?". The 101 World (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒๖, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๒๗๗, ๒๕ มิถุนายน ๒๕๕๐