ประวัติ ปัตตพงศ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประวัติ ปัตตพงศ์
ประธานศาลฎีกา
ดำรงตำแหน่ง
15 ตุลาคม 2505 – 1 ตุลาคม 2506
ก่อนหน้าหลวงจำรูญเนติศาสตร์ (จำรูญ โปษยานนท์)
ถัดไปสัญญา ธรรมศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 ตุลาคม พ.ศ. 2445
ตำบลตลาดน้อย อำเภอสัมพันธวงศ์ จังหวัดพระนคร
เสียชีวิต21 มิถุนายน พ.ศ. 2515 (69 ปี)
โรงพยาบาลรามาธิบดี
เชื้อชาติไทย
คู่สมรสแฉล้ม ไกรจิตติ
ศิษย์เก่าเนติบัณฑิตไทย
อาชีพ
วิชาชีพข้าราชการฝ่ายตุลาการ

ประวัติ ปัตตพงศ์ หรือ หลวงธรรมนูญวุฒิกร (26 ตุลาคม พ.ศ. 2445 – 21 มิถุนายน พ.ศ. 2515[1]) อดีตประธานศาลฎีกา และได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวงการแบดมินตันของประเทศไทย

ใน พ.ศ. 2493 ประวัติ และผู้มีใจรักกีฬาแบดมินตันกลุ่มหนึ่ง อาทิ ยง อุทิศกุล และ ณัติ นิยมวานิช ได้ร่วมก่อตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยขึ้น พร้อมกับเรียนเชิญพระยาจินดารักษ์ (จำลอง สวัสดิ์-ชูโต) มาเป็นนายกสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศไทยคนแรก

ประวัติ จบการศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2505 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2506 ก่อนหน้านายสัญญา ธรรมศักดิ์

ประวัติ สมรสกับแฉล้ม ไกรจิตติ บุตรีพระยากฤตราชทรงสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2474

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://www.thaidk.com/pass1.html
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๑๐๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๕ ธันวาคม ๒๕๐๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๖, ๑๒ มกราคม ๒๕๐๐
  4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๒๕๐, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๐๕
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เก็บถาวร 2022-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๕, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๔ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๓๓๗๔, ๑๖ ธันวาคม ๒๔๙๐

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]