ข้ามไปเนื้อหา

หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา เกษมศรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รำพิอาภา เกษมศรี

เกิดหม่อมราชวงศ์รำพิอาภา สวัสดิวัตน์
25 ตุลาคม พ.ศ. 2480 (87 ปี)
คู่สมรสหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี
บุตรวนโสภิณ เกษมศรี ณ อยุธยา
นายแพทย์ทิวากร เกษมศรี ณ อยุธยา
พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา
บิดามารดาหม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์
หม่อมเจ้าสุวภาพเพราพรรณ สวัสดิวัตน์

หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา เกษมศรี (ราชสกุลเดิม สวัสดิวัตน์; เกิด 25 ตุลาคม พ.ศ. 2480)[1] ภริยา หม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี อดีตเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโตเกียว และกรุงวอชิงตัน และอดีตราชเลขาธิการ

หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา เกษมศรี มีชื่อเล่นว่า หรือ คุณหญิงเอ๋ย เป็นธิดาในหม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ (พระโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ ประสูติแต่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภาพรรณี) กับหม่อมเจ้าสุวภาพเพราพรรณ สวัสดิวัตน์ (ราชสกุลเดิม วุฒิชัย) (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ประสูติแต่หม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ ดิศกุล) คุณหญิงจึงเป็นพระราชปนัดดา(เหลน)ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทางฝ่ายบิดา และเป็นพระราชปนัดดา(เหลน)ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ทางฝ่ายมารดา มีพี่สาวคือหม่อมราชวงศ์สุวนันท์ วัลยะเสวี[2] สำเร็จการศึกษาจากประเทศอังกฤษ[3] สมรสกับหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี มีบุตรธิดา 3 คน[4] คือ

  • วนโสภิณ เกษมศรี ณ อยุธยา
  • นายแพทย์ทิวากร เกษมศรี ณ อยุธยา
  • พีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา

หม่อมราชวงศ์รำพิอาภา เกษมศรีมีศักดิ์เป็นพระภาติยะใน สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ด้านการงาน คุณหญิงเอ๋ยเป็นประธานชมรมเพื่อความจริงและความโปร่งใส ซึ่งมีส่วนร่วมในการประท้วงขับทักษิณ ชินวัตรออกจากตำแหน่ง[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ลำดับสาแหรก

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Mom Rajawongse Rambiabha Svastivatana
  2. HSH Prince Nandiyavat SVASTIVATANA
  3. Cheltenham Ladies"s College โรงเรียนนี้ลูกนักธุรกิจขอจอง[ลิงก์เสีย] ประชาชาติธุรกิจ ปีที่ 31 ฉบับที่ 3994 21 เมษายน พ.ศ. 2551
  4. ประวัติหม่อมหลวงพีระพงศ์ เกษมศรี จาก สุสาน.คอม[ลิงก์เสีย]
  5. ราชนิกุลเดือด “ทักษิณ” เปิดศึกชนฟ้า[ลิงก์เสีย] สำเนาจาก ผู้จัดการรายวัน 20 ก.ค. 2549
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๕๐, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๑๐ ง หน้า ๑๒๑๕๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๔
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๔, ๑๒ มีนาคม ๒๕๒๙