สัณฐาน ชยนนท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดร.สัณฐาน ชยนนท์
ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – 30 กันยายน พ.ศ. 2555
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าพลตำรวจโท วรพงษ์ ชิวปรีชา
ถัดไปพลตำรวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 (71 ปี)
อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ศาสนาพุทธ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ พลตำรวจโท ดร.สัณฐาน ชยนนท์ คณบดีวิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาอดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา เดิมมีนามสกุลว่า "คงกำเนิด"

จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสามัคคีวิทยา จังหวัดยะลา, มัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนโยธินบูรณะ, โรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 (ตท.12-รุ่นเดียวกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป), โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 28 (นรต.28-รุ่นเดียวกับ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี, พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา, พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัต), ปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และหลักสูตรบริหารงานตำรวจชั้นสูง รุ่นที่ 17 พ.ศ. 2559 จบปริญญาเอกจากคณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองมหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]รุ่นเดียวกับ วราเทพ รัตนากร

พล.ต.ท.สัณฐาน เริ่มต้นรับราชการโดยประจำอยู่ที่กองบัญชาการกองปราบปราม ก่อนจะย้ายไปประจำอยู่ที่กองบังคับการตำรวจน้ำ และย้ายไปประจำอยู่ที่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 ในพื้นที่ภาคใต้มาโดยตลอด จนกระทั่งได้เป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 (ผบ.ภ.8) ในปี พ.ศ. 2551

จากนั้นในปลายปี พ.ศ. 2552 ได้ย้ายมาเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ดูแลพื้นที่กรุงเทพมหานคร แทนที่ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา โดยได้รับการผลักดันจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง จนได้รับฉายาว่า "น.1 เทพประทาน"[2]

ในการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน หรือ นปช. ในต้นปี พ.ศ. 2553 พล.ต.ท.สัณฐานนับว่าเป็นบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทอย่างสูงในการดูแลการชุมนุม ด้วยการเป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และดูแลรับผิดชอบเหตุระเบิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามมาในพื้นที่กรุงเทพมหานครหลังการชุมนุมจบลงด้วย เช่น เหตุระเบิดที่หน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาราชดำริ หรือเหตุระเบิดที่ถนนรางน้ำ เป็นต้น[3][4] และเป็นโฆษกศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในกลางปี พ.ศ. 2553 พล.ต.ท.สัณฐาน ถูกย้ายไปเป็นผู้บัญชาการ สำนักงานกฎหมายและคดี โดยการทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นระยะเวลา 1 ปี พล.ต.ท.สัณฐานกล่าวว่า เหนื่อยที่สุดในชีวิต[5]

ในปี พ.ศ. 2554 พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ เลื่อนตำแหน่งเป็น ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. จบปริญญาเอกจากคณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองมหาวิทยาลัยรามคำแหง
  2. น.1 เทพประทาน ซดเกาเหลา-ร้าวฉาน-หมางเมิน สื่อฯ
  3. ยังไม่พบภาพคนร้ายวางระเบิดบิ๊กซี[ลิงก์เสีย]
  4. มาร์คชี้บึ้มรางน้ำแค่สร้างสถานการณ์
  5. พงศ์พัฒน์ - จักรทิพย์ จากคมชัดลึก
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒๐, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๕๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๘๗, ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๕