พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
เสนาบดีกระทรวงวัง | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2438 — พ.ศ. 2439 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ถัดไป | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย |
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง | พ.ศ. 2442 — พ.ศ. 2444 |
รัชสมัย | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ |
ถัดไป | สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช |
ประสูติ | 5 เมษายน พ.ศ. 2399 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
สิ้นพระชนม์ | 25 มกราคม พ.ศ. 2468 (68 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
หม่อม | 9 คน |
พระบุตร | 25 องค์ |
ราชสกุล | ทองใหญ่ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ในรัชกาลที่ 4 |
นายพลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (5 เมษายน พ.ศ. 2399 – 25 มกราคม พ.ศ. 2468) อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ในรัชกาลที่ 4 และเป็นต้นราชสกุลทองใหญ่
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาสังวาลย์ พระสนมโท ธิดานายศัลยวิชัยหุ้มแพร (ทองคำ ณ ราชสีมา) [1][2][3] เป็นพระเจ้าลูกเธอองค์ที่ 25 และเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 13 ในรัชกาลที่ 4 ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง จุลศักราช 1218 ตรงกับวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2399 เมื่อสมโภชเดือนแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ เพราะในวันประสูติมีผู้นำทองคำก้อนใหญ่ ซึ่งขุดได้ที่ตำบลบางสะพานในเวลานั้นได้เข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย ทรงถือว่าเป็นศุภนิมิตมงคลสำหรับพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์นี้
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ มีพระอนุชา พระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 3 พระองค์คือ
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายทองแถมถวัลยวงศ์ (ภายหลังได้รับสถาปนาเป็นกรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ต้นราชสกุลทองแถม)
- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าชายเจริญรุ่งราษี
- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิงกาญจนากร
พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ทรงเริ่มการศึกษาวิชาอักษรไทย และภาษาบาลี กับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษณา (พระราชธิดาในรัชกาลที่ 3) หม่อมเจ้าหญิงจอ นรินทรางกูร (พระธิดาในสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนรินทร์รณเรศ) และพระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศกับ นางแอนนา เลียวโนเว็น และ นายแป็ตเตอสัน จนสามารถตรัส และเขียนภาษาอังกฤษได้ดี
ผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2411 และเสด็จไปประทับ ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2418 และประทับที่วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) เมื่อลาสิกขาแล้วทรงศึกษาวิชากฎหมายจากขุนหลวงไกรศรี (หนู) แล้วเข้ารับราชการเป็นนักเรียนศาลฎีกาในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ เป็นอธิบดีศาลฎีกา
เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2418 ได้เกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ขึ้นในประเทศไทยพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ ได้ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คณะนักดาราศาสตร์อังกฤษได้ตั้งค่ายสังเกตสุริยุปราคาที่แหลมเจ้าลาย จังหวัดเพชรบุรี นักดาราศาสตร์เหล่านี้ไม่สามารถถ่ายภาพสุริยุปราคาไว้ได้ คงมีแต่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ และถูกบันทึกอยู่ในตำราดาราศาสตร์ ในนามของ Prince Tong
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมเมื่อ พ.ศ. 2424 เป็นกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงเป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในการรักษาดินแดนไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศสครั้งวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ฝ่ายใต้ปราบปรามกบฏจีนฮ่อในมณฑลลาวพวนจนสงบราบคาบ และได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี[4][5]
ในเวลาต่อมาทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลฝ่ายเหนือ พ.ศ. 2436 ในขณะดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวพวน ทรงตั้งกองบัญชาการมณฑลลาวพวนที่บ้านหมากแข้ง สร้างความเจริญจากหมู่บ้านชนบทจนเป็นเมืองอุดรซึ่งต่อมาได้ยกฐานะเป็นจังหวัดอุดรธานี
พ.ศ. 2442 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ[6]
ภายหลังเกิดคดีพญาระกาขึ้นในปี พ.ศ. 2452 - พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกระทำปัพพานียกรรม ขับกรมหลวงประจักษ์ฯ และพระโอรส-ธิดาออกจากพระราชสำนัก พระองค์เองทรงถูกห้ามมิให้เข้าเฝ้าในที่รโหฐาน ให้เฝ้าได้แต่ในท้องพระโรงหรือในที่มีผู้เฝ้าอยู่มากเท่านั้น ห้ามหม่อมเจ้าไศลทองโดยเฉพาะมิให้เข้าในเขตพระราชฐาน และห้ามหม่อมเจ้าหญิงชายอื่น ๆ ในกรมหลวงประจักษ์ฯ มิให้ขึ้นสู่พระราชมณเฑียร ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2453 เป็นต้นมาจนตลอดรัชกาลก็มิได้พ้นพระราชอาญาจนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สวรรคต
สิ้นพระชนม์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม สิ้นพระชนม์ด้วยโรคพระอันตะ (ไส้ใหญ่ ) พิการ ณ วังตรอกสาเก เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2467 (นับแบบปัจจุบันเป็น พ.ศ. 2468) เวลา 18.00 น. สิริพระชันษาได้ 68 ปี 295 วัน วันต่อมา เวลา 17.00 น. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช เสด็จแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำหลวงสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพขึ้นรถพระวอวิมานไปพระที่นั่งทรงธรรม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เชิญพระศพขึ้นตั้งบนแว่นฟ้าสองชั้น ประกอบโกศมณฑป แวดล้อมด้วยเครื่องสูง สมเด็จกรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทรงทอดผ้าไตรถวายพระภิกษุ 20 รูป มีสมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) เป็นประธาน[7] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ในระหว่างวันที่ 3 - 5 พฤษภาคม 2469 ในการนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระโกศทองน้อยทรงพระศพ ฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น แขวนเหนือพระโกศ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี พระราชทานเพลิงพระศพ
พระโอรสและพระธิดา
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม มีหม่อม 9 คน ได้แก่
- หม่อมสุวรรณ (สกุลเดิม นาครทรรพ)
- หม่อมพริ้ง (สกุลเดิม นาครทรรพ)
- หม่อมแจ่ม (สกุลเดิม นาครทรรพ)
- หม่อมจันทร์ (สกุลเดิม นาครทรรพ)
- หม่อมนวม (สกุลเดิม นาครทรรพ)
- หม่อมเปลี่ยน
- หม่อมทองสุก หรือหม่อมศุข (สกุลเดิม สุริยวงศ์)
- หม่อมเติม (สกุลเดิม นาครทรรพ)
- หม่อมแก้ว (สกุลเดิม นาครทรรพ)
มีพระโอรส 11 องค์ และมีพระธิดา 15 องค์ รวม 26 องค์ ได้แก่
ลำดับ | พระรูปและพระนาม | เพศ | พระมารดา | ประสูติ | สิ้นชีพิตักษัย | คู่สมรส |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | หม่อมเจ้าสุพรรณ์พิมพ์ | ญ. | หม่อมสุวรรณ | ไม่มีข้อมูล | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2432 | |
2 | หม่อมเจ้าประสบสุวรรณ | ญ. | หม่อมสุวรรณ | 7 ธันวาคม พ.ศ. 2419 | พ.ศ. 2422 | |
3 | หม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ | ช. | หม่อมพริ้ง | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2429[8] | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 | หม่อมลุดมิลา ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
4 | หม่อมเจ้าอุไรวรรณ ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมจันทร์ | 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2431[8] | 10 เมษายน พ.ศ. 2520 | |
5 | หม่อมเจ้าทองอนุวัติ ทองใหญ่ | ช. | หม่อมพริ้ง | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2431[8] | 9 เมษายน พ.ศ. 2496 | หม่อมเยื้อน ทองใหญ่ ณ อยุธยา หม่อมจรูญ ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
6 | หม่อมเจ้าพันธ์สิหิงค์ ทองแถม | ญ. | หม่อมนวม | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2433[8] | 20 มกราคม พ.ศ. 2476 | หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม |
7 | หม่อมเจ้าสอิ้งมาศ ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมจันทร์ | 16 กันยายน พ.ศ. 2435[8] | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 | |
8 | หม่อมเจ้านาฏนพคุณ ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมนวม | พ.ศ. 2435 | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2456 | หม่อมเจ้าพันธุคำนพคุณ ทองแถม |
9 | หม่อมเจ้าทองมุ่นใหญ่ ทองใหญ่ | ช. | หม่อมเปลี่ยน | 5 มกราคม พ.ศ. 2437[8] | พ.ศ. 2506 | |
10 | หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่ | ช. | หม่อมนวม | 9 มีนาคม พ.ศ. 2437[8] | 30 ตุลาคม พ.ศ. 2512 | หม่อมฟ้อน ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
11 | หม่อมเจ้าก่องกาญจนา ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมทองสุก | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2438[8] | พ.ศ. 2506 | |
12 | หม่อมเจ้ามาลากนก ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมจันทร์ | 5 มีนาคม พ.ศ. 2439[8] | 1 เมษายน พ.ศ. 2483 | |
13 | หม่อมเจ้ามาลกสุวรรณ ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมเปลี่ยน | มีนาคม พ.ศ. 2439 | 1 เมษายน พ.ศ. 2468
ถึง 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[8] |
|
14 | หม่อมเจ้ากรัณฑ์คำ ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมทองสุก | 22 ตุลาคม พ.ศ. 2439[8] | 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 | |
15 | หม่อมเจ้าลำทองแร่ ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมนวม | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440[8] | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2493 | ไต๋ ปาณิกบุตร |
16 | หม่อมเจ้าแพร่ทองทราย ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมนวม | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2441[8] | 7 ตุลาคม พ.ศ. 2527 | เภตรา ณ หนองคาย |
17 | หม่อมเจ้าข่ายทองถัก ทองแถม | ญ. | หม่อมเปลี่ยน | 10 สิงหาคม พ.ศ. 2441[8] | 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 | หม่อมเจ้าทองเชื้อธรรมชาติ ทองแถม |
18 | สลักทองนูน คเนจร | ญ. | หม่อมนวม | 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2443[8] | 26 สิงหาคม พ.ศ. 2531 | หลวงคัคณจรเสนีย์ (หม่อมหลวงอารี คเนจร) |
19 | หม่อมเจ้าโหล | ช. | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล | ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[8] | |
20 | หม่อมเจ้าลายฉลุทอง ทองใหญ่ | ช. | หม่อมจันทร์ | 19 กันยายน พ.ศ. 2444[8] | 13 มีนาคม พ.ศ. 2534 | หม่อมเจ้านงลักษณ์ทัศนีย์ ทองใหญ่ หม่อมพริ้ม ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
21 | หม่อมเจ้าทองทูลถวาย ทองใหญ่ | ช. | หม่อมนวม | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2446[8] | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2530 | หม่อมสำเนียง ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
22 | หม่อมเจ้าเถาทองตรา ทองใหญ่ | ญ. | หม่อมจันทร์ | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2448[8] | พ.ศ. 2496 | |
23 | หม่อมเจ้าทองประทาศรี ทองใหญ่ | ช. | หม่อมนวม | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2449[8] | 2 มกราคม พ.ศ. 2526 | หม่อมราชวงศ์วลี ทองใหญ่ หม่อมคำนวณ ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
24 | หม่อมเจ้าทองแกมแก้ว ทองใหญ่ | ช. | หม่อมแก้ว | 11 กันยายน พ.ศ. 2449[8] | 15 เมษายน พ.ศ. 2533 | หม่อมประกายคำ ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
25 | หม่อมเจ้าทองคำเปลว ทองใหญ่ | ช. | หม่อมนวม | 1 เมษายน พ.ศ. 2455[8] | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 | หม่อมอรพิน ทองใหญ่ ณ อยุธยา |
26 | หม่อมเจ้าแดง | ช. | ไม่มีข้อมูล | ไม่มีข้อมูล | ก่อน 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[8] |
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (5 เมษายน พ.ศ. 2399 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าทองกองก้อนใหญ่ (1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2424)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม (พ.ศ. 2424 - 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442)
- พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 - 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 - 25 มกราคม พ.ศ. 2467)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ทรงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม
[แก้]- พ.ศ. 2425 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2430 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[10]
- พ.ศ. 2436 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2430 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[12]
- พ.ศ. 2442 – เหรียญปราบฮ่อ (ร.ป.ฮ.)[13]
- พ.ศ. 2436 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน (ร.ด.ม.(ผ))[14]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ))[15]
- พ.ศ. 2440 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[16]
- พ.ศ. 2452 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[17]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)[18]
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[19]
- พ.ศ. 2425 – เหรียญสตพรรษมาลา (ส.ม.)
- พ.ศ. 2436 – เหรียญรัชฎาภิเศกมาลา (ร.ศ.)
- พ.ศ. 2440 – เหรียญประพาสมาลา (ร.ป.ม.)
- พ.ศ. 2441 – เหรียญราชินี (ส.ผ.)[20]
- พ.ศ. 2446 – เหรียญทวีธาภิเศก (ท.ศ.)
- พ.ศ. 2450 – เหรียญรัชมงคล (ร.ร.ม.)
- พ.ศ. 2451 – เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- ญี่ปุ่น :
- พ.ศ. 2431 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัย ชั้นที่ 1[21]
- ออสเตรีย-ฮังการี :
- พ.ศ. 2432 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเหล็ก ชั้นที่ 1[22]
- รัสเซีย :
- พ.ศ. 2434 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญอันนา ชั้นที่ 1[23]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2445 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 1[24]
พระยศ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | |
---|---|
รับใช้ | ไทย |
แผนก/ | กองทัพบกสยาม |
ชั้นยศ | พลตรี |
พระยศทหาร
[แก้]- นายพลตรี
พระอนุสรณ์
[แก้]- พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณภายในพื้นที่ค่ายประจักษ์ศิลปาคม กรมทหารราบที่ 13 มณฑลทหารบกที่ 24 อุดรธานี เป็นพระอนุสาวรีย์ทรงยืนขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นสถานที่สักการะของทหารในสังกัดมณฑลทหารบกที่ 24
- พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณห้าแยกกรมหลวงประจักษ์ ถนนทหาร ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ที่สร้างขึ้นสำหรับเป็นสถานที่สักการะของประชาชนทั่วไป แต่เดิมประดิษฐานอยู่ที่ สนามทุ่งศรีเมือง ต่อมาจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ห้าแยกกรมหลวงประจักษ์
- พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม เป็นพระอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ตั้งอยู่บริเวณภายในโรงเรียนประจักษ์ศิลปาคม อำเภอประจักษ์ศิลปาคม
วันก่อตั้งเมืองอุดรธานี
[แก้]วันที่ 18 มกราคม ของทุกปีเป็นวันที่พลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ยกทัพมาสร้างบ้านแปลงเมือง ณ บ้านเดื่อหมากแข้ง ทางจังหวัดอุดรธานีจึงได้เลือกวันดังกล่าวเป็นวันเฉลิมฉลองครบรอบการก่อตั้งเมืองอุดรธานีและจะมีการรำบวงสรวงทุกปีเพื่อแสดงออกถึงความรักและความสามัคคีของคนอุดรธานี
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมศิลปากร, จดหมายเหตุนครราชสีมา 11 กันยายน พ.ศ. 2497, พิมพ์สนองคุณ เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น ณ ราชสีมา) และ เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินท์ ณ ราชสีมา), กรุงเทพฯ: ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ป.ป.)
- ↑ ต้นสกุล ณ ราชสีมา ย้อนเรื่อง เมืองโคราช
- ↑ หากนับทางสายสกุลพระมารดา กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคมทรงเป็นผู้สืบสายสกุล “ณ ราชสีมา” ชั้น 5 สาย "พระยาสุริยเดช (ทัศน์ รายณสุข ณ ราชสีมา)" และ ชั้น 4 สาย "เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอินทร์ ณ ราชสีมา)"
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งผู้บัญชาการกรมทหารเรือและผู้บังคับการกรมต่าง ๆ
- ↑ "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา. 41 (ง): 3849. 1 กุมภาพันธ์ 2467. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2563.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 8.18 8.19 8.20 8.21 8.22 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, ตำนานเครื่องราชอิศริยาภรณ์สยาม, พระนคร, โสภณพิพรรฒธนากร, 2468
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม ๔ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๒๕๙, ๒๒ พฤศจิกายน ๑๒๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๔๑๕, ๑๗ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานบำเหน็จความชอบแม่ทัพนายกอง และเจ้านครหลวงพระบางทูลลา, เล่ม ๔ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๒๖๓, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญปราบฮ่อ, เล่ม ๑๖ ตอนที่ ๒๔ หน้า ๓๑๘, ๑๐ กันยายน ๑๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๔๐๔, ๑๐ ธันวาคม ๑๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๔๕, ๑๐ ตุลาคม ๑๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๔ ตอนที่ ๑ หน้า ๒๔, ๔ เมษายน ๑๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๕๙๗, ๒๔ ตุลาคม ๑๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๔, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๒, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญราชินี, เล่ม ๑๕ ตอนที่ ๒๖ หน้า ๒๘๓, ๒๕ กันยายน ๑๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยยศญี่ปุ่น, เล่ม ๕ ตอนที่ ๒๒ หน้า ๑๗๙, ๑ ตุลาคม ๑๒๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ออสเตรีย, เล่ม ๖ ตอนที่ ๒๑ หน้า ๑๗๕, ๒๕ สิงหาคม ๑๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์รุสเซีย, เล่ม ๘ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๔๑๔, ๗ กุมภาพันธ์ ๑๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๔๖ หน้า ๓๑๖, ๒๐ กรกฎาคม ๑๒๑
- Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | รั้งตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ (2 กันยายน พ.ศ. 2442 - 15 มกราคม พ.ศ. 2443) |
พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) | ||
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ | เสนาบดีกระทรวงกลาโหม (พ.ศ. 2442 - พ.ศ. 2444) |
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2399
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2467
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- พระองค์เจ้าชาย
- กรมหลวง
- พระราชโอรสในรัชกาลที่ 4
- องคมนตรีในรัชกาลที่ 5
- ราชสกุลทองใหญ่
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย
- นักดาราศาสตร์ชาวไทย
- ทหารเรือชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ผ)
- ผู้ได้รับเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ จ.ป.ร.2
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- สกุล ณ ราชสีมา
- เสียชีวิตจากโรคระบบทางเดินอาหาร
- สมาชิกเครื่องราชอิสริยาภรณ์อาทิตย์อุทัยชั้นที่ 1
- ผู้ก่อตั้งเมืองชาวไทย
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์