อะดุง พันธุ์เอี่ยม
อะดุง พันธุ์เอี่ยม | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2566 – 30 กันยายน พ.ศ. 2567[a] | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ |
ถัดไป | พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
สมาชิกโดยตำแหน่ง 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567[b] | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ประเทศไทย |
คู่สมรส | กีรตา ศรีภูริรักษ์ (สมรส 2543) |
บุตร | 2 คน |
บุพการี |
|
การศึกษา |
|
ทรัพย์สินสุทธิ | 52 ล้านบาท (พ.ศ. 2567)[1] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพเรือไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2530 – พ.ศ. 2567 |
ยศ | พลเรือเอก |
บังคับบัญชา | กองทัพเรือไทย กองเรือยุทธการ |
พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม (15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) เป็นนายทหารเรือชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ เช่น ตุลาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ และกรรมการสภาลูกเสือไทย
ประวัติ
[แก้]ชีวิตส่วนตัว
[แก้]พล.ร.อ. อะดุง เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 ณ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
การศึกษา
[แก้]จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 23 ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมไฟฟ้าจากโรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 80 และปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยรามคำแหง (เกียรตินิยม อันดับ 1)[2]
รับราชการ
[แก้]พล.ร.อ. อะดุง เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ดังนี้
- เป็นนายทหารเสนาธิการ กองเรือยุทธการ
- นายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองเสนาธิการทหารเรือ
- รองผู้อำนวยการกองยุทธการ กรมยุทธการทหารเรือ
- ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารเรือ ประจำกรุงแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย
- ผู้บังคับการโรงเรียนชุมพลทหารเรือ
- รองผู้บัญชาการฐานทัพเรือกรุงเทพ
- ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ
- เจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ
และผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ กระทั่งวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ในที่ประชุมสภากลาโหม ซึ่งที่ประชุมมีมติเลือก พล.ร.อ. อะดุง ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารเรือสืบต่อจาก พล.ร.อ. เชิงชาย ชมเชิงแพทย์[3] ต่อมาในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พล.ร.อ. อะดุง เป็นผู้บัญชาการทหารเรืออย่างเป็นทางการ[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2565 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2556 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, บัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของ พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ กรณีพ้นจากตำแหน่งและพ้นจากการเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ, สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2568
- ↑ พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผบ.ทร.คนที่ 57
- ↑ "ประยุทธ์"เคาะโผทหาร"บิ๊กต่อ"คุมทบ."บิ๊กดุง"นั่งทร."บิ๊กไก่"คุมทัพฟ้า
- ↑ โปรดเกล้าฯ นายทหารรับราชการ 762 ตำแหน่ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๗, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๒๗, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๕, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๔๑, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๑๐ ข หน้า ๗๕, ๓ มิถุนายน ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๒๔๙, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
- ↑ Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy Receives Prestigious Military Award