ทวีศักดิ์ โสมาภา
ทวีศักดิ์ โสมาภา | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2546[1] | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร[2] |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก ประเสริฐ บุญทรง[1] |
ถัดไป | พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์[3] |
เสนาธิการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2543 – พ.ศ. 2545 | |
เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2540 – พ.ศ. 2543 | |
เจ้ากรมยุทธการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2540 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2485[4] ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ[6] |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยเสนาธิการทหาร[5] วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร[4] โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ[4] โรงเรียนนายเรือ[4] โรงเรียนเตรียมทหาร[4] โรงเรียนอำนวยศิลป์[4] |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพเรือไทย[7][8] |
ยศ | พลเรือเอก[9] |
บังคับบัญชา | กองทัพเรือไทย[2] |
ผ่านศึก | สงครามเวียดนาม[4] ปฏิบัติการโปเชนตง[2] |
พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา (18 ตุลาคม พ.ศ. 2485[4] – ) หรือ บิ๊กช้าง[10] เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ แห่งกองทัพเรือไทย[11][12] ซึ่งเคยออกปฏิบัติการในสงครามเวียดนาม ด้วยเรือหลวงพงัน[4] ตลอดจนเป็นผู้ร่วมวางแผนอพยพคนไทยในปฏิบัติการโปเชนตง ด้วยเรือหลวงจักรีนฤเบศร พร้อมด้วยเรือหลวงพุทธเลิศหล้านภาลัย, เรือหลวงสุโขทัย, เรือหลวงสู้ไพรินทร์, เรือหลวงศรีราชา และเรือ ต.82[2]
ประวัติ
[แก้]ทวีศักดิ์ โสมาภา สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ และเป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 1 ก่อนเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 58, โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 38 และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 39 กระทั่งเข้ารับตำแหน่งสำคัญ อาทิ เจ้ากรมยุทธการทหารเรือเมื่อ พ.ศ. 2537, เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือเมื่อ พ.ศ. 2540, เสนาธิการทหารเรือเมื่อ พ.ศ. 2543 และผู้บัญชาการทหารเรือเมื่อ พ.ศ. 2545[4]
นอกจากนี้ เขายังเคยเป็นนายกสมาคมกีฬาแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์[13][14][15][16] ซึ่งมีนักกีฬาทีมชาติไทยรับรางวัลเหรียญทองเอเชียนเกมส์ในยุคที่เขาดำรงตำแหน่ง[17] ตลอดจนดำรงตำแหน่งเป็นประธานมูลนิธิพระบรมราชานุเสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า[18][19]
กิจกรรมด้านศาสนา
[แก้]พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา ได้สร้างพระคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค (บาลี–ไทย) ภาค ๔ ฉบับภูมิพโลภิกขุ ในโอกาสฉลองครบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2525 เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา[20] และเขาเป็นผู้ปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่อัญเชิญมาจากอนุราธปุระ สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ณ กรมสื่อสารทหารเรือ[21]
กิจกรรมเพื่อสังคม
[แก้]พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา เป็นผู้สนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งเขาได้สั่งการให้โรงเรียนชุมพลทหารเรือสำรวจและพัฒนาหาดทรายแก้ว ที่มีความยาวประมาณ 1,700 เมตร โดยเน้นในเชิงการอนุรักษ์ธรรมชาติ[22]
รางวัลที่ได้รับ
[แก้]- พ.ศ. 2545 – รางวัลเกียรติยศจักรดาว สาขาบริหารการปกครองและเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ[23]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[24]
- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[25]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[26]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.)[27]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[28]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[29]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[30]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]- สวีเดน :
- พ.ศ. 2546 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นทวีตริตาภรณ์[31]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2547 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์เกปาละวานัน อังกะตัน เตนเตรา ชั้นที่ 1[32]
- สิงคโปร์ :
- พ.ศ. 2547 - เหรียญปิงกัต จาซา เกมิลัง (เท็นเทรา)[32]
- เวียดนามใต้ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ - เหรียญรณรงค์เวียดนาม[33]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "รายนามผู้บัญชาการทหารเรือ - Thai Seafarer Community". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 ย้อนอดีต! ปฏิบัติการโปเชนตง เมื่อกองทัพไทย เปิดปฏิบัติการช่วยคนไทยจากกัมพูชา
- ↑ พิธีส่งมอบ หน้าที่ ผู้บัญชาการทหารเรือ - RYT9
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 "พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา - โรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ "รายชื่อศิษย์เก่านักศึกษาวิทยาลัยเสนาธิการทหาร รุ่นที่ 28". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ "บิ๊กอุ้ย" จัดงาน 114 ปี วันกองทัพเรือ 7 อดีต ผบ.ทร.ร่วมงานอบอุ่น
- ↑ 'บิ๊กอุ้ย' ปธ.พิธีทำบุญวันกองทัพเรือปี 63 อดีต ผบ.ทร.ตบเท้าร่วมงาน
- ↑ ผบ.ทร.ไม่ชะลอโครงการเรือดำน้ำล็อต 2 - คมชัดลึก
- ↑ ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิ - ราชกิจจานุเบกษา
- ↑ "6 อดีต ผบ.ทร.ร่วมงาน 112 ปี วันกองทัพเรือ – LLpch.news". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ “บิ๊กลือ” ทำบุญ 113 ปี กองทัพเรือ ลั่นทำตามระเบียบไม่ชะลอโครงการเรือดำน้ำล็อต 2
- ↑ ทร. เตรียมโชว์วีดิทัศน์แผนพัฒนากองทัพเรือ ครบรอบ 113 ปี
- ↑ แชมป์โลกคนใหม่ ‘กีรติ’ เด็กไทยวัย 14 ปี ปิดฉากการแข่งขันเรือใบ Sizzler BYTE CII World Championship สวยงาม
- ↑ พิธีมอบเงินสนับสนุนกิจการสมาคมแข่งเรือใบแห่งประเทศไทย - RYT9
- ↑ การแถลงข่าวการจัดการแข่งขันเรือใบ "หัวหินรีกัตต้า - RYT9
- ↑ 'ซูเปอร์มด' ร่วมแล่นใบหัวหินรีกัตต้าฉลอง 60 ปีในหลวง - ผู้จัดการ
- ↑ ผลงานกีฬา"เรือใบ"ที่ถูกมองข้าม - Thai PBS News
- ↑ มิตรแท้ฯ ถวายราชสักการะวันปิยมหาราช วางพวงมาลา ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า
- ↑ มิตรแท้ฯ ถวายราชสักการะวันปิยมหาราช - บ้านเมือง
- ↑ หน้า ๑-๒๐๔
- ↑ ๑๙ พฤษภาคม วันอาภากร - กรมสารบรรณทหารเรือ
- ↑ "หาดทรายแก้ว - เทศบาลนครแหลมฉบัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2021-06-13.
- ↑ รางวัลเกียรติจักรดาวดีเด่น 3 ป.ป้อม-ป้อก-ประยุทธ์ ‘ทักษิณ’ ก็เคยได้
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2021-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๖ มิถุนายน ๒๕๑๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๑๕๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓๒๓, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 120 ตอนที่ 4 ข หน้า 5, 7 มีนาคม 2546
- ↑ 32.0 32.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศและเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม 121 ตอนที่ 2 ข หน้า 31, 20 กุมภาพันธ์ 2547
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=477165707779084&set=pcb.477165924445729
- ผู้ได้รับเหรียญชัยสมรภูมิ
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2485
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
- ทหารเรือชาวไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอำนวยศิลป์
- บุคคลจากโรงเรียนเตรียมทหาร
- บุคคลจากโรงเรียนนายเรือ
- บุคคลจากโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ
- บุคคลจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- พุทธศาสนิกชนชาวไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ บ.ช.
- สมาชิกเหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญราชการชายแดน
- ผู้ได้รับเหรียญจักรมาลา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.