ณะ อารีนิจ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ณะ อารีนิจ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
27 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าไกรสร จันทร์สุวานิชย์
ถัดไปนริส ประทุมสุวรรณ
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ก่อนหน้าไกรสร จันทร์สุวานิชย์ (ทร.)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด8 ธันวาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสปรานี อารีนิจ
ศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15)
โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 72
ชื่อเล่นณะ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ ไทย
สังกัดกองทัพเรือไทย
ยศ พลเรือเอก
บังคับบัญชากองทัพเรือไทย

พลเรือเอก ณะ อารีนิจ ราชองครักษ์พิเศษ[1]ราชองครักษ์เวร[2] ผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย, ตุลาการศาลทหารสูงสุด[3] ผู้บัญชาการทหารเรือ, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, อดีตสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประธานกรรมการบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก[4]กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว[5] กรรมการในคณะกรรมการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี การประกาศใช้ธงไตรรงค์เป็นธงชาติไทย ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559[6]

กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[7] รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นอดีตเสนาธิการทหารเรือ, อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ

ประวัติ[แก้]

พลเรือเอก ณะ อารีนิจ หรือที่บรรดาสื่อมวลชนเรียกว่า บิ๊กณะ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรชายของ พลโท ประเทือง และนางอร่าม อารีนิจ จบการศึกษาจากโรงเรียนมัธยมสาธิตวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 15 (ตท.15 รุ่นเดียวกับพลเอก ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม) และ โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 72

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางปรานี อารีนิจ มีบุตร ๑ คน

การรับราชการ[แก้]

  • พ.ศ. 2552 ผู้อำนวยการ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ[8]
  • พ.ศ. 2554 เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือ[9]
  • พ.ศ. 2556 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ (อัตรา พลเรือเอก)[10]
  • พ.ศ. 2557 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ[11]
  • พ.ศ. 2558 เสนาธิการทหารเรือ[12]
  • พ.ศ. 2558 ผู้บัญชาการทหารเรือ[13]

ผู้บัญชาการทหารเรือ[แก้]

ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558[14] ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ พลเรือเอก ณะ ซึ่งเป็นเสนาธิการทหารเรือ ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการทหารเรือแทนพลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ที่จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558 โดยเริ่มดำรงตำแหน่งในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ซึ่งในขณะนั้นมี พลเรือเอก ณรงค์พล ณ บางช้าง ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นตัวเต็งที่จะได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ แต่ท้ายที่สุด พลเรือเอก ณะ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ส่วนพลเรือเอก ณรงค์พล ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[แก้]

วันที่ 27 ตุลาคม 2558[15] ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง พลเรือเอก ณะ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพร้อมกับพลเรือเอก พัลลภ ตศิมานนท์ เสนาธิการทหารเรือ และพลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

รางวัลที่ได้รับ[แก้]

  • รางวัลเกียรติยศจักรดาว ปี 2559[16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์พิเศษ
  2. ประกาศแต่งตั้งราชองครักษ์เวร
  3. บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย และ ตุลาการศาลทหารสูงสุด
  4. "กรรมการในคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-15. สืบค้นเมื่อ 2017-01-18.
  5. กรรมการในคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
  6. "คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 210/2559" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-10-09. สืบค้นเมื่อ 2017-09-05.
  7. กรรมการในคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
  8. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๖ ตอน พิเศษ ๑๕๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
  9. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๒๘ ตอน พิเศษ ๑๑๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๔
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๐ ตอน พิเศษ ๑๑๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖
  11. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๑ ตอน พิเศษ ๑๗๖ ง ราชกิจจานุเบกษา ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๖๗ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ เล่ม ๑๓๒ ตอน พิเศษ ๑๙๘ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๘
  14. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอน 198 ง หน้า 1 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558
  15. ราชกิจจานุเบกษา พระบรมราชโองการ โปรดเกล้าแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม เล่ม 132 ตอน 269 ง พิเศษ หน้า 1 27 ตุลาคม 2558
  16. "ทำเนียบประธานกรรมการมูลนิธิศิษย์เก่าโรงเรียนเตรียมทหาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-11. สืบค้นเมื่อ 2019-04-11.
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖ เก็บถาวร 2013-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๔, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๑๓, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน เก็บถาวร 2021-08-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๓ ข หน้า ๑๙, ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๔๖, ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๗
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๘๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๓, ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๓๓
ก่อนหน้า ณะ อารีนิจ ถัดไป
พลเรือเอก ไกรสร จันทร์สุวานิชย์
ผู้บัญชาการทหารเรือ
(1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันายน พ.ศ. 2560)
พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ