หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร
หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 5 | |
![]() | |
ประสูติ | 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 |
สิ้นชีพิตักษัย | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 (58 ปี) |
พระราชทานเพลิง | 14 เมษายน พ.ศ. 2509 เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส |
ชายา | หม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า รพีพัฒน์ |
บุตร |
|
ราชสกุล | อาภากร |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ |
พระมารดา | หม่อมช้อย อาภากร ณ อยุธยา |
ศาสนา | พุทธ |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก สวัสดิ์ ภูติอนันต์ |
ถัดไป | พลเรือเอก จรูญ เฉลิมเตียรณ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
แผนก/ | กองทัพเรือไทย |
ชั้นยศ | ![]() |
พลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร (22 พฤษภาคม พ.ศ. 2450 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509)[1] เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประสูติแต่หม่อมช้อย อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม วิจิตรานุช) และเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2507[2] สืบต่อจากพลเรือเอก สวัสดิ์ ภูติอนันต์ นอกจากนั้นหม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร ยังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตทหารเรือ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2486-พ.ศ. 2490 อีกด้วย
หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร เสกสมรสกับหม่อมเจ้าดวงทิพโชติแจ้งหล้า รพีพัฒน์ พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีโอรสธิดา ดังนี้[3]
- หม่อมราชวงศ์ชาย ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก
- หม่อมราชวงศ์ทิพภากร วรวรรณ สมรสกับหม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ (พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์) มีบุตรธิดา คือ
- หม่อมหลวงเกียรติกร วรวรรณ
- หม่อมหลวงสุทธิ์ธรทิพย์ วรวรรณ
- หม่อมราชวงศ์ชาย ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก
- หม่อมราชวงศ์ชาย ถึงแก่กรรมตั้งแต่เด็ก
- หม่อมราชวงศ์พรระพี อาภากร สมรสกับอุมาภร อาภากร ณ อยุธยา (สกุลเดิม ศุภสมุทร) มีบุตรคือ
- หม่อมหลวงพงศ์ระพีพร อาภากร
พลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร สิ้นชีพิตักษัยเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 ขณะเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ สิริชันษา 58 ปี ต่อมา พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชทานเพลิงศพ พลเรือเอก หม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อตอนเย็นของวันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2509[4]
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
[แก้]- พ.ศ. 2505 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2502 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2504 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2484 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามอินโดจีน (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2505 –
เหรียญชัยสมรภูมิ สงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ส.)
- พ.ศ. 2486 –
เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามมหาเอเชียบูรพา (ช.ร.)[9]
- พ.ศ. 2485 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[10]
- พ.ศ. 2489 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)[11]
- พ.ศ. 2497 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2451 –
เหรียญรัชมังคลาภิเศก รัชกาลที่ 5 (ร.ม.ศ.5)
- พ.ศ. 2454 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 6 (ร.ร.ศ.6)
- พ.ศ. 2468 –
เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2493 –
เหรียญพระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2475 –
เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
[แก้]ไต้หวัน :
เกาหลีใต้ :
สวีเดน :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ ไม่ปรากฏชั้น
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
พระยศ
[แก้]พระยศทางทหาร
[แก้]- 1 เมษายน พ.ศ. 2474: นายเรือเอก[13]
- 1 เมษายน พ.ศ. 2481: นายนาวาตรี[14]
- 19 มิถุนายน พ.ศ. 2484: นายนาวาโท[15]
- 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2485: นายนาวาเอก[16]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2491: พลเรือตรี[17]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2497: พลเรือโท[18]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2502: พลเรือเอก[19]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของหม่อมเจ้าครรชิตพล อาภากร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอน 87 ง พิเศษ หน้า 2-8 11 กันยายน พ.ศ. 2507
- ↑ กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก (หน้า ๑๗๒๙)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๔ มกราคม ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๘ ตอนที่ ๔๐ ง หน้า ๑๒๘๐, ๙ พฤษภาคม ๒๕๐๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ และเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับผู้กระทำความชอบมีบาดเจ็บหนึ่งครั้ง เก็บถาวร 2022-09-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๗, ๓๐ สิงหาคม ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๓ ง หน้า ๒๖๑๕, ๑๗ สิงหาคม ๒๔๘๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๙ ตอนที่ ๖๑ ง หน้า ๒๔๓๓, ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๖๓ ตอนที่ ๒๔ ง หน้า ๕๙๖, ๒๓ เมษายน ๒๔๘๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๖ ง หน้า ๓๔๙, ๒๖ มกราคม ๒๔๙๗
- ↑ พระราชทานยศทหารเรือ
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2450
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2509
- หม่อมเจ้าชาย
- ทหารเรือชาวไทย
- ผู้บัญชาการทหารเรือไทย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- ราชสกุลอาภากร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ อ.ป.ร.3
- บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์