นริส ประทุมสุวรรณ
นริส ประทุมสุวรรณ | |
---|---|
![]() | |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก ณะ อารีนิจ |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | |
สมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ | |
อยู่ในวาระ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 | |
ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2501 (60 ปี) |
คู่สมรส | เกสรา ประทุมสุวรรณ |
บุตร | ธัชพรรณ ประทุมสุวรรณ ปณิดา ประทุมสุวรรณ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 89 (OSK.89) โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 16 (ตท.16) โรงเรียนนายเรือ รุ่น 73 โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 32 |
การเข้าเป็นทหาร | |
ชื่อเล่น | นุ้ย |
ยศ | ![]() |
พลเรือเอก นริส ประทุมสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารเรือ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการเตรียมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ[1] คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ กรรมการบริหาร มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[2] อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ และสมาชิกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
เนื้อหา
ประวัติ[แก้]
พลเรือเอกนริสหรือ บิ๊กนุ้ย เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของพันตรีสุชาย และดร.สโรชา ประทุมสุวรรณ จบการศึกษาจาก โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รุ่น 89 (OSK.89) โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 16 โรงเรียนนายเรือ รุ่น 73 โรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ และ วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่น 32
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับนาง เกสรา ประทุมสุวรรณ (นามสกุลเดิม;ฟักสังข์) มีบุตรสาว 2 คนคือ นางสาวธัชพรรณ ประทุมสุวรรณ และ นางสาวปณิดา ประทุมสุวรรณ
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[แก้]
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพลเรือเอกนริสเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ [3]
ผู้บัญชาการทหารเรือ[แก้]
ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพลเรือเอกนริสขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารเรือสืบต่อจากพลเรือเอก ณะ อารีนิจ ที่เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2560 [4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. ๒๕๕๘ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) [5]
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ -
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/259/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/304/2.PDF
- ↑ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๓ ตอน ๒๓๐ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๔ ตอน ๒๑๗ ง พิเศษ หน้า ๑ ๑ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/B/031/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอน ๓๑ ข หน้า ๑ ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
|