ชาติชาย ศรีวรขาน
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน | |
---|---|
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ |
ถัดไป | พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย |
สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 | |
ดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 77 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ชื่อเล่น | อุ้ย |
รับใช้ | ![]() |
ยศ | ![]() |
บังคับบัญชา | กองทัพเรือ |
พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน เป็นอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ เกิดเมื่อวันที่ 13 ส.ค.2504 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 20 โรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 77, วิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 39, เคยดำรงตำแหน่งสำคัญอาทิ ผู้บัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด กองเรือยุทธการ, ปลัดบัญชีทหารเรือ, เสนาธิการทหารเรือ, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ จนได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ คนที่ 54 และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12
ประวัติ[แก้]
การศึกษา[แก้]
พลเรือเอกชาติชายจบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยรุ่นที่ 97 และต่อมาก็ได้เรียนโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 20 รุ่นเดียวกับ พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และ พลตำรวจเอก สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พอจบจากโรงเรียนเตรียมทหาร พลเรือเอกชาติชายก็ได้ไปเรียนต่อโรงเรียนนายเรือ รุ่นที่ 77 และพลเรือเอกชาติชายได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ เช่น หลักสูตรนายทหารชั้นต้นพรรคนาวิน หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย
การรับราชการทหาร[แก้]
พลเรือเอกชาติชายเคยเป็นผู้บังคับการเรือ ต.14 ผู้บังคับการเรือหลวงท้ายเมือง นายธงผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้ช่วยทูตทหารเรือ ประจำกรุงมาดริด ณ ราชอาณาจักรสเปน เสนาธิการกองเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ กองเรือยุทธการ เสนาธิการฐานทัพเรือสัตหีบ รองปลัดบัญชีทหารเรือ ปลัดบัญชีทหารเรือ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2560 พลเรือเอกชาติชายได้รับแต่งตั้งเป็นรองเสนาธิการทหารเรือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2561 พลเรือเอกชาติชายได้รับพระราชทานยศ พลเรือเอก และในปี 2562 พลเรือเอกชาติชายได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารเรือ จนกระทั่งในปี 2563 พลเรือเอกชาติชายได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ คนที่ 54
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[1]
- พ.ศ. 2560 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[2]
- พ.ศ. 2531 –
เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[3]
- พ.ศ. 2534 –
เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[4]
- พ.ศ. 2537 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๐๖, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๗ ข หน้า ๑๗, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๑๖๖ ง หน้า ๗๔๓๘, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๙, ๑๐ เมษายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๒๐๖, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- ประวัติย่อผู้วิจัย เก็บถาวร 2021-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- รับราชการ
- รับเกียรติยศ