อำเภอประจักษ์ศิลปาคม
อำเภอประจักษ์ศิลปาคม | |
---|---|
![]() | |
คำขวัญ: พระนามกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ชื่นชมผ้าหมี่สีย้อมคราม เลื่องลือนาม หลวงปู่ก่ำ ชุ่มฉ่ำห้วยน้ำออกตลอดปี ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่ | |
พิกัดภูมิศาสตร์: 17°16′22″N 102°59′39″E / 17.27278°N 102.99417°E | |
อักษรไทย | อำเภอประจักษ์ศิลปาคม |
อักษรโรมัน | Amphoe Prachaksinlapakhom |
จังหวัด | อุดรธานี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 144.8 ตร.กม. (55.9 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2562) | |
• ทั้งหมด | 25,621 คน |
• ความหนาแน่น | 176.94 คน/ตร.กม. (458.3 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 41110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4125 |
ที่ตั้ง ที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอประจักษ์ศิลปาคม หมู่ที่ 6 ตำบลนาม่วง อำเภอประจักษ์ศิลปาคม จังหวัดอุดรธานี 41110 |
![]() |
ประจักษ์ศิลปาคม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุดรธานี และเป็น 1 ใน 5 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน ชื่อของอำเภอนี้ตั้งตามพระนามของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
ประวัติ[แก้]
อำเภอประจักษ์ศิลปาคมเป็นอำเภอที่ตั้งขึ้นล่าสุดของจังหวัดอุดรธานี เดิมพื้นที่การปกครองของอำเภอนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอกุมภวาปี ทางราชการได้แบ่งพื้นที่การปกครองออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน[1] เพื่อเฉลิมฉลองและเพื่อเป็นเกียรติของจังหวัดอุดรธานีในโอกาสที่จังหวัดนี้มีอายุครบ 100 ปีในปีดังกล่าว โดยได้ตั้งชื่อกิ่งอำเภอตามพระนามของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และต่อมาจึงได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอประจักษ์ศิลปาคม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]
อำเภอประจักษ์ศิลปาคมตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอหนองหาน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอหนองหานและอำเภอกู่แก้ว
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกุมภวาปี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองอุดรธานี
การแบ่งเขตการปกครอง[แก้]
การปกครองส่วนภูมิภาค[แก้]
อำเภอประจักษ์ศิลปาคมแบ่งเขตการปกครองย่อยเป็น 3 ตำบล 41 หมู่บ้าน
1. | นาม่วง | (Na Muang) | 14 หมู่บ้าน | ||
2. | ห้วยสามพาด | (Huai Sam Phat) | 13 หมู่บ้าน | ||
3. | อุ่มจาน | (Um Chan) | 14 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]
ท้องที่อำเภอประจักษ์ศิลปาคมประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 แห่ง ได้แก่
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาม่วง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาม่วงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยสามพาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยสามพาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอุ่มจาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอุ่มจานทั้งตำบล
การศึกษา[แก้]
- โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัด สพม. เขต 20
- โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคม
- โรงเรียนสามพาดพิทยาคาร
- โรงเรียมประถมศึกษาสังกัด สพป.อุดรธานี เขต 2
- โรงเรียนบ้านอุ่มจาน
- โรงเรียนบ้านโพนทอง
- โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงลานเตหนองเม็ก
- โรงเรียนอนุบาลประจักษ์ศิลปาคม
- โรงเรียนบ้านนาม่วง
- โรงเรียนบ้านโนนแสวง
- โรงเรียนบ้านห้วยสามพาดหนองแกสหราษฎร์พัฒนา
- โรงเรียนบ้านโนนสมบูรณ์
- โรงเรียนบ้านโนนทรายฟอง
- โรงเรียนบ้านหนองลุมพุกหญ้าม้า
- โรงเรียนบ้านเชียงกรม
- โรงเรียนบ้านหนองแวงเหนือ
- โรงเรียนบ้านเมืองปัง
- โรงเรียนบ้านสะอาดนามูล
- โรงเรียนบ้านโนนสา
- โรงเรียนบ้านโคกสีวังแสง
สถานที่ท่องเที่ยว[แก้]
- วัดโนนธาตุเจดีย์ บ้านเมืองปัง ตำบลอุ่มจาน
- หนองหานน้อย
- ทะเลบัวแดงและท่าบ้านดอนคง
- หลวงปู่ก่ำ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 23. 25 มิถุนายน 2540. Check date values in:
|date=
(help) - ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. 24 สิงหาคม 2550. Check date values in:
|date=
(help)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
|