ภาษาเวียดนาม
ภาษาเวียดนาม | |
---|---|
Tiếng Việt | |
ออกเสียง | [tiəŋ˧˦ viət̚˧˨ʔ] (ภาคเหนือ) [tiəŋ˦˥ viək̚˨˩˨] (ภาคใต้) |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศเวียดนาม ประเทศจีน (เมืองตงซิง, มณฑลกว่างซี) |
ชาติพันธุ์ | ชาวเวียดนาม (ชาวญวน) |
จำนวนผู้พูด | 76 ล้านคน (2009) |
ตระกูลภาษา | |
รูปแบบก่อนหน้า | |
ระบบการเขียน | อักษรละติน (จื๋อโกว๊กหงือ) อักษรเบรลล์เวียดนาม จื๋อโนม (อดีต) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ![]() ![]() |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ![]() |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | vi |
ISO 639-2 | vie |
ISO 639-3 | vie |
Linguasphere | 46-EBA |
![]() อาณาเขตของผู้ที่พูดภาษาเวียดนาม (ไม่นับชนกลุ่มน้อย) ภายในประเทศเวียดนาม[2] | |
ภาษาเวียดนาม (เวียดนาม: tiếng Việt เตี๊ยงเหฺวียด, tiếng Việt Nam, Việt ngữ) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก อันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการของประเทศเวียดนาม ภาษาเวียดนามมีผู้ใช้เป็นภาษาแม่มากกว่า 70 ล้านคน คำจำนวนมากมีรากศัพท์ร่วมกับตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก[3] ภาษาเวียดนามเป็นภาษาแม่ของประชากรชาวเวียดนาม (ชาวญวน) และยังเป็นภาษาที่สองหรือภาษาแม่ของชนกลุ่มน้อยในประเทศเวียดนาม ผลจากการอพยพ-ย้ายถิ่นฐาน ทำให้สามารถพบเจอผู้พูดภาษาเวียดนามได้ในพื้นที่ต่างๆในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียตะวันออก, อเมริกาเหนือ, ยุโรป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ภาษาเวียดนามก็ยังได้รับการรองรับให้เป็นภาษาชนกลุ่มน้อยในสาธารณรัฐเช็ก[a]
เช่นเดียวกับภาษาอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก ภาษาเวียดนามเป็นภาษาคำโดดที่มีวรรณยุกต์ การเรียงประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม และมีการผันคำตามไวยากรณ์ นอกจากนี้ก็ยังมีการใช้คำนามในรูปแบบลักษณนาม คำศัพท์ในภาษาเวียดนามได้รับอิทธิพลจากภาษาจีนและภาษาฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก
ภาษาเวียดนามเดิมใช้อักษรจื๋อโนมในการเขียน ซึ่งเป็นตัวหนังสือคำที่ดัดแปลงมาจากอักษรจีน (จื๋อฮั๊น) ไว้ใช้สำหรับยืมคำศัพท์จากภาษาจีนและคำภาษาเวียดนามดั้งเดิมเป็นบางคำ พร้อมกับคิดค้นอักษรเฉพาะขึ้นมาเองในแต่ละท้องถิ่นเพื่อแสดงความหมายของคำอื่นๆนอกเหนือจากที่มีอยู่[4][5] ผลจากการล่าอาณานิคมของประเทศฝรั่งเศส ทำให้ภาษาเวียดนามต้องเปลี่ยนไปใช้อักษรจื๋อโกว๊กหงือ ซึ่งพัฒนามาจากอักษรละตินแทน โดยมีทวิอักษรและเครื่องหมายเสริมสัทอักษรไว้แสดงเสียงวรรณยุกต์และเสียงเฉพาะ
การจำแนก[แก้]
งานภาษาศาสตร์เมื่อ 150 ปีที่แล้ว[6] ได้จัดหมวดหมู่ให้ภาษาเวียดนามเป็นสาขาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร อันเป็นตระกูลย่อยของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (รวมถึงภาษาเขมรที่ใช้พูดในประเทศกัมพูชา, ภาษาชนกลุ่มน้อย-ภาษาท้องถื่นต่างๆ เช่น ภาษามุนดาและภาษาคาซีที่ใช้พูดกันในภูมิภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย, ภาษาอื่นๆ ภายในประเทศลาว, ทางตอนใต้ของประเทศจีน และพื้นที่บางส่วนในประเทศไทย) ต่อมาการค้นพบว่าภาษาเหมื่องมีความเกี่ยวข้อง-ใกล้ชิดกับเวียดนามมากกว่าภาษามอญ–เขมรภาษาอื่นๆ จึงได้มีการจำแนกออกไปเป็นกลุ่มภาษาเหวียด-เหมื่อง รวมถึงภาษาทะวืง ภาษาชุต ภาษากูออย ฯลฯ[7] คำว่า "เวียตติก" ถูกเสนอขึ้นโดยเฮส์ (1992)[8] ที่เสนอให้มีการจำแนกกลุ่มภาษาเหวียด-เหมื่องเสียใหม่ โดยกำหนดให้สาขาย่อยของกลุ่มภาษาเวียตติก มีเพียงแค่ภาษาเวียดนามและภาษาเหมื่อง ในขณะที่เฌราร์ ดิฟโฟลธ เสนอให้มีการใช้คำว่า "เวียตติก" ซึ่งมีข้อเสนอต่างไปเล็กน้อยในเรื่องของการจัดตระกูลย่อยของภาษา โดยกำหนดให้คำว่า "เหวียด-เหมื่อง" หมายถึงกลุ่มภาษาที่ย่อยลงไป (อยู่ภายในสาขาตระกูลภาษาเวียตติกตะวันออก) อันประกอบไปด้วยภาษาเวียดนาม, ภาษาเหมื่อง และภาษางวน (พบเจอได้ในจังหวัดกว๋างบิ่ญ)[9]
สำเนียงท้องถิ่น[แก้]
ภาษาเวียดนามมีสำเนียงท้องถิ่นที่หลากหลาย แต่โดยมากถือว่ามี 3 หลัก ดังนี้
ถิ่นหลัก | ท้องถิ่น | ชื่อในยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส |
---|---|---|
เวียดนามตอนเหนือ | ถิ่นฮานอย, ถิ่นอื่นทางเหนือ: ไฮฟอง และถิ่นระดับจังหวัดจำนวนมาก | ตังเกี๋ย |
เวียดนามตอนกลาง | ถิ่นเว้, ถิ่นเหงะอาน, ถิ่นกว๋างนาม | อันนัมสูง |
เวียดนามตอนใต้ | ถิ่นไซ่ง่อน, ถิ่นแม่น้ำโขง (ตะวันตกไกล) | โคชินไชนา |
ภาษาถิ่นเหล่านี้มีน้ำเสียง การออกเสียง และบางครั้งก็มีคำศัพท์ที่แตกต่างไปบ้าง แต่ภาษาถิ่นเฮว้จะมีคำศัพท์ที่แตกต่างค่อนข้างมากจากภาษาถิ่นอื่น ๆ วรรณยุกต์ "หอย" และ "หงา" มีความแตกต่างในภาคเหนือ แต่กลืนเป็นวรรณยุกต์เดียวกันในภาคใต้ ส่วนพยัญชนะ ch และ tr นั้นจะออกเสียงแตกต่างกันในถิ่นใต้และกลาง แต่รวมเป็นเสียงเดียวในถิ่นเหนือ สำหรับความแตกต่างด้านไวยากรณ์นั้นไม่ปรากฏ
ระบบเสียง[แก้]
เสียงสระ[แก้]
หน้า กลาง หลัง กึ่งกลาง ia/iê [iə̯] ưa/ươ [ɨə̯] ua/uô [uə̯] ปิด i/y [i] ư [ɨ] u [u] กึ่งกลาง/
กลางê [e] ơ [əː]
â [ə]ô [o] กึ่งเปิด/
เปิดe [ɛ] a [aː]
ă [a]o [ɔ]
เสียงพยัญชนะ[แก้]
เสียงพยัญชนะในภาษาเวียดนามมีหน่วยเสียงตามตารางทางด้านล่าง โดยอักษรทางด้านซ้ายเป็นอักษรที่ใช้เขียนแทนหน่วยเสียงนั้น ๆ ในภาษาเวียดนาม ในขณะที่อักษรด้านขวาเป็นสัทอักษร
ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก ปลายลิ้นม้วน เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง นาสิก m [m] n [n] nh [ɲ] ng/ngh [ŋ] กัก ไม่ก้อง p [p] t [t] tr [ʈ] ch [c] c/k/q [k] พ่นลม th [tʰ] ก้อง b [ɓ] đ [ɗ] เสียดแทรก ไม่ก้อง ph [f] x [s] s [ʂ~s] kh [x~kʰ] h [h] ก้อง v [v] d/gi [z~j] g/gh [ɣ] เปิด l [l] y/i [j] u/o [w] รัว r [r]
เสียงวรรณยุกต์[แก้]
นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาภาษาเวียดนามและจัดให้อยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก เช่นเดียวกับภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาระบบคำสองพยางค์ (disyllable) และมีลักษณะน้ำเสียง (register) เป็นลักษณะสำคัญของภาษา อีกทั้งเป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาเวียดนามปัจจุบันได้พัฒนาระบบเสียงวรรณยุกต์ขึ้นใช้ เนื่องจากอิทธิพลของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์อันได้แก่ภาษาตระกูลไทที่อยู่โดยรอบและภาษาจีนที่เข้ามาปกครองเวียดนามในขณะนั้น
สระในภาษาเวียดนามนั้น ออกเสียงโดยมีวรรณยุกต์ภายใน (thanh หรือ thanh điệu) โดยวรรณยุกต์มีความแตกต่างกันที่
- ระดับเสียง
- ความยาว
- น้ำเสียงขึ้นลง
- ความหนักแน่น
- การออกเสียงคอหอย (ลักษณะเส้นเสียง)
เครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์นั้น ปกติจะเขียนเหนือหรือใต้สระ [ส่วนใหญ่เขียนไว้เหนือสระ แต่วรรณยุกต์หนั่ง (nặng) เป็นจุดใต้สระ] วรรณยุกต์ทั้ง 6 ในภาษาถิ่นเหนือ (รวมฮานอยด้วย) มีดังนี้
ชื่อ | ลักษณะ | เครื่องหมาย | ตัวอย่าง | ตัวอย่างสระ | ออกเสียง |
---|---|---|---|---|---|
งาง (ngang) 'ระดับ' | สูงระดับ ˧ | (ไม่มีเครื่องหมาย) | ma 'ผี' | ![]() |
อา |
ฮเหวี่ยน (huyền) 'แขวน' | ต่ำตก ˨˩ | ` | mà 'แต่' | ![]() |
อ่า |
ซัก (sắc) 'คม' | สูงขึ้น ˧˥ | ´ | má 'แก้ม, แม่ (ถิ่นใต้) ' | ![]() |
อ๊า |
หอย (hỏi) 'ถาม' | ต่ำขึ้น ˧˩˧ | ̉ | mả 'หลุมศพ, สุสาน' | ![]() |
อ๋า |
หงา (ngã) 'ตก' | สูงขึ้นหยุด ˧˥ˀ | ˜ | mã 'ม้า (จีน-เวียดนาม), รหัส' | ![]() |
อะ-อ๊ะ |
หนั่ง (nặng) 'หนัก' | ต่ำตกหยุด ˧˨ˀ | ̣ | mạ 'สีข้าว' | ![]() |
อะ (เสียงหนัก) |
ไวยากรณ์[แก้]
ภาษาเวียดนามเป็นภาษารูปคำโดดเช่นเดียวกับภาษาจีนและภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่นๆ ไวยากรณ์เน้นที่การเรียงลำดับคำและโครงสร้างประโยคมากกว่าการผันคำ แสดงโดยการเพิ่มคำเช่นเดียวกับภาษาไทย ภาษาเวียดนามเป็นภาษาคำโดด แต่ก็มีคำสองพยางค์อยู่เป็นจำนวนมาก การเรียงคำในประโยคเป็นแบบประธาน-กริยา-กรรม
กาล[แก้]
ปกติแล้วไม่จำเป็นต้องแสดง โดยทั่วไปอดีตแสดงโดยคำว่า đã ปัจจุบันกาลกำลังกระทำ เติม đang อนาคตเติม sẽ
โครงสร้างแสดงหัวข้อ[แก้]
เป็นโครงสร้างประโยคที่สำคัญในภาษาเวียดนาม ตัวอย่างเช่น Tôi đọc sách này rồi = ฉันอ่านหนังสือนี้แล้ว อาจเรียงประโยคใหม่เป็น Sách này thi tôi đọc rồi = หนังสือนี้น่ะฉันอ่านแล้ว (thi เป็นตัวแสดงหัวข้อ)
พหูพจน์[แก้]
โดยทั่วไปไม่ต้องแสดง ถ้าแสดงจะใช้คำเติมเข้าไปในประโยค เช่น những, các, chúng
ลักษณนาม[แก้]
ภาษาเวียดนามมีคำลักษณนามใช้แสดงลักษณะของนามเช่นเดียวกับภาษาไทยและภาษาจีน เช่น con ใช้กับสัตว์ cái ใช้กับสิ่งของไม่มีชีวิต คำลักษณนามบางคำอาจใช้ร่วมกันได้ เช่น cái con
คำสรรพนาม[แก้]
คำสรรพนามในภาษาเวียดนามต่างจากภาษาอังกฤษ คือคำสรรพนามแต่ละคำไม่ได้ถูกแบ่งอย่างชัดเจนว่าเป็นบุรุษที่ 1 2 หรือ 3 ขึ้นกับผู้พูดและผู้ฟัง นอกจากนั้นยังต้องระมัดระวังในการระบุความสัมพันธ์ทางสังคมซึ่งขึ้นกับอายุและเพศ
การซ้ำคำ[แก้]
พบมากในภาษาเวียดนามซึ่งเป็นการสร้างคำใหม่ ซึ่งมีความหมายต่างไปจากเดิม เช่นเป็นการลดหรือเพิ่มความเข้มของคำคุณศัพท์
คำศัพท์[แก้]
คำศัพท์ทางการเมืองและวิทยาศาสตร์โดยมากมาจากภาษาจีน กว่าร้อยละ 70 ของคำศัพท์มีรากศัพท์มาจากภาษาจีน คำประสมหลายคำเป็นการประสมระหว่างคำดั้งเดิมในภาษาเวียดนามกับคำยืมจากภาษาจีน ซึ่งคำเหล่านี้ปัจจุบันมักถูกแทนที่ด้วยคำเวียดนาม นอกจากนี้ยังมีคำยืมจากภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ เช่น tivi มาจาก TV
ระบบการเขียน[แก้]
ก่อนที่ฝรั่งเศสจะเข้ามายังเวียดนามนั้น ภาษาเวียดนามมีระบบการเขียนสองแบบ ซึ่งทั้งสองแบบก็มีที่มาจากอักษรจีนเช่นเดียวกัน
- จื๋อญอ (chữ nho, 字儒) หรือฮ้านตึ (Hán tự, 漢字) คืออักษรจีนที่ใช้เขียนภาษาจีนโบราณ
- จื๋อโนม (chữ nôm, 字喃) เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาเวียดนาม โดยนำอักษรจีนมาดัดแปลงเล็กน้อย
ปัจจุบันภาษาเวียดนามเขียนด้วยจื๋อโกว๊กหงือ (chữ Quốc ngữ แปลว่า "อักษรของภาษาประจำชาติ") ซึ่งเป็นอักษรละตินที่เพิ่มเติมเครื่องหมายต่าง ๆ เข้ามาเพื่อให้มีอักษรเพียงพอที่จะใช้เขียนภาษา อักษรดังกล่าวได้รับการคิดค้นขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โดยอาแล็กซ็องดร์ เดอ รอด ซึ่งเป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาเผยแผ่ศาสนา โดยมีรากฐานมาจากระบบที่มิชชันนารีชาวโปรตุเกสคิดไว้ก่อนหน้านั้น ในระหว่างที่เวียดนามยังเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสนั้น จื๋อโกว๊กหงือได้เป็นอักษรราชการของอาณานิคม ซึ่งได้ทำให้อักษรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ จื๋อโกว๊กหงือในปัจจุบันมีรูปแบบการเขียนที่อ้างอิงการออกเสียงของภาษาถิ่นเวียดนามกลาง ซึ่งสระและพยัญชนะท้ายจะคล้ายคลึงกับภาษาถิ่นเหนือ ส่วนพยัญชนะต้นจะคล้ายกับภาษาถิ่นใต้
ตัวอย่างประโยค[แก้]
คำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
- Xin chào [ซีนจ่าว] = สวัสดี
- Bạn [บั่น] = เพื่อน
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Languages of ASEAN". สืบค้นเมื่อ 7 August 2017.
- ↑ จาก Ethnologue (2009, 2013)
- ↑ Driem, George van (2001). Languages of the Himalayas, Volume One. BRILL. p. 264. ISBN 90-04-12062-9.
Of the approximately 90 millions speakers of Austroasiatic languages, over 70 million speak Vietnamese, nearly ten million speak Khmer and roughly five million speak Santali.
- ↑ "Vietnamese literature". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-13.
- ↑ Li, Yu (2020). The Chinese Writing System in Asia: An Interdisciplinary Perspective. Routledge. pp. 102–103. ISBN 978-1-00-069906-7.
- ↑ "Mon–Khmer languages: The Vietic branch". SEAlang Projects. สืบค้นเมื่อ November 8, 2006.
- ↑ Ferlus, Michel. 1996. Langues et peuples viet-muong. Mon-Khmer Studies 26. 7–28.
- ↑ Hayes, La Vaughn H (1992). "Vietic and Việt-Mường: a new subgrouping in Mon-Khmer". Mon-Khmer Studies. 21: 211–228.
- ↑ Diffloth, Gérard. (1992). "Vietnamese as a Mon-Khmer language". Papers from the First Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society, 125–128. Tempe, Arizona: Program for Southeast Asian Studies.
![]() |
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาเวียดนาม |
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/>
ที่สอดคล้องกัน หรือไม่มีการปิด </ref>