ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
DTRY (คุย | ส่วนร่วม)
→‎เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ: เพิ่มแหล่งอ้างอิงของเยอรมนี.
บรรทัด 133: บรรทัด 133:
! width="15%" | ประเทศ !! width="10%" | ปีที่ได้รับ !! width="60%" | เครื่องอิสริยาภรณ์ !! width="5%" | แพรแถบ !! width="5%" | อ้างอิง
! width="15%" | ประเทศ !! width="10%" | ปีที่ได้รับ !! width="60%" | เครื่องอิสริยาภรณ์ !! width="5%" | แพรแถบ !! width="5%" | อ้างอิง
|-
|-
| {{Flag|นาซีเยอรมนี}} || พ.ศ. 2481 || [[เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน]] ชั้นสูงสุด || [[ไฟล์:Ribbon of Order of the German Eagle.svg|70px]] ||
| {{Flag|นาซีเยอรมนี}} || พ.ศ. 2481 || [[เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน]] ชั้นสูงสุด || [[ไฟล์:Ribbon of Order of the German Eagle.svg|70px]] || <ref>{{Cite news |title=Hitler Honours Siamese |newspaper=The Straits Times |date=3 April 1938 |page=3 |url=http://eresources.nlb.gov.sg/newspapers/Digitised/Article/straitstimes19380403-1.2.29.aspx}}</ref>
|-
|-
| {{Flag|เนเธอร์แลนด์}} || พ.ศ. 2507 || [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา]] ชั้นที่ 1 || || <ref name="พศ2507">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/D/090/2450.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ], เล่ม ๘๑, ตอน ๙๐ง, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๗ , หน้า ๒๔๕๐</ref>
| {{Flag|เนเธอร์แลนด์}} || พ.ศ. 2507 || [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา]] ชั้นที่ 1 || || <ref name="พศ2507">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2507/D/090/2450.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ], เล่ม ๘๑, ตอน ๙๐ง, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๗ , หน้า ๒๔๕๐</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:29, 9 ตุลาคม 2560

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
พระเจ้าวรวงศ์เธอ
ประสูติ25 สิงหาคม พ.ศ. 2434
สิ้นพระชนม์5 กันยายน พ.ศ. 2519 (85 ปี)
หม่อม
  • หม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค) วรวรรณ
ราชวงศ์ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
พระมารดาหม่อมหลวงต่วนศรี (มนตรีกุล) วรวรรณ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีพล.อ.ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าจอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล
ถัดไปพล.ท.ประภาส จารุเสถียร
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
นายกรัฐมนตรีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อนหน้าพล.อ.ถนอม กิตติขจร
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2512
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ถัดไปพล.อ.ประภาส จารุเสถียร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2514
ก่อนหน้าพล.อ.ถนอม กิตติขจร
ถัดไปศ.สัญญา ธรรมศักดิ์

ศาสตราจารย์ พลตรี มหาอำมาตย์โท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (Professor Major General Secretariat H.R.H. Prince Wan Waithyakon, The Prince Naradhip Bongsprabandh) (25 สิงหาคม พ.ศ. 2434 - 5 กันยายน พ.ศ. 2519) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสมัชชาองค์การสหประชาชาติ และอดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน รวมถึงเป็นผู้ร่วมสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และทรงเสนอให้คณะรัฐมนตรีจัดตั้งโรงเรียนการเมืองชั้นสูง(เป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง) พระปรีชาสามารถในด้านการทูตและการต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับโลก และทรงมีชื่อเสียงการบัญญัติศัพท์ในภาษาไทย ทั้งยังทรงเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศด้วยคำบาลีและสันสกฤต สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2519 สิริพระชันษา 85 ปี

พระประวัติและการศึกษา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ หรือ พระองค์วรรณ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ หม่อมหลวงต่วนศรี (มนตรีกุล) วรวรรณ หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ทรงเริ่มศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และย้ายมาที่ โรงเรียนราชวิทยาลัยสมัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปีพ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อเกิดโรคระบาด โรงเรียนปิดชั่วคราว จึงย้ายไปเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย1ปี(ที่จริงคือตามไปใช้สถานที่เรียน) ต่อมาเมื่อ โรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสาวลี เปิดทำการจึงย้ายมาศึกษาต่อ และสอบได้ทุน King's scholarship ได้เดินทางไปศึกษาต่อยัง ประเทศอังกฤษ โดยเข้าอยู่ประจำที่ 'วิทยาลัยแบเลียล' (Balliol College) มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในระดับเกียรตินิยมและปริญญาโท จากคณะบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) สาขา ภาษาบาลี และ สันสกฤต ที่สถาบันตะวันออก ของ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านจึงมีความสามารถในการบัญญัติศัพท์ กระทั่งเป็นผู้วางกฎ เกณฑ์การบัญญัติศัพท์โดยใช้คำบาลีและสันสกฤตให้ราชบัณฑิตยสถาน และใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้

มีคำศัพท์มากมายที่ทรงบัญญัติและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น

  • อัตโนมัติ (Automatic)
  • รัฐธรรมนูญ (Constitution)
  • ประชาธิปไตย (democracy)
  • โทรทัศน์ (television)
  • วิทยุ (radio)

เสกสมรส

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเสกสมรสกับ หม่อมเจ้าหญิงพิบูลเบญจางค์ กิติยากร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร มีบุตร คือ

  • หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ สมรสกับ หม่อมราชวงศ์หญิงทิพพากร อาภากร
    • หม่อมหลวงเกียรติกร วรวรรณ
    • หม่อมหลวงสุทธิ์ธรทิพย์ วรวรรณ

และต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สมรสอีกครั้งกับ หม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค)วรวรรณ มีธิดา คือ

  • ท่านผู้หญิงวิวรรณ เศรษฐบุตร (หม่อมราชวงศ์หญิงวิวรรณ วรวรรณ)

พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. 2434 - หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ
  • พ.ศ. 2482 - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร[1]
  • พ.ศ. 2486 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
  • พ.ศ. 2495 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์[2]

ทรงศักดินา 11000 ตามอย่างธรรมเนียมพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าต่างกรม และโปรดฯ ให้ตั้งเจ้ากรมเป็น หมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ศักดินา 500 ปลัดกรมเป็น หมื่นนิรันตร์นรารักษ์ ศักดินา 300 และสมุหบัญชีเป็น หมื่นพลพรรคประมวล ศักดินา 200

ลำดับตำแหน่งหน้าที่การงาน

พระเกียรติคุณ

  • นายพลตรี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานยศทหาร และเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์และราชองครักษ์พิเศษ ในปี พ.ศ. 2496
  • ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมระดับโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศพระเกียรติคุณในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญประจำปี พ.ศ. 2534
  • รางวัลนราธิป โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ในโอกาสสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยก่อตั้งครบ 30 ปี และครบรอบ 100 ปีแห่งชาตะกาลของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
  • ห้องประชุมวรรณไวทยากร โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรับปรุงตึกโดม ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่เป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และตั้งชื่อห้องประชุมที่ปรับปรุงใหม่เพื่อเป็นเกียรติแด่พระองค์ ในปี พ.ศ. 2548

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

แม่แบบ:ป.จ.

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ประเทศ ปีที่ได้รับ เครื่องอิสริยาภรณ์ แพรแถบ อ้างอิง
 ไรช์เยอรมัน พ.ศ. 2481 เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้นสูงสุด [10]
 เนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2507 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 1 [11]
 มาเลเซีย พ.ศ. 2507 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังควนเนการา ชั้นที่ 1 [11]
 นอร์เวย์ พ.ศ. 2510 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์โอลาฟ ชั้นที่ 1 [12]
 ออสเตรีย พ.ศ. 2510 เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 1 (ทอง) [12]

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/1794.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/A/028/644.PDF
  3. ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เล่ม 57 หน้า 1725
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๘, ตอน ๐ ง, ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๓๒๑๑
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน, ตอนที่ 0 ง, เล่ม 55, 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481, หน้า 4032
  6. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 79, ตอน 85 ง, 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505, หน้า 9
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม 84, ตอน 80 ง, 29 สิงหาคม พ.ศ. 2510, หน้า 2446
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481, หน้า 2958
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 70, ตอน 17 ง, 10 มีนาคม พ.ศ. 2496, หน้า 1010
  10. "Hitler Honours Siamese". The Straits Times. 3 April 1938. p. 3.
  11. 11.0 11.1 แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑, ตอน ๙๐ง, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๗ , หน้า ๒๔๕๐
  12. 12.0 12.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๔, ตอน ๖๖ ง ฉบับพิเศษ, ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐, หน้า ๑๓

แหล่งข้อมูลอื่น

  • http://web.archive.org/20080823234406/www.geocities.com/thaibooks_100/a-74.htm
  • มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ "วิทยทัศน์พระองค์วรรณฯ ครบ 110 ปี วันประสูติ 25 สิงหาคม 2544" กรุงเทพฯ:มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ, พิมพ์ครั้งที่1 2544
  • ธารา กนกมณี (บรรณาธิการ) “100 ปี พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์” กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 1 2534
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "งานบัญญัติศัพท์ ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ธนาคารกรุงเทพ จำกัด พิมพ์ถวายเป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ณ เมรุพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 28 ตุลาคม 2519 กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2519
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "บัญญัติศัพท์.คณะกรรมการบัญญัติศัพท์" กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2516
  • [Wan 1970] Wan Waithayakon, Prince "Coining Thai Words" in: Tej Bunnag und Michael Smithies (Hg.) In Memoriam Phya Anuman Rajadhon. Bangkok: Siam Society, 1970
  • มานวราชเสวี, พระยา (ผู้รวบรวม) "ชุมนุมนิพนธ์ เพื่อถวายพระเกียรติแด่ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์, 2506
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "บัญญัติศัพท์ ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ประทานให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระประมวลวินิจฉัย (ชัติ สุวรรณทัต) ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร วันที่ 3 มิถุนายน 2499