ข้ามไปเนื้อหา

ตึกโดม

พิกัด: 13°45′29″N 100°29′26″E / 13.757987°N 100.490625°E / 13.757987; 100.490625
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาคารโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตึกโดม
ตึกโดมและอนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทสำนักงานของมหาวิทยาลัย
สถาปัตยกรรมอาร์ตเดโค, โมเดิร์น
เมืองเลขที่ 2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ประเทศประเทศไทย ไทย
เริ่มสร้างพ.ศ. 2478 – 2479
ผู้สร้างศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์
ข้อมูลทางเทคนิค
โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกหมิว อภัยวงศ์ (จิตรเสน อภัยวงศ์)
รางวัลรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ ในปี พ.ศ. 2548

ตึกโดม หรือ แม่โดม (ชื่อที่นิยมเรียกอย่างเคารพของบุคคลภายในมหาวิทยาลัย) แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือชื่ออย่างเป็นทางการเดิม อาคารโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอาคารทรงโดมยอดแหลม วางซ้อนตัวกัน 2 ชั้น มีความสูง 16 เมตร โดยปีกซ้ายและขวามี 2 ชั้น มีผังเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาว ได้รับการออกแบบโดย นายจิตรเสน (หมิว) อภัยวงศ์ ด้วยการเชื่อมต่ออาคารทั้ง 4 หลัง ที่เป็นของกองพันทหารราบที่ 4 เดิม เข้าเป็นตึกเดียวกัน โดยจุดเชื่อมตรงกลางระหว่างอาคารที่ 2 และ 3 ได้ออกแบบให้มีลักษณะโดดเด่น ซึ่งศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองได้ให้แนวคิด เพื่อให้เป็นสถาปัตยกรรม ที่มีลักษณะที่โดดเด่น ไม่ได้เลียนแบบชาติอื่นแต่อย่างใด

ตึกโดมในปัจจุบัน คงเหลือเพียงอาคาร 2 และ 3 เดิม เท่านั้น เนื่องได้มีการทุบตึกฝั่งเหนือและใต้ออกเพื่อสร้างตึกคณะเศรษฐศาสตร์ สำนักหอสมุด (หอสมุดปรีดี พนมยงค์) และอาคารเอนกประสงค์

ตัวหลังคาตึกโดมเป็นรูปทรงกรวยยอดแหลม 2 ชั้น มีความหมายดังนี้

  • ฐานของกรวยเป็น 8 เหลี่ยม ยังไม่สามารถระบุความหมายของสถาปนิกผู้ออกแบบได้ ซึ่งคนทั่วไปเข้าใจว่ามี 6 เหลี่ยม ตามหลัก 6 ประการของคณะราษฎร
  • ยอดแหลม หมายถึง การบรรลุความปรารถนาสูงสุด
  • อาคารสองปีกด้านท่าพระจันทร์และด้านท่าพระอาทิตย์ หมายถึงการศึกษาที่แผ่ขยายวงกว้างในหมู่ราษฎร

แต่อีกนัยหนึ่ง โดม หมายถึง ดินสอเขียนฟ้า นั่นคือ โดมเปรียบประดุจดินสอ ที่ใช้จดบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ มากมายลงบนท้องฟ้า

บริเวณชั้น 3 เป็นหอเกียรติยศ และพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นวันธรรมศาสตร์

สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เสนอชื่ออาคารโดมธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตึกโดม แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) ได้รับพระราชทานรางวัล อาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทสถาบันและอาคารสาธารณะ ในงานสถาปนิก 48 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°45′29″N 100°29′26″E / 13.757987°N 100.490625°E / 13.757987; 100.490625