กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๙ เนื่องในโอกาส การจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พุทธศักราช 2549 จัดขึ้นโดย รัฐบาล และ ภาคเอกชน โดยตลอดปีมหามงคล พ.ศ. 2549

กิจกรรมภาครัฐ[แก้]

ส่วนหนึ่งของงานนิทรรศการฯ
  • ห้องอัดภาพ ของ สำนักพระราชวัง ภายใน วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เปิดให้ประชาชนทั่วไป จองอัดขยายภาพ จาก พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี จำนวน 7 ภาพ ในราคาปกติ มีผู้สนใจจำนวนมาก จนต้องเปิดให้อัดขยายได้จนถึงสิ้นปี 2549 และได้จัดซื้อกระดาษอัดภาพเตรียมไว้เป็นจำนวนมากพอกับความต้องการของประชาชน
  • รัฐบาลได้ถวายการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อการก่อสร้างและตกแต่ง พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร (พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ส่วนต่อเติม) จากงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พุทธศักราช 2549 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับรายการตกแต่ง[พระที่นั่งฯ ในวงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งสำนักพระราชวังได้กราบบังคมทูลพระกรุณา ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ในการที่รัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวายการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นพระที่นั่งแห่งแรกที่มีการจัดสร้างในรัชกาลปัจจุบัน
  • นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ชุด "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนา" ที่จัดขึ้นเพื่อให้พระราชอาคันตุกะได้ทอดพระเนตร ณ หอประชุมกองทัพเรือ หลังจากวันงาน วันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน กองทัพเรือ ได้เปิดให้ประชาชนเข้าชม มีผู้สนใจเข้าชมจำนวนมาก

กระบวนเรือพระราชพิธี และ การแสดงในบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา[แก้]

  • การแสดงเห่เรือ และ ขบวนเรือพระราชพิธี ในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี วันที่ 12 มิถุนายน ประกอบกับการแสดงน้ำพุ ของ บริษัท เจ เอส แอล จำกัด ซึ่งเป็นการเปิดน้ำพุ ความยาว 140 เมตร บริเวณ ท่าราชวรดิฐ และ การฉาย ตราสัญลักษณ์งานฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี บนจอม่านน้ำ เปิดฉายในเวลาค่ำ วันที่ 12 มิถุนายน เวลา 17.00-17.20 น.
    • เวลา 17.00 น.- ในพิธีจัดขบวนแห่เรือพระราชพิธี "ขบวนพยุหยาตรา" กทม.ร่วมจัดให้มีมีการปล่อยกระทงสาย 18 ลำ ประกอบด้วยกระทงสาย 60,000 ใบ และกระทงนำ 2 ใบ จุดพลุและดอกไม้ไฟ 20,000 ชุด บริเวณท่าราชวรดิฐ สะพานพระราม 8 และสะพานพระพุทธยอดฟ้า

การแสดงพลุเฉลิมพระเกียรติ[แก้]

การจุดพลุเฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ 11 มิ.ย.2549

กิจกรรมสมโภช โดย กรุงเทพมหานคร[แก้]

ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติที่ ถนนราชดำเนิน

กิจกรรมอื่นๆ[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ข่าว[แก้]