สมัชชาคนจน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สมัชชาคนจน
อังกฤษ: Assembly of the Poor
ก่อตั้งจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (28 ปี)
ประเภทสถาบันไม่แสวงหาผลกำไร

สมัชชาคนจน เป็นองค์การนอกภาครัฐในประเทศไทย ซึ่งมุ่งช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ได้รับประโยชน์จากโครงการของรัฐบาล

ตั้งใจเป็นกระบอกเสียงทางการเมืองแก่ชาวบ้านและสมาชิกชายขอบของสังคม สมาชิกประกอบด้วยเกษตรกรรายย่อยและแรงงาน และเนื่องจากมีสมาชิกหลากหลาย จึงก้าวข้ามเส้นแบ่งภูมิภาคและชนชั้น เมื่อแรกก่อตั้ง สมัชชาคนจนถูกกล่าวหาว่าบั่นทอนความสามัคคีของชาติไทย และหลักการประชาธิปไตย[1]

สมัชชาคนจนค่อย ๆ เติบโตขึ้นจากกลุ่มชาวบ้านที่ไม่พอใจต่อผลกระทบของเขื่อนปากมูล และจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันสิทธิมนุษยชนสากล 10 ธันวาคม 2538 และเป็นกระบอกเสียงทางการเมืองแรกของคนชนบทนับแต่การปราบปรามสหพันธ์ชาวนาในปี 2518[2] ในการประชุมวันแรกนั้นมีการออกปฏิญญาแม่น้ำมูล ซึงวิจารณ์การให้ความสำคัญแก่การพัฒนาอุตสาหกรรมแต่ชุมชนท้องถิ่นเสียประโยชน์[2]

หนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ลงว่า ปัญหาในระยะหลังของประเทศไทยมีส่วนอย่างมากกับตัวแสดงการเมืองพยายามบ่อนทำลายสมัชชาคนจน[3]

สมัชชาคนจน ได้เข้าร่วมในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Phongpaichit, Pasuk (1999). Civilising the State: state, civil society and politics in Thailand (PDF). Amsterdam: Amsterdam: Centre for Asian Studies Amsterdam. pp. 1–14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-02. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
  2. 2.0 2.1 Missingham, Bruce (November 2003). "Forging Solidarity and Identity in the Assembly of the Poor: from Local Struggles to a National Social Movement in Thailand". Asian Studies Review. 27 (3): 317–340. doi:10.1080/10357820308713381. S2CID 144927656.
  3. Chalermsripinyorat, Rungrawee. "POLITICS OF REPRESENTATION" (PDF). A Case Study of Thailand’s Assembly of the Poor. Routledge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 14 May 2014. สืบค้นเมื่อ 31 August 2013.
  4. 'สมัชชาคนจน' ขู่ชุมนุมยืดเยื้อหากไม่ปล่อยตัว 'บารมี ชัยรัตน์' หนุนข้อเรียกร้องม็อบปลดแอก