เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ
คลื่นประชาธิปไตย เอฟ.เอ็ม 92.25 เมกกะเฮิร์ซ | |
---|---|
พื้นที่กระจายเสียง | กรุงเทพมหานครและปริมณฑลและจังหวัดระยอง (คลื่น 94.0) |
ความถี่ | FM 92.25 MHz |
สัญลักษณ์ | สถานีวิทยุคนรักประชาธิปไตย เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ |
แบบรายการ | |
ภาษา | ไทย |
รูปแบบ | ข่าวการเมืองและความบันเทิง |
การเป็นเจ้าของ | |
เจ้าของ | ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ (ศิลปิน บูรณศิลปิน (ผู้จัดการสถานี)) |
ประวัติ | |
เริ่มกระจายเสียง | 7 มีนาคม พ.ศ. 2548 |
ยุติกระจายเสียง | 31 มกราคม พ.ศ. 2560 |
ข้อมูลทางเทคนิค | |
พิกัดสถานีส่ง | ชั้น 9 อาคารทีพีไอ ทาวเวอร์ ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | [1] |
เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ซ คือคลื่นวิทยุที่ ออกอากาศกระจายเสียงวิทยุชุมชนคลื่นความถี่ เอฟเอ็ม 92.25 เมกกะเฮิร์ซ คลื่นประชาธิปไตย โดยมีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการเรียนรู้ประชาธิปไตย เผยแพร่ข้อเท็จจริงเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นและความเป็นเผด็จการทางการเมือง และออกอากาศทางเว็บไซต์ fm9225radio.net ด้วย ออกอากาศวันแรกเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2548
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เว็บไซต์ fm9225.net ถูกแฮกเกอร์ แฮกให้เว็บไซต์ชี้ไปที่ http://www.thaksin.net ของผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนทางเว็บไซต์ต้องเปลี่ยนโดเมน ไปใช้ http://www.fm9225radio.net เก็บถาวร 2007-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน แทน
เอฟ.เอ็ม. 92.25 เมกกะเฮิร์ช ยุติการออกอากาศไปในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560[1][2]
กรณีถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุกคาม
[แก้]วันที่ 9-10 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เจ้าหน้าที่รัฐภายใต้การนำของเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กทช.) และเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 30 คน บุกตรวจสถานีวิทยุ 92.25 เอฟเอ็ม และสั่งห้ามกระจายเสียงออกอากาศอย่างไม่มีกำหนด โดยนางภัทรียา สุขมโน รองอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ให้เหตุผลว่า มีการพูดเสียดสีหรือวิจารณ์รัฐบาลในทางเสียหาย ภายหลังการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ ไม่มีการดำเนินการทางกฎหมายและยึดเครื่องมือในการออกอากาศกลับไป แต่กลับมีการใช้วาจาข่มขู่ว่า "ห้ามออกอากาศอีก ถ้ายังออกอากาศอีกจะต้องถูกจับ" [3]
ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2554 ในช่วงรายการมุมองของเจิมศักดิ์ ซึ่งออกอากาศพร้อมกันทางวิทยุและทางโทรทัศน์ผ่านทางสถานีสุวรรณภูมิ โดย ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และจิตรกร บุษบา เป็นผู้ดำเนินรายการไปได้เพียงครึ่งชั่วโมง ก็ต้องยุติการออกอากาศอย่างกะทันหัน เนื่องจากถูกผู้บริหารสถานีโทรศัพท์เข้ามาขอให้ผู้จัดไม่วิจารณ์ถึงประเด็นที่อัยการสูงสุด สั่งไม่ฎีกาคดีนายบรรณพจน์ และคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ โกงภาษี แต่ทางผู้จัดไม่ยินยอมทำตาม ซึ่งในวันต่อมาในเวลาเดียวกันที่ทางรายการจะออกอากาศตามปกติ ก็ไม่มี[4]
ผู้ดำเนินรายการ
[แก้]- รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
- จิตกร บุษบา
- สุนันท์ ศรีจันทรา
- ธรรมศักดิ์ ลมัยพันธ์
- สมาพร รังษีกุลพิพัฒน์
- ฤดี อุมานันท์
- ดาหวัน วันดี
- นิดาวรรณ เพราะสุนทร
- ศิธ สมมนตรี
- สืบพงษ์ อุณรัตน์
- ถนอม อ่อนเกตุพล
- ณัฐนันท์ ศิริเจริญ
- ประชาไท ธนณรงค์
- โจจิรัฏฐ์ รินทรวิฑูรย์
- สมิงขาว
- สมพร หลงจิ
- กล้าพันธ์ เหงากุล
- กิตติมา ธารารัตนกุล
- แสงระวี จันคณารักษ์
- สกล พงษ์เพียร
- พิเชียร อำนาจวรประเสริฐ
วิทยากรประจำ
[แก้]- รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
- วันชัย สอนศิริ
- อัมรินทร์ คอมันตร์
อดีตผู้ดำเนินรายการ
[แก้]- สมชาย มีเสน
- มาตา วายุกานต์
- อุดมศักดิ์ สวนะ
- อมร อมรรัตนานนท์
- สมชาย ศรีสุนทรโวหาร
- อัญชลี ไพรีรักษ์
- สมาน ศรีงาม
- วรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา
- บุญยอด สุขถิ่นไทย
- บี แหลมสิงห์
- ดร.ณรงค์ พิริยะเอนก
- ปัทมา ลี้วิเศษ
- พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน
- นราพงษ์ ไวยวรรณ
- ชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
- กรณ์ จาติกวณิช
- ประชันชิต ไพบูลย์
อดีตวิทยากรประจำ
[แก้]- น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ
- ดร.ธนบูลย์ จิรานุวัฒน์
- เอกยุทธ อัญชันบุตร
- ไพศาล พืชมงคล
- ไชยวัฒน์ สินสุวงศ์
- ถวิล ไพรสณฑ์
- เทพมนตรี ลิมปพยอม
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "วิทยุชุมชน 92.25 --ความถี่ที่เป็นมากกว่า 'อาชีพ'". เฟซบุก. 2017-01-26. สืบค้นเมื่อ 2017-01-27.
- ↑ ยุติการออกอากาศเนื่องจากปัญหาทางการเงิน
- ↑ "แถลงการณ์ของ 92.25 เอฟเอ็ม ต่อกรณีถูกเจ้าหน้าที่รัฐคุมคาม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-10. สืบค้นเมื่อ 2006-11-15.
- ↑ [ลิงก์เสีย] "เจิมศักดิ์"แจงรัฐบีบ"ถอดเจิมศักดิ์"พ้นสื่อทุกแขนง จากกรุงเทพธุรกิจ
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์สถานี เก็บถาวร 2007-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน