ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)"

พิกัด: 13°45′01″N 100°29′51″E / 13.750385°N 100.49749°E / 13.750385; 100.49749
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ Lerdsuwa (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 58.8.151.168
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 59: บรรทัด 59:
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = รอง[[รายนามปลัดกระทรวงมหาดไทยของไทย|ปลัดกระทรวง]]
| หัวหน้า5_ตำแหน่ง = รอง[[รายนามปลัดกระทรวงมหาดไทยของไทย|ปลัดกระทรวง]]
| หัวหน้า6_ชื่อ = ระพี ผ่องบุพกิจ
| หัวหน้า6_ชื่อ = ระพี ผ่องบุพกิจ
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง = หัวหน้าผู้ตรวจราชการ
| หัวหน้า6_ตำแหน่ง = หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวง
| ประเภทหน่วยงาน =
| ประเภทหน่วยงาน =
| ต้นสังกัด =
| ต้นสังกัด =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:24, 30 มกราคม 2559

ราชอาณาจักรไทย
กระทรวงมหาดไทย
ไฟล์:TH Ministry of Interior Seal.jpg
ตราพระราชสีห์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง1 เมษายน พ.ศ. 2435
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 93 ถนนอัษฎางค์ แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
งบประมาณประจำปี340,171.6263 ล้านบาท (พ.ศ. 2558)[1]
รัฐมนตรี
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์www.moi.go.th

กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมือง และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย

สื่อมวลชนไทยมักเรียกขานกระทรวงมหาดไทยว่า "กระทรวงคลองหลอด"[2] เพราะตั้งอยู่ใกล้คลองหลอดวัดราชบพิธ

ประวัติกระทรวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 และได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[3] งานของกระทรวงมหาดไทยในระยะเริ่มต้น จัดแบ่งเป็น 3 กรม คือ กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ทั่วไป กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และงานด้านอัยการ กรมพลัมภัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่

ในปี พ.ศ. 2435 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ เรียกว่า เทศาภิบาล โดยแบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 แบ่งโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยจึงมีโครงสร้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด (ข้าหลวง) และนายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรมการจังหวัด และประธานคณะกรมการอำเภอ ทั้งนี้ในส่วนท้องถิ่นซึ่งได้กำหนดให้มีการปกครองตนเองในรูปต่าง ๆ นั้น ก็อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยด้วย

หลังจากนั้น ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และการแบ่งส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม อีกหลายครั้ง จนในปัจจุบัน

หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย

เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติกฎหมายอื่น ๆ ประกอบด้วยแล้ว ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ

  1. ด้านการเมืองการปกครองรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครอง และการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ
  2. ด้านเศรษฐกิจ รับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องประสานกับส่วนราชการต่างๆ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร
  3. ด้านสังคมรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม
  4. ด้านการพัฒนาทางกายภาพ รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง

หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

กระทรวงมหาดไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 8 กรม และมีหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล 5 รัฐวิสาหกิจ ดังนี้

  1. สำนักงานรัฐมนตรี
  2. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
  3. กรมการปกครอง
  4. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  5. กรมที่ดิน
  6. กรมการพัฒนาชุมชน
  7. กรมโยธาธิการและผังเมือง
  8. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย


รัฐวิสาหกิจ

  1. การไฟฟ้านครหลวง
  2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  3. การประปานครหลวง
  4. การประปาส่วนภูมิภาค
  5. องค์การตลาด

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°45′01″N 100°29′51″E / 13.750385°N 100.49749°E / 13.750385; 100.49749